ฝ่ายค้าน ฝ่ายแค้น ชักธงรบ วางเกมยาว ล้ม ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’

ฝ่ายค้าน ฝ่ายแค้น ชักธงรบ วางเกมยาว ล้ม ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’

พรรคประชาชน ประกาศชัดแล้ว จะใช้กระบวนการนิติบัญญัติ แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิรูป และลดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ทว่าธงนำเรื่องนี้มุ่งไปสู่การยุบศาลในที่สุด

KEY

POINTS

Key Point :

  • พรรคประชาชน ประกาศยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในหมวดว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ มุ่งหวังลดอำนาจของศาล
  • เหตุปัจจัยเดาไม่ยาก นอกจากตามคำอ้างว่าเพื่อทำให้ประชาธิปไตยเต็มใบ ไม่มีอำนาจนอกสภาฯ อำนาจเหนือประชาชน มาแทรกแซง ยุบพรรค ตัดสิทธิ กรรมการบริหาร
  • ทว่ามุมลึกๆที่ซ่อนอยู่ คือการ ล้างแค้น เมื่อยุบพรรคเราได้ เรามีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำคืน
  • แต่การเริ่มต้นล้างแค้นนี้จะสำเร็จโดยเร็วหรือไม่ต้องจับตา เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ ต้องทำประชามติเมื่อจะแก้ไขประเด็นที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
  • รวมถึงแนวร่วม "เพื่อไทย" ที่จะร่วมหัวจมท้ายไปสุดท้าย หรือ แค่ส่งเสียเชียร์ แต่ไม่กล้าลงมือจริง เพราะเกรงจะชนกับฝั่งอนุรักษ์นิยม 

 

เมื่อ “พรรคการเมือง” ทั้ง “ก้าวไกล-อนาคตใหม่” กลายเป็นผู้ถูกกระทำ จาก “ศาลรัฐธรรมนูญ” สั่งให้ “ยุบพรรคการเมือง”  ลงโทษกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล-อนาคตใหม่ ด้วยการตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี

ดูเหมือนรอบนี้ พวกเขาที่แปลงเป็น “พรรคประชาชน” จะไม่ทนอีกต่อไป

“ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ” หัวหน้าพรรคประชาชน ลุกมาประกาศ พร้อมรบกับศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านกระบวนการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ตามหน้าที่และสิทธิของ “ฝ่ายนิติบัญญัติ”

แม้ประเด็น และความชัดเจนของเรื่องนี้ “หัวหน้าพรรคประชาชน” ยังไม่ประกาศชัดในวันนี้ ว่าจะขีดออกมาในแนวทางใด แต่มีกรอบคิดหลักใหญ่ ที่พอจับทางได้ เพราะแกนนำแถวหนึ่ง เมื่อยังเป็นพรรคอนาคตใหม่ แกนนำแถวสอง เมื่อเป็น พรรคก้าวไกล ล้วนมีแนวคิดที่ถูกส่งต่อกันมา ดังนั้นเมื่อมาถึง “แกนนำแถวสาม” ในนามพรรคประชาชน จึงเชื่อว่าแนวคิด และแนวทางไม่แตกต่างกัน

ฝ่ายค้าน ฝ่ายแค้น ชักธงรบ วางเกมยาว ล้ม ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ เช่น ลดอำนาจบางอย่างของ ศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่มีปัญหา โดยเฉพาะการใช้อำนาจ “ล่วงล้ำ-ก้าวก่าย” หน้าที่ และสิทธิของ “ฝ่ายบริหาร” และ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ที่ทำได้ตามกรอบกฎหมาย

หรือขีดกรอบหน้าที่บางประการของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ที่พ่วงเข้ากับการตรวจสอบ “จริยธรรมของนักการเมือง”  หรือ เพิ่มบทตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ  ทั้งนี้บางกรณีเคยได้ยินถึงขั้นว่า “ยุบศาลรัฐธรรมนูญ” ไปเลย

ในแนวทางที่อาจจะได้เห็นหลังจากนี้ คือ การริเริ่มเสนอแก้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจำกัดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ 

ตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ 2560 ในหมวดว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไข คือ 

1.สส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของ สมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ หรือ สส.รวมกับสว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสองสภาฯ รวมถึง ครม. และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 5หมื่นคนเข้าชื่อ เสนอเป็นญัตติขอแก้ไข

2.ญัตติที่เสนอต่อรัฐสภา ให้พิจารณาเป็นสามวาระ

ฝ่ายค้าน ฝ่ายแค้น ชักธงรบ วางเกมยาว ล้ม ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ 3.การออกเสียงวาระรับหลักการ  ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนเปิดเผย โดยเสียงเห็นชอบต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสองสภาฯ โดยจำนวนนี้ต้องมี สว. เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสว.ที่มีอยู่

4.การพิจารณาวาระสอง เรียงลำดับมาตราให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ

5.เมื่อพิจารณาวาระสองเสร็จสิ้น ให้รอไว้ 15 วัน ก่อนพิจารณาวาระสามต่อไป

6.การลงคะแนนวาระสาม ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนเปิดเผย โดยต้องได้คะแนนเห็นชอบที่จะออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ มากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของสองสภาฯ โดยต้องมี สส.ฝ่ายค้านเห็นชอบด้วย ไม่น้อยกว่า 20% และสว.เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสว.ที่มีอยู่

ทั้งนี้ ในประเด็นการแก้ไขมาตราที่เกี่ยวกับ “ศาลรัฐธรรมนูญ” นั้น ยังมีเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นเฉพาะ คือ “ต้องทำประชามติ” ในกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติหน้าที่หรืออำนาจได้

กับเงื่อนไขพิเศษ ที่ “รัฐธรรมนูญ” กำหนดไว้นั้น อาจทำให้ การเดินหน้า “รบ” ศาลรัฐธรรมนูญ ของพรรคประชาชน ไม่สามารถเร่งเกมเร็วได้ แม้ “พรรคประชาชน” จะมีความได้เปรียบ

ทั้งเป็น พรรคฝ่ายค้านที่มีเสียงข้างมากในสภาฯ สามารถให้ สส. ลงชื่อเสนอญัตติต่อรัฐสภาและลงมติเห็นชอบวาระสาม ได้ตามเงื่อนไข ขณะเดียวกันยัง มีกองหนุนใน สว. อยู่บางส่วน

สำหรับหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดไว้มาตรา 210 คือ 1.วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย 2.วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ สส. สว. รัฐสภา ครม. และองค์กรอิสระ และ 3.หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ฝ่ายค้าน ฝ่ายแค้น ชักธงรบ วางเกมยาว ล้ม ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ โดย หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น สแกนตามเนื้อหา แล้ว ขมวดเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 

1.วินิจฉัยประเด็นบุคคลใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2.วินิจฉัย ความสิ้นสุดลงของ สมาชิกภาพของ สส.  สว.  และรัฐมนตรี รวมถึงสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลมีคำวินิจฉัย ซึ่งกรณีนี้รวมถึง ประเด็นที่มีปัญหาทางจริยธรรมด้วย

3.พิจารณากรณี ที่ สส. หรือ สว.  ถูกร้องมีผลประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรืออ้อมในการใช้จ่ายงบประมาณ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 ซึ่งหากพบว่าผิด ศาลรัฐธรรมนูญ สามารถสั่งให้ สส. หรือ สว. นั้น สิ้นสุดสมาชิกภาพ รวมถึงเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และในกรณีนี้ยังให้ “ศาลรัฐธรรมนูญ” มีอำนาจสั่ง “ครม.”ให้พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ หาก ครม. รู้เห็นเป็นใจ ไม่ยับยั้ง

นอกจากนั้น ยังมีอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)  เช่น พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรค ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ทุจริตเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรค เป็นต้น

ทั้งนี้การเดินหน้า แก้รัฐธรรมนูญ ในประเด็นของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ของ พรรคประชาชน ในชั่วโมงที่ “พรรคการเมือง-ฝ่ายบริหาร” เป็นผู้ถูกกระทำ ได้รับความเห็นด้วย จากฝ่าย “พรรคเพื่อไทย”

ฝ่ายค้าน ฝ่ายแค้น ชักธงรบ วางเกมยาว ล้ม ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ ที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ หลังศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้ อดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน พ้นตำแหน่ง ขณะเดียวกันการเข้ามารับตำแหน่ง ของ “แพทองธาร ชินวัตร” บุตรสาว “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ ยิ่งกลายเป็นความจำเป็นที่ต้องลดทอนอำนาจ “ศาลรัฐธรมนูญ” ลง เพื่อปกป้อง “นายน้อย” เพื่อไทย ไม่ให้ซ้ำรอย “เศรษฐา”

เมื่อฝ่ายค้านเสียงข้างมาก เห็นด้วยกับ “ฝ่ายรัฐบาล” เสียงข้างมาก เท่ากับว่าแทบไม่มีอะไรหยุดยั้ง นอกจากปัจจัยทางการเมือง ที่ให้สิทธิ “วุฒิสภา” เป็นกลไกยับยั้ง และยามนี้ ที่ “สว.สายสีน้ำเงิน” ครองสภาสูง หากไร้ซึ่งการสมประโยชน์ร่วมกัน อาจจะกลายเป็นอุปสรรค

เนื่องจากเกณฑ์กำหนดต้องได้เสียง สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ 50 คน  และยามนี้ สว.ในขั้วพันธุ์ใหม่ และสายเพื่อไทย ยังรวมตัวไม่ถึง 50 คนด้วยซ้ำ พ่วงกับเงื่อนไข ที่ต้องนำไปออกเสียงประชามติ เท่ากับเปิดช่องให้ "ประชาชนขั้วสายอนุรักษนิยม" ออกมาแสดงอิทธิฤทธิ์

ฝ่ายค้าน ฝ่ายแค้น ชักธงรบ วางเกมยาว ล้ม ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ ดังนั้นไม่ว่า “พรรคประชาชน” จะขยับเดี่ยว หรือได้เพื่อนเดินเคียงข้าง คือ “พรรคเพื่อไทย” ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางการเมืองที่จะตามมาให้ดี

สำหรับกรณีที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” สั่งให้ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พบว่ามีทั้งสิ้น 3 คน คือ “สมัคร สุนทรเวช” ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อ 9 ก.ย.2551 และสั่งพ้นตำแหน่งนายกฯ กรณีจัดรายการ ชิมไป-บ่นไป ซึ่งขัดต่อคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็น “นายกฯ”

ต่อมา คือ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เมื่อ 7 พ.ค. 2557 ในช่วงที่เป็น “นายกฯรักษาการ” หลังยุบสภา กรณีใช้อำนาจแทรกแซงการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)  และโดนสภานิติบัญญัติ (สนช.) ลงมติถอดถอนซ้ำอีกครั้ง เมื่อ  23 ม.ค.2558 พร้อมเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 5 ปี

และ ล่าสุด คือ "เศรษฐา ทวีสิน" เมื่อ 14 ส.ค.2567 ประเด็นขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์  และ ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง.