กมธ.สันติภาพ จี้รัฐบาล สาง'คดีตากใบ' เทียบ'คดีเสื้อแดง' เลิกอ้างเยียวยาแล้วจบ

กมธ.สันติภาพ จี้รัฐบาล สาง'คดีตากใบ' เทียบ'คดีเสื้อแดง' เลิกอ้างเยียวยาแล้วจบ

กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ จี้รัฐบาล แสดงเจตจำนง สาง'คดีตากใบ' หวั่นกระทบพูดคุยสันติสุข พร้อม เทียบ'คดีเสื้อแดง' เตือนเลิกอ้างเยียวยาแล้วจบ

ที่รัฐสภา น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ  แถลงกรณีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในคดีตากใบซึ่งเหลืออีก8วันคดีจะหมดอายุความในวันที่25ต.ค.นี้ว่า จำเลยที่ถูกออกหมายจับจนถึงวันนนี้ไม่สามารถตามตัวจำเลยมาได้แม้แต่คนเดียยว เมื่อวานนี้(16ต.ค.)กมธ.มีการประชุมและค่อนข้างที่จะกังวลตรงกัน

ทั้งนักวิชาการด้านสันติภาพ3จังหวัดชายแดนใต้ เจ้าหน้าที่รัฐ และสส.ในเขตพื้นที่ทุกฝ่ายหารือกันและเห็นตรงกันว่าคดีนี้จะเป็นคดีที่เป็นหมุดหมายสำคัญโดยเฉพาะหากคดีหมดอายุความในวันที่25ต.ค.โดยที่ไม่สามารถนำจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและไม่สามารถทำให้คดีดำเนินต่อไปได้ 

โดยเหตุนี้กมธ.จึงมีมติว่าสมควรเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาหารือกันในวันที่24ต.ค.หรือ1วันก่อนคดีจะหมดอายุความลง โดยในส่วนของการติดตามตัวผู้ถูกกล่าวหานั้นมีกมธ.กฎหมายและกมธ.ความมั่นคง ติดตามอยู่แล้ว

ในส่วนของกมธ.สันติภาพชายแดนใต้นั้นต้องการที่จะให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาล มาหารือร่วมกันว่าหากเป็นไปตามที่มีความกังวลจริงจะรับมืออย่างไร สถานการณ์จะมีความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่หรือจะมีการฉกฉวยเอาประเด็นนี้เป็นข้ออ้างในการสร้างความรุนแรงเพิ่มขึ้นในพื้นที่หรือไม่
 

ฉะนั้นกมธ.จึงมีมติให้เชิญ3ท่านมาหารือในวันที่24ต.ค.ประกอบด้วยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม  นายฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และพล.ท.พล.ต.ไพศาล หนูสังข์  แม่ทัพภาคที่4 ทั้งนี้ในการหารือคาดหวังว่าจะเดินไปข้างหน้าไม่ใช่พูดถึงแค่เรื่องคดีความ แต่จะเป็นการมองไปที่อนาคตว่าเมื่อคดีหมดอายุความจะเป็นการหาวิธีรับมือสถานการณ์ที่ดีที่สุด

โดยเฉพาะการประคับประคองการเจรจาสันติภาพที่เริ่มขึ้นมาใหม่ในรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี รวมถึงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ได้ด้วย

 ส่วนกรณีที่พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยมีการยื่นหนังสือลาสออกจากตำแหน่งสส.นั้น ในฐานะหนึ่งในกมธ.สันติสุขชายแดนใต้มองว่าเรื่องนี้มีความชขัดเจนอยู่แล้วว่าสถานะความเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิกของพล.อ.พิศาลไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับการดำเนินคดี

เนื่องจากคดีที่มีการฟ้องตรงต่อศาลสส.ที่ตกเป็นจำเลยจะไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายอยู่แล้วแม้จะมีการลาออก แต่สถานนะความเป็นจำเลยยังคงอยู่ไม่อยากให้โฟกัสเฉพาะจำเลยคนใดคนหนึ่งเพราะจำเลยทั้งหมดล้วนเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงแทบทั้งสิ้นเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลในการแสดวงเจตจำนงที่มากพอในการนำตัวผู้ต้องหามาสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้

ไม่เช่นนั้นอาจกระทบต่อการเจรจาสันติภาพว่ารัฐบาลนี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีเจตจำนงทางการเมืองมากพอหรือไม่ 
 

วันนี้จึงเป็นโอกาสสุดท้ายของรัฐบาลว่าจะมีการแสดงเจตจำจงค์อย่างเพียงพอในเรื่องนี้หรือไม่ มี2คนที่อยู่ต่างประเทศมีความพยายามเพียงพอในการเจรจาผู้นำประเทศในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่

ส่วนจำเลยที่เหลือที่ยังอยู่ในประเทศไทยมีกระบวนการอื่นๆนอกเหนือจากกระบวนการทางราชการตามปกติหรือไม่เรื่องนี้ไม่ใช่การแทรกแซงกระบวรการยุติธรรมแต่เป็นเรื่องที่ตำรวจและอัยการที่อยู่ภายใต้ฝ่ายบริหารต้องดำเนินการอยู่แล้ว จึงเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง

ส่วนที่มีการกล่าวอ้างว่าวันนี้มีการเยียวนาผู้เสียหายไปแล้วไม่สามารถดำเนินคดีทางอาญาต่อไปได้ ตนขอถามกลับว่ากรณีที่เคยมีการเยี่ยวยากลุ่มคนเสื้อแดงที่ได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม3พ.ค.53 แล้วมีการเรีกร้องว่าจะต้องมีการฟื้นคดีอาญาและนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการเป็นเรื่องเหมารวมหรือไม่เพราะเป็นกรณีเดียวกัน

การเยียวยาในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นสิ่งที่ดีถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อความสูยเสียที่เกิดขึ้น แต่การรับเงินเยียวยาไม่เกี่ยวกับการทำให้กระบวนการทางอาญาสิ้นสุดลงแม้ว่าในปี2555จะมีความพยายามให้ญาติผู้เสียชีวิตเซ็นว่าจะไม่มีการดำเนินคดีทางอาญาซึ่งเรื่องนี้ผิดหลักการ ยืนยันว่าในคดีตากใบไม่มีฐาติพี่น้องผู้เสียชีวิตคนใดเซ็นยินยอมว่ารับเงินเยีบวยาและจะไม่ดำเนินคดีการเยียวยาเดิดขึ้นเป็นส่งที่ดีแต่ไม่ได้เยวข้องกับการไม่ดำเนินคดีทางอาญา ไม่ใช่รับเงินไปแล้วต้องจบ