โพล เผย ปชช.มองไม่เปลี่ยนนายกฯ ไม่เชื่อ ‘ทักษิณ’ พ้นโทษ พา ‘รัฐบาล’ กระเตื้อง

โพล เผย ปชช.มองไม่เปลี่ยนนายกฯ ไม่เชื่อ ‘ทักษิณ’ พ้นโทษ พา ‘รัฐบาล’ กระเตื้อง

“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจ ปชช.ไม่เชื่อ เปลี่ยนตัวนายกฯ ส.ค.นี้ มีคนที่เชื่อมาก แค่8% ระบุ คนที่เชื่อโฟกัส 3ชื่อ “แพทองธาร-อนุทิน-ประวิตร” ลุ้น เสียบเก้าอี้ “เศรษฐา” เกินครึ่งมอง พรรคการเมืองที่จะถูกยุบ สส.ย้ายซบพรรคร่วมรัฐบาล ไม่เชื่อ ทักษิณ พ้นโทษ พา รัฐบาล ประสิทธิภาพเพิ่ม

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับ

การเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า

  • ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย 
  • ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ 
  • ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ 
  • ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก 
  • ร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับ

บุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า 

  • ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) 
  • ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) 
  • ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) 
  • ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) 
  • ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย)
  • ร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

โพล เผย ปชช.มองไม่เปลี่ยนนายกฯ ไม่เชื่อ ‘ทักษิณ’ พ้นโทษ พา ‘รัฐบาล’ กระเตื้อง

เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับ

ความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า 

  • ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ 
  • ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก 
  • ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย 
  • ร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้

 

การพ้นโทษของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า 

  • ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย 
  • ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ 
  • ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ 
  • ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก 
  • ร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