ปลัด กห. แจงงบกำลังพลเพิ่ม 3,800 ล้าน เหตุไม่ใช้งบกลาง ปรับวุฒิ เงินเดือน ขรก.
"ผบ.เหล่าทัพ" ตบเท้าแจงงบทหาร "ปลัดกลาโหม" แจงปมงบกำลังพลเพิ่ม 3,800ล้านบาท ชี้ "กลาโหม" นำวงเงิน เลื่อนเงินเดือน-ปรับวุฒิ ขรก.10% ใน 2 ปี มารวม ส่วน กระทรวงอื่น ใช้งบกลาง ดำเนินการ
17 ก.ค. 2565 เมื่อเวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อพิจารณางบของกระทรวงกลาโหม วงเงิน 198,562.9 ล้านบาท
โดยมีผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้แก่ พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ. ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) พล.อ. เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) พล.ร.อ. อดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และพล.อ.อ. พันธุ์ภักดีพัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เข้าร่วมชี้แจงภาพรวมงบประมาณของหน่วยงานภายใต้กำกับดูแล และงบของเหล่าทัพต่างๆ อย่างพร้อมเพรียง ซึ่งมีนาย กิตติรัตน์ ณระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานกมธ.วิสามัญฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม
ซึ่งปีนี้ต้องจับตาในส่วนของงบประมาณด้านกำลังพลที่เพิ่มขึ้น 3,800 ล้านบาท ซึ่งสวนทางกับแผนการปฏิรูปกองทัพ เรื่องการลดกำลังพล
พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ชี้แจงว่า เพื่อให้การดำเนินกิจการภายใต้แผนปฏิบัติงบประมาณประจำปี 2567 ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า มีศักยภาพทางทหารทัดเทียมกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2570 แม้ว่าในงบประมาณปีนี้กระทรวงกลาโหมจะได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น หากเทียบกับสัดส่วน GDP ถือว่าลดลงและกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่ 5 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองลงมาจาก เมียนมา สิงคโปร์ บรูไน กัมพูชา ตามลำดับ
สำหรับงบในส่วนของกำลังพลที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของกระทรวงกลาโหม ซึ่ง เป็นหน่วยงานเดียวได้รวมวงเงิน งบประมาณในการเลื่อนชั้นเงินเดือน ประจำปี ตามสิทธิข้าราชการ และการปรับวุฒิข้าราชการไว้ด้วย ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ตั้งงบประมาณแตกต่างกับข้าราชการพลเรือน ที่จะตั้งงบประมาณในการเลื่อนชั้นเงินเดือนเพื่อเป็นบำเหน็จประจำปีไว้ที่งบกลาง ในรายการ เลื่อนเงินเดือนและปรับวุฒิข้าราชการ โดยเพิ่ม 10% ภายใน 2 ปี โดยคุณวุฒิปริญญาตรีปรับ จาก 15,000 บาท เป็น 18,000 บาท
พลเอก สนิธชนก กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสถานการณ์ด้านความมั่นคงไม่แน่นอนความขัดแย้งภูมิภาคเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างประเทศมหาอำนาจในชาติพันธมิตรของแต่ละฝ่าย นอกจากนั้น ปัญหาในทะเลจีนใต้ที่เกิดจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลและข้อพิพาทต่างๆ รวมถึงการแสดงกำลังของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยไม่อาจปฏิเสธผลกระทบทางตรงและทางอ้อมได้ จึงมีการจัดเตรียมกำลังกองทัพให้เตรียมความพร้อมให้สามารถรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนปฏิบัติภารกิจงานตามหน้าที่อย่างดีที่สุด มุ่งเน้นการซ่อมบำรุงการปรับปรุงยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เพื่อยืดอายุการใช้งานต่อไป ทำให้ลดงบประมาณ เพราะหากไม่สามารถซ่อมบำรุงเนื่องจากไม่คุ้มค่าไม่ชิ้นส่วนอะไร จึงจะจัดหาใหม่เพื่อทดแทน
นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมยังต้องสนองนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้กองทัพเป็นคุณกาลีหลักทางด้านความมั่นคงเสร็จของรัฐเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ทุกโอกาส