เปลือยพฤติการณ์! ศาลรับฟ้องคดีโรลส์-รอยซ์การบินไทย ‘ทนง’ จำเลย นัดอีก 7 ต.ค.

เปลือยพฤติการณ์! ศาลรับฟ้องคดีโรลส์-รอยซ์การบินไทย ‘ทนง’ จำเลย นัดอีก 7 ต.ค.

เปิดคำฟ้องโจทก์เปลือยพฤติการณ์หมดเปลือก! ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ประทับรับฟ้องคดีสินบนข้ามชาติ ‘โรลส์-รอยซ์’ ของ ‘การบินไทย’ มี ‘ทนง-กวีพันธ์’ จำเลย นัดสอบคำให้การ 7 ต.ค.

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2567 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่ อท 152/2567 ที่มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทนง พิทยะ อดีตประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และที่ปรึกษาอนุกรรมการพิจารณาแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัทฯ เป็นจำเลยที่ 1 และ นายกวีพันธ์ เรืองผกา อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการเงินและการบัญชี ฝ่ายบริหารงานนโยบายบริษัทฯ และอนุกรรมการพิจารณาแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัทฯ เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีความผิดเกี่ยวกับสินบนข้ามชาติโรลส์-รอยซ์” หลังจากถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดไปก่อนหน้านี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดขดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้นายทนง เดินทางมาศาล แต่ไม่อนุญาตให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนแต่อย่างใด และภายหลังฟังการพิจารณาของศาลเสร็จได้เดินทางกลับทันที

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า บริษัท ก. (การบินไทย) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2502 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2503 3 ต่อมาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 ณ ปี พ.ศ. 25446 มีกระทรวง ก. ถือหุ้นร้อยละ 54.21 บริษัท ก. จึงเป็น รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวง ค. ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502

ขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท ก. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท ก. เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2545 มีอำนาจหน้าที่ ควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินกิจการของบริษัท ก ก. โดยต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัทตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามข้อบังคับของบริษัท ก. ขณะเกิดเหตุคดีนี้

ส่วนจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้อำอานวยการใหญ่ฝ่ายการเงินและการบัญชี บริษัท ก. มีอำนาจหน้าที่ใน การกำหนดนโยบาย ควบคุม ดูแล อำนวยการ รับผิดชอบในการบริหารงานและปฏิบัติการทั้งปวงเกี่ยวกับฝ่ายเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี ทั้งด้านการพัฒนาการวางระบบงาน การบริหารความเสี่ยงการบัญชี โดยรายงาน ตรงต่อกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ตามระเบียบบริษัท ก. ว่าด้วยการบริหารกิจการทั่วไป พ.ศ. 25540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

ดังนั้น จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงเป็นพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และมีฐานะ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

เปลือยพฤติการณ์! ศาลรับฟ้องคดีโรลส์-รอยซ์การบินไทย ‘ทนง’ จำเลย นัดอีก 7 ต.ค.

ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2549 เวลากลางวันและกลางคืน ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งและมีอำนาจหน้าทีในการจัดทำ พิจารณา เห็นชอบ และอนุมัติแผนวิสาหกิจปี 2548/49 - 2552/53 ของบริษัท ก. ได้รวมถึงการพิจารณาโครงการจัดหา เครื่องบินโบอิ้ง B777-200 ER จำนวน 6 ลำ และเครื่องยนต์โรลส์-รอยช์ (Rolls-Royce) TRENT 892 สำหรับเครื่องบินดังกล่าว รวมทั้งเครื่องยนต์สำรอง/อะไหล่ โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) TRENT 892 สำหรับ โบอิ้ง B777-200 ER และTRENT 500 สำหรับเครื่องบินแอร์บัส A340-500/600 ตามแผนวิสาหกิจดังกล่าว อันเป็นการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ได้ร่วมกันกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ ใช้อำนาจในตำแหน่งของตนโดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต 

โดยจำเลยที่ 1 ใช้อำนาจในตำแหน่งที่ตนเป็นประธานกรรรมการบริษัทฯ เข้าไปก้าวก่าย แทรกแซง ครอบงำ การปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารอนุกรรมการพิจารณาแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัทฯ ในการพิจารณาการเพิ่ม ลดจำนวนเครื่องบิน การจัดหาเครื่องยนต์และอะไหล่เครื่องบิน ตลอดจนการจัดหาเครื่องบินและเครื่องยนต์ โดยมุ่งหมายให้มีการพิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง (LM) เพียง A340-600 กับ B777-200ER ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ยี่ห้อโรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) ทั้งที่ ๆ บริษัท ก. เคยประสบปัญหาค่าซ่อมเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และเครื่องยนต์ TRENT มีแหล่งซ่อมน้อยมาก และ บริษัท ร. (โรลส์-รอยซ์) เข้าไปร่วมทุนทั้งสิ้น โดยไม่มีนโยบายให้ Shop แต่ละแหล่งแข่งขันกัน

และจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ร่วมกันกระทำการโดยแบ่งหน้าที่กันทำตามอำนาจหน้าที่ของตนเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงการสั่งซื้อเครื่องบิน B777-200ER จากบริษัท บ. จากเติมน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด (MTOW) 580,000 ปอนด์ ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) TRENT-884 เป็นน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด (MTOW) 650,000 ปอนด์ ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ TRENT-892 และแก้ไขเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์สำรอง/อะไหล่ (Spare Engine) เป็น TRENT-892 ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติให้สั่งซื้อแล้วโดยมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามระเบียบบริษัท ก. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 

เนื่องจาก จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่ได้เสนอขออนุมัติแก้ไขการเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อเครื่องบินและเครื่องยนต์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการบริษัทฯ ซึ่งเป็นอำนาจโดยตรงในการพิจารณาอนุมัติตามระเบียบอีกครั้ง โดยในการจัดหาเครื่องบินและรวมถึงการจัดหาเครื่องยนต์ อุปกรณ์ อะไหล่ บริภัณฑ์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ต้องจัดหาพร้อมกันกับการจัดหาเครื่องบินตามระเบียบบริษัท ก. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ตามข้อ 8 ได้กำหนดให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ และข้อ 10 วรรคสอง กำหนดให้ในกรณีที่อำนาจในการจัดหาเป็นอำนาจของคณะกรรมการบริษัทฯ ให้การแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ เป็นอำนาจของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่

เปลือยพฤติการณ์! ศาลรับฟ้องคดีโรลส์-รอยซ์การบินไทย ‘ทนง’ จำเลย นัดอีก 7 ต.ค.

วันที่ 25 สิงหาคม 2547 ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 8/2547 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการบริษัทฯ เข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมมีจำเลยที่ 2 รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการเงินและการบัญชี (DE) ในฐานะอนุกรรมการพิจารณาแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัทฯ เป็นผู้ชี้แจงข้อมูลในที่ประชุม ในวาระที่ 3.2 ในการขออนุมัติแผนเส้นทางบินและฝูงบินระยะยะยาว (2548/49 -2552/53) ซึ่งในการขี้แจงเพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาในวาระที่ 3.2 นั้น ได้มีการนำเสนอการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง (LM) เพียงเครื่องบิน B777-200ER และเครื่องบิน A340-600 เท่านั้น 

ดังเจตนาของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ต้นที่ได้มีความเห็นในที่ประชุมคณะอนุกรรมการแผนการลงทุนระยะยาว เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 25547 โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในครั้งนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชี้แจงทราบดีว่า ก่อนการเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติแผนเส้นทางการบินและเส้นทางบินและฝูงบินระยะยาว ปี 2548/2549 - 2552/53 และขออนุมัติให้บริษัทฯ ลงนามในสัญญาเพื่อสั่งซื้อเครื่องบินดังกล่าวในครั้งนี้นั้น ฝ่ายบริหารไม่ได้ดำเนินการจัดหาเครื่องบิน ตลอดจนเครื่องยนต์ที่จะใช้ติดตั้งกับเครื่องบินดังกล่าว และเสนอต่อที่ประชุมฝ้ายบริหารงานนโยบายบริษัทฯ (EMM) ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการกำกับกลยุทธ์ของบริษัทฯ ที่มีจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการ เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ ตามระเบียบบริษัท ก. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 25456 แต่อย่างใด 

ประกอบกับไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเครื่องยนต์สำหรับติดตั้งบนเครื่องบิน (Engines on Wine) เพื่อทำการพิจารณาเปรียบเทียบข้อเสนอขายของบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ ได้แก่ การลงทุน (Investrment) การสนับสนุนทางด้านการเงิน (Financial Support) และการสนับสนุนด้านอื่น ๆ (Other Support) ซึ่งถือเป็นขั้นตอนจำเป็นที่ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องในอดีต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท ก. แต่อย่างใด 

และจำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดีว่า เครื่องบิน B777-200ER จะต้องเพิ่มน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด (MTOW) จาก 580,0000 ปอนด์ เป็น 650,000 ปอนด์ และต้องยกระดับ (Upgrade) เครื่องยนต์จาก TRENT-884 เป็น TRENT-892 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเครื่องบิน B777-2000ER จำนวน 6 ลำ ที่จะจัดหาจากบริษัท บ. และและเครื่องยนต์ TRENT-800 ที่จะจัดหาจากบริษัท ร. ปรับเพิ่มสูงขึ้น 

เปลือยพฤติการณ์! ศาลรับฟ้องคดีโรลส์-รอยซ์การบินไทย ‘ทนง’ จำเลย นัดอีก 7 ต.ค.

