'สส.ปชน.' แฉ งบกรมการข้าว ส่อไม่โปร่งใส-เอื้อเอกชนบางราย

'สส.ปชน.' แฉ งบกรมการข้าว ส่อไม่โปร่งใส-เอื้อเอกชนบางราย

"ศุภณัฐ" แฉ งบกรมการข้าว โครงการเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ส่อไม่โปร่งใส เอื้อเอกชนบางราย ด้าน "กมธ.งบฯ" โต้ ให้ สตง.สอบ

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาฯ วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 วาระสอง โดยมีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯ คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม วันที่สอง ต่อเนื่องในมาตรา 14 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่ยงานในกำกับ วงเงิน  5.5หมื่นล้านบาท ซึ่งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ปรับลดจากวงเงินเดิม ที่ 5.6หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้พบการตั้งข้อสังเกตจาก สส.พรรคประชาชน ถึงการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานต่างๆ ที่ส่อว่าอาจจะเกิดการทุจริตได้

โดย นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กทม. พรรคประชาชน อภิปรายว่าโครงการของกรมการข้าว 2 โครงการที่มีข้อเคลือบแคลงสงสัย ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทุจริต ในส่วนของงบกรมการข้าว คือโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบบาดาล งบประมาณ31.8 ล้าน และโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบผิวดิน งบประมาณ 415 ล้านบาท รวมสองโครงการ 447 ล้านบาท ทั้งนี้จากการสืบราคาทั้งโครงการให้เอกชน 3 ราย เสนอราคาเลือกรายที่เสนอราคาต่ำที่สุดมาตั้งเป็นราคากลาง ซึ่งระบบสูบน้ำทั้ง2โครงการมีส่วนงานโยธาและงานคุรุภัณฑ์ ซึ่งทั่วไปงานโยธาจะทำด้วยตัวเองส่วนงานคุรุภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจงจะใช้การสื่อราคาแต่ครั้งนี้กรมการข้าวใช้กันสืบราคาทั้ง โครงการนี้มีโอกาสในการปั้นราคาโดยที่ไม่ต้องหาผู้รับผิดชอบ ไม่ต่างจากโครงการลู่วิ่งของ กทม. ตกราคา 7.5 แสนบาทต่อตัว

นายศุภณัฐ อภิปราต่อว่า นอกจากนั้นยังมีประเด็นน่าเชื่อถือของบริษัท 3 รายที่กรมการข้าวไปสืบราคา พบว่ามีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทแต่เสนอทำโครงการที่มีมูลค่า 543 ล้านบาท โดยผู้ที่ได้เสนอราคาต่ำที่สุดมีรายได้แค่ 2,600,000 บาทในปี 2565 แต่ทำใบเสนอราคาให้ภาครัฐมูลค่า 543 ล้านบาท เมื่อดูทุนจดทะเบียนดูรายได้ก็รู้แล้วเค้าไม่สามารถที่จะทำได้ ขณะที่ใบเสนอราคาทั้ง 3 บริษัทมีแบบฟอร์มเดียวกัน ต่างแค่โลโก้บริษัทและลายเซ็นกรรมการ จึงเชื่อว่ามีโอกาสในการปั้นราคา

ขณะที่ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม. พรรคประชาชน อภิปรายว่า ปัญหาปลาหมอคางดำ ว่าเป็นภัยรุกรานสัตว์น้ำต่างถิ่น ทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ 19 จังหวัด 76 อำเภอ มีเกษตรกรได้รับผลกระทบเกือบ 50,000 คน เมื่อรัฐบาลรับทราบผลกระทบปี 2567 แต่ในการจัดสรรงบงบประมาณปี 2568 ค่าใช้จ่ายเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ลดค่าของชีพแก่ประชาชน 307 ล้านบาทถูกปรับลดไป 51 ล้านบาทนั้นเห็นว่าหากกรมประมงทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และปกป้องแหล่งน้ำสัตว์น้ำภายใต้การดูแลไม่ต้องใช้งบประมาณสูงเช่นนี้ และงบประมาณที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ  แต่ในงบประมาณปี 2568 ไม่มีจัดสรรไว้

“การแก้ไขปัญหายังไม่ดีพอแต่มีการอนุมัติงบประมาณไปก่อสร้างศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่จังหวัดของรัฐมนตรีอีก 208 ล้านบาท  ซึ่งเป็นงบผูกพัน3 ปีตั้งแต่ปี 2568 2569 และ 2570 ซึ่งเห็นว่าวิกฤติขณะนี้ที่ต้องเร่งแก้ไขและให้น้ำหนักไม่ว่าจะจะเป็นเรื่องงบงบประมาณและบุคลากรและทรัพยากรอื่นอื่นคือการรุกรานจากปลาต่างถิ่น ซึ่งในแรงงานจัดสรรงบประมาณไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหานี้มีแต่เพียงงบสิ่งปลูกสร้าง” นายณัฐชากล่าว

ขณะที่การชี้แจงของกมธ.เสียงข้างมาก โดยนายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ กมธ. ยืนยันในการพิจารณาของกมธ. ทั้งนี้ในส่วนงานใดที่สส.พบปัญหาและส่อว่าไม่โปร่งใสนั้น มีหลายองค์กรที่ตรวจสอบได้ เช่น สตง. เป็นต้น

\'สส.ปชน.\' แฉ งบกรมการข้าว ส่อไม่โปร่งใส-เอื้อเอกชนบางราย

จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติโดยเสียงข้างมากของที่ประชุมเห็นชอบตามที่กมธ.เสียงข้างมากพิจารณา.