'ทวี' หวานเจี๊ยบ! ชม'ทักษิณ' นักสร้างสันติภาพ ปัดเอี่ยวระเบียบขังนอกคุก
รมว.ยุติธรรม โต้ปมนักโทษทิพย์ โชว์หวานเจี๊ยบ! กลางสภา ชม"ทักษิณ" นักสร้างสันติภาพ ปัดใบสั่งรัฐบาล ดันระเบียบขังนอกคุก ส่วนปมรักษาตัวเกิน120วันโยนกรมราชทัณฑ์-แพทย์ตัดสิน
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวาระพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พศ.2567 พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ชี้แจงต่อที่ประชุมสภากรณีการออกระเบียบราชทัณฑ์ ซึ่งถูกนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ พาดพิงว่า กฎหมายราชทัณฑ์ปี2560 มาจากการที่กฎหมายเดิมไม่สอดคล้องกับอาญาระหว่างประเทศ กฎและการปฏิบัติไม่สอดคล้องกับหลักสากล
ประเด็นสำคัญคือกฎหมายเดิมไม่สามารถจัดการผู้ต้องขังเฉพาะรายหรือเฉพาะคดีได้อย่างเหมาะสม การที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่ปฏิบัติตามหรือให้เป็นไปตามกฎหมายตนถือว่าเจ้าหน้าที่รัฐคนนั้นไม่ธรรมรงค์ไว้ซึ่งหลักนิติธรรม สอดคล้องกับการออกกฎหมายฉบับนี้
ปัจจุบันเรามีผู้ถูกคุมขังในราชทัณฑ์จำนวน2.8แสนคนแต่อัตตราการคุมขังขณะนี้รับได้ไม่ถึง2แสน ที่รุนแรงคือ ประเทศไทยถูกตราหน้าว่า หลักนิติธรรมทางอาญาเราสอบตก เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาราชทัณฑ์ไทยจากคะแนนเต็ม1 เราได้0.25 จากจำนวนทั้งหมด44รายการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ต้องขังที่ล้นเรือนจำ หรือการแยกผู้ต้องขังที่ไม่สามารถทำได้ ฉะนั้นการที่นายจุรินทร์ไม่เห็นด้วยคนไม่ทราบว่าเราอยู่ในประเทศเดียวกันหรือไม่ ถ้าอยู่ในรัฐธรรมนูญเดียวกันก็ต้องคงไว้ซึ่งกฎหมายสูงสุดของประเทศ
ยืนยันว่าการไปออกระเบียบไม่เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีเลยเพราะกฎหมายราชทัณฑ์ฉบับนี้ให้ความสำคัญกับคณะกรรมการราชทัณฑ์17คนจำนวนนี้มีเพียง3คนที่เป็นคนของกระทรวง คือรมว.ยุติธรรม ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ส่วนบุคคลอื่นจะมีทั้งตัวแทนจากเลขาสำนักงานศาลยุติธรรม อัยการสูงสุด กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น กฎกระทรวงซึ่งออกมาแล้วเมื่อปี2563 ระเบียบจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการชุดนี้
รมว.ยุติธรรมยังกล่าวว่า เมื่อรัฐบาลจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับนานาชาติ ถ้าเราไม่แก้ปัญหาราชทัณฑ์คิดว่าจะกลายเป็นทำลายหลักนิติธรรม
ยืนยันว่าผู้ต้องขังยังถูกควบคุมในเรือนจำอีกประเภทโดยแยกเป็นกลุ่มต่างๆ ย้ำว่าระเบียบเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาลไม่ได้เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีแต่เป็นเรื่องของคณะกรรมการราชทัณฑ์
ส่วนที่มีสมาชิกบางคนระบุว่าเป็นการเลือกปฏิบัติกับบุคคลบางคน ยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ราชทัณฑ์ไม่ใช่สถานที่ฆ่าคนหรือทรมานคนถ้าเจ็บป่วยก็ต้องไปรักษา การไปรักษาไม่ใช่ว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯคนเดียวแต่มีคนจำนวนมากไปรักษา
"การรักษาของท่าน(ทักษิณ) ท่านเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม ท่านทักษิณเป็นนักสร้างสันติภาพแม้แต่ก่อนหน้านั้นท่านอาจจะมองว่าไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจแต่วันนี้เมื่อต้องการให้บ้านเมืองมีสันติภาพมีความปรองดองท่านก็กลับเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม
การป่วยของท่านก็เกิดก่อนรัฐบาลจะเข้ามา กฎหมายราชทัณฑ์และกฎกระทรวงให้ความสำคัญกับแพทย์สูงสุด และการที่ผู้ต้องขังออกไปรักษาที่เรือนจำเราคำนึงเสมอว่าที่นั่นคือเรือนจำ การอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมไปไหนไม่ได้คือการเสียเสรีภาพ หลายท่านสงสัยว่าท่านป่วยจริงหรือไม่ผมเป็นรมว.ยุติธรรมแม้แต่ผมไม่เคยไปเยี่ยม แต่ได้ถามเพราะผมต้องรับผิดชอบ ถามแพทย์แพทย์ยืนยันว่าป่วยจริง"
รมว.ยุติธรรม ยังกล่าวว่าการรักษาตัววันนี้ที่เกิน120วันก็ต้องให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้ความเห็นชอบตามความเห็นร่วมกับแพทย์ซึ่งจากการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนยังอยู่ในกระบวนการที่จะเสนอมายังตน ในส่วนของนายกทักษิณคนอาจจะมีความรู้สึกแตกต่างกันแต่ยืนยันว่าเรายึดดกฎหมายเป็นหลัก ไม่ได้ถูกตรวจสอบแค่กระบวนการทางสภาเท่านั้นแต่ยังมีองค์กรอื่นรว่มตรวจสอบด้วย