'ศิริกัญญา' ชี้ 'รัฐบาล' ของบเพิ่ม ใช้แจกหมื่น ส่อทำผิดกม.วินัยการเงิน

'ศิริกัญญา' ชี้ 'รัฐบาล' ของบเพิ่ม ใช้แจกหมื่น ส่อทำผิดกม.วินัยการเงิน

"ศิริกัญญา" ชี้ รัฐบาลลุยไฟ ขอสภาฯ อนุมัติงบ 1.22แสนล้านบาท ใช้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต เสี่ยงผิดกฎหมายวินัยการเงินการคลัง วอน พรรคร่วมรัฐบาลโหวตคว่ำ

ที่รัฐสภา  น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พ.ศ.... วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ซี่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอเพื่อใช้ในโครงการเติมเงินหมื่นบาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ว่า เป็นการเสนอร่างพ.ร.บ.ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ หลายมาตรา  อาทิ  มาตรา 21 ซึ่งกำหนดว่าการจัดทำงบรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อใช้ในระหว่างปีงบประมาณ ไม่ใช่ใช้ข้ามปีและไม่สามารถรอใช้ในปีต่อไปได้  แต่การเสนอของบเพิ่มเติม จะทำให้มีเงินออกไปใช้หลังจากที่ พ.ร.บ.งบฯ67 สิ้นสุดลง ในวันที่ 30 ก.ย.นี้  มาตรา 43 ว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันที่กำหนดให้ทำไว้ก่อนสิ้นปี  หากรัฐบาลจะชี้แจงว่า การลงทะเบียนคือการก่อหนี้ผูกพัน ตนมองว่าไม่ใช่ เพราะการก่อหนี้ผูกพันต้องมีสัญญา 2 ฝ่าย  แต่การลงทะเบียยนคือ การทำสัญญาฝ่ายเดียวหากรัฐบาลคิดว่าเป็นการก่อหนี้ จะทำให้เกิดบรรทัดฐานที่ผิด และมีหน่วยงานรัฐเอาอย่าง เมื่อใช้งบไม่ทัน จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน

“ถ้าไม่ใช่เรื่องใหญ่ขนาดนั้น ทำไมรัฐบาลไม่แก้ไขกฎหมายวินัยการเงินการคลังให้เรียบร้อย เพราะฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา ที่สามารถขอ แก้ไขมาตรา 21 เพิ่มวรรคท้าย คือ เว้นมีเหตุให้เป็นอย่างอื่น โดยได้รับความเห็นชอบจาก ครม. เพื่อให้เป็นความรับผิชอบของฝ่ายการเมืองหรือกำหนดว่า ได้รับความเห็นชอบของนายกฯ แต่ตอนนี้พบว่าเป็นการเดินหน้าลุยไฟทำผิดกฎหาย คนที่เดือดร้อน คือ ข้าราชการประจำที่ลงนามเรื่องต่างๆ โดยฝ่ายการเมือง ไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในการตัดสินใจที่เสี่ยงผิดกฎหมาย” น.ส.ศิริกัญญา อภิปราย

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวด้วยว่า งบกลาง เงินสำรองจ่ายไม่พอสามารถเบิกจ่ายทุนสำรองจ่ายได้ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 45 ใช้ได้เมื่องลกลางสำรองจ่ายไม่เพียงพอ จึงกล้าลดวงเงิน 4.5แสนล้านบาท เพราะวงเงินทุนสำรองจ่าย 5 หมื่นล้านบาท ใช้ได้เมื่อจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ราชการแผ่นดิน จะเร่งด่วนจริงหรือไม่ เพระต้องใช้ในไตรมาสสี่  ทั้งนี้มีคำถามคือ จะมีความจำเป็นเร่งด่วนจริงหรือไม่ ซึ่งมองว่ามีเพียงอย่างเดียวคือ รักษาหน้าของรัฐบาล ทั้งนี้งบส่วนดังกล่าวหากเบิกจ่ายจริง ต้องใช้คืน ในปี 2569 ถือว่าเป็นการยืมเงินข้ามปี

น.ส.ศิริกัญญา อภิปรายด้วยว่าในประเด็นที่เสี่ยงผิดกฎหมาย ยังมีคือ การตีความว่าโครงการเติมเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ตเป็นงบรายจ่ายลงทุนหรือไม่ ทั้งนี้นิยาม คือซื้อสิ่งของ สร้างสิ่งปลูกสร้าง อายุเกิน 1 ปี หรือค่าจ่ายสิ่งปลูกสร้าง แต่ของดิจิทัลวอลเล็ต ใช้เพื่ออุปโภคบริโภค แต่กลับตีความว่าเป็นรายจ่ายลงทุนสูง 80%  แต่หากไม่นับเป็นรายจ่ายลงทุน จะผิดต่อพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 20  คือ รายจ่ายลงทุนจะมีไม่ถึง 20% และเป็นตัวเลขที่มากกว่าการขาดดุลงบประมาณ  หากบอกว่างบเพิ่มเติมไม่ใช้เกณฑ์เดียวกันกับงบประจำปี ถือว่าฟังไม่ขึ้น และรัฐบาลจ้องแก้ไขทำให้ถูกต้อง  ทั้งนี้ทำไมรัฐบาลไม่เลือกแก้กฎหมายเพราะอยู่ในวิสัยที่ทำได้แต่เลือกทางเสี่ยง ทางลุยไฟ ตนมองว่าเพราะรัฐบาลไม่พรร้อม เนื่องจากอีก 15 วัน จะเปิดให้ลงทะเบียน ขณะที่ตอนนี้ยังหาเจ้าภาพไม่ได้ เพราะในเอกสารที่เสนอของบเพิ่มยังระบุเป็นภาพรวม

“โครงการนี้บอกได้คำเดียวว่าการลงทุนไม่รู้เท่าไร ตีไว้ 5 แสนล้านบาท ที่ลงทุนไป ได้รักษาหน้า ว่าได้ทำตามที่หาเสียง แม้หน้าตานโยบายไม่เหมือนที่หาเสียงตั้งแต่ต้น เพิ่มจีดีพี เต็มที่ 1.8% หรือได้คืน 3.5แสนล้านบาท การได้คืนเท่านี้ เรียกว่าคุ้มหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้คือเพิ่มความเสี่ยงของประเทศไม่มีปัญญารับมือปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต และต้องทำผิดกฎหมายหลายข้อ หากทำต่อไปจะสร้างบรรทัดฐานที่ผิดต่องบประมาณ นอกจากนั้นยังเอื้อค้าปลีกรายใหญ่ กีดกันรายย่อยไม่รู้ตัว รวมถึงเสียโอกาสการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ประชาชนเพราะต้องใช้เงินปลายปี อีกทั้งยังเสียอีกหลายโอกาส ที่จะเกิดในงบประมาณปี 69 และ 70 ทำให้งบที่ใช้พัฒนาประเทศที่จะมีศักยภาพลดลง ทั้งนี้ถือเป็นกระสุนนัดใหญ่ นัดสุดท้ายของรัฐบาลนัดเดียวที่จะเป็นปัญหา ทั้งนี้ขอส่งสัญญาณไปยังพรรคร่วมรัฐบาลจะกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดที่สุ่มเสี่ยงทำผิดกฎหมาย และทำให้เกิดปัญหาในอนาคต ขอให้ สส.รัฐบาลคว่ำร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว” น.ส.ศิริกัญญา อภิปราย.