แต่ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในครั้งนี้ (วันที่ 25 สิงหาคม 2547) จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชี้แจง กลับได้ร่วมกันอาศัยโอกาสที่ตนมีอำนาจในตำแหน่งและมีหน้าที่ในที่ประชุมดังกล่าว จนทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการบริษัทฯ มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาเส้นทางบินและฝูงบินระยะยาวปี 2548/2549 - 2552/53 แผนการเงินและแผนการลงทน โดยเห็นชอบให้บริษัท ก. ดำเนินการจัดหาเครื่องบินจำนวน 14 ลำ ได้แก่ เครื่องบิน A380 จำนวน 6 6 ลำ เครื่องบิน A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบิน Am40-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน B777-200ER จำนวน 6 ลำ และอนุมัติให้ลงนามในสัญญา Letter of Intent (L.O.) เพื่อสั่งซื้อเครื่องบิน B777-200ER จำนวน 6 ลำ กับบริษัทโบอิ้ง (Boeing) พร้อม ทั้งชำระเงินมัดจำเครื่องบิน และอนุมัติให้ลงนามในสัญญา (MOU) เพื่อสั่งชื่อเครื่องบิน A380 A380-500/500 รวมจำนวน 8 ลำ กับบริษัทแอร์บัส (Arbus) โดยมีเงื่อนไขให้มีผลบังคับใช้เมือบริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

เปลือยพฤติการณ์! ศาลรับฟ้องคดีโรลส์-รอยซ์การบินไทย ‘ทนง’ จำเลย นัดอีก 7 ต.ค.

ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 คณะรัฐมนตรีในการประชุมครั้งที่ 43/25547 ได้อนุมัติในหลักการให้บริษัท ก. (บกท.) ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 25548/49 - 2552/53 เพื่อจัดหาเครื่องบิน จำนวน 14 ลำ วงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท และต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม 2547 คณะรัฐมนตรีในการประชุมครั้งที่ 51/25447 ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวง ค. ดำเนินการลงนามในสัญญาซื้อขายเครื่องบินกับบริษัทผู้ชายเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา ตามกำหนดเวลาลงนามในสัญญา (วันที่ 23 ธันวาคม 2547) 

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 25447 บริษัท ก. ก็ได้มีการลงนามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม แนบท้ายสัญญาจัดหาเครื่องบิน หมายเลข 1721 (SA-8) กับบริษัท บ. เพื่อสั่งชื่อเครื่องบิน B777-200ER จำนวน 6 ลำ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 25548 ได้ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 20 กับบริษัท อ. เพื่อตกลงซื้อเครื่องบินแอร์บัส แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ และแบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2548 ได้ลงนามในสัญญาข้อกำหนดทั่วไปซื้อขายเครื่องยนต์โรลส์-รอยช์ (Rolls-Royce) TRENT-500 สำหรับเครื่องบิน A340-500/600 กับบริษัท ร. และเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 25549 ก็ได้ลงนามสัญญา ข้อกำหนดทั่วไปซื้อขายเครื่องยนต์โรลส์-รอยช์ (Rolls-Royce) TRENT-892 สำหรับเครื่องบิน B777-200ER กับบริษัท ร.

การกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่ ทำ จัดการ เกี่ยวกับจัดหาเครื่องบินโบอิ้ง B777-200 ER จำนวน 6 ลำ และเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) TRENT-892 สําหรับเครื่องบินดังกล่าว รวมทั้งเครื่องยนต์สำรอง/อะไหล่ โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) TRENT-892 สำหรับโบอิ้ง รวมทั้ง เครื่องยนต์สำรอง/อะไหล่ โรลส์-รอยช์ (Rolls-Royce) TRENT-500 สำหรับเครื่องบินแอร์บัส A340 500/600 รวม 7 เครื่อง จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำตามหน้าที่ของตนโดยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใด หรือโดยทุจริต โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายในการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการสั่งซื้อเครื่องบินและเครื่องยนต์จากบริษัท บ. และบริษัท ร. และและแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับบริษัท บ. 

เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการทำสัญญาขายเครื่องบิน B777-200ER จำนวน 6 ลำ และบริษัท ร. ได้รับประโยชน์ในการทำสัญญาขายเครื่องยนต์ (Engines on Wing) TRENT-892 สำหรับติดตั้งบนเครื่องบินดังกล่าว รวมทั้งเครื่องยนต์สำรอง/อะไหล่ (Spare Engine) TRENT-892 จำนวน 2 เครื่อง สำหรับเครื่องบิน B777-2000ER ให้แก่บริษัท ก. เป็นเหตุให้ราคาเครื่องบินและเครื่องยนต์ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,865,140,094,40 บาท อันเป็นการเสียหายแก่ระบบพัสดุและการบริหารงานของบริษัท ก. 

จึงเป็นความผิดฐานเป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในหน้าที่โดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่องค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 8 เหตุเกิดแขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางรับคดีไว้พิจารณา เป็นคดีอาญา หมายเลขดำที่ อท 152/2567 ให้จำเลยทั้งสองแต่งทนายความ และให้นัดสอบคำให้การจำเลย ในวันที่ 7 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30 นาฬิกา

ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองออกนอก ราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล