'นิด้าโพล' เผย เหยื่อสินค้าไม่ตรงปก เลือกร้องเรียน 'สคบ.' อันดับรอง

'นิด้าโพล' เผย เหยื่อสินค้าไม่ตรงปก เลือกร้องเรียน 'สคบ.' อันดับรอง

"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจความเป็นประชาชน กรณีเป็นผู้เสียหายจากการซื้อสินค้า 41.22% แจ้งความที่สถานีตำรวจ ขณะที่ 24.81% มองร้องสื่อฯ เรื่องคืบหน้าไว ด้าน "สคบ." เป็นตัวเลือกรอง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ใครจะคุ้มครองผู้บริโภค” สำรวจระหว่างวันที่ 15-16 ต.ค.2567 จำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าของดารา และอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คนดัง  

นิด้าโพล ถามถึงการโฆษณาสินค้าของดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของประชาชน พบว่า  42.21% ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย

รองลงมา  22.98% ระบุว่า ส่งผลมาก  19.01% ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล และ 15.80% ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล

เมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนที่มีต่อดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ใช้สินค้าจากการโฆษณาจริง พบว่า  52.29% ระบุว่า ไม่เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง

รองลงมา  22.98% ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเป็นบางครั้ง   20.53% ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเฉพาะตอนโฆษณา  3.89% ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง

\'นิด้าโพล\' เผย เหยื่อสินค้าไม่ตรงปก เลือกร้องเรียน \'สคบ.\' อันดับรอง

เมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการโฆษณาสินค้าที่มีของแถมจำนวนมาก หรือ ลดราคาเยอะ ๆ พบว่า  34.12% ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า คุณภาพสินค้าอาจไม่ดี

รองลงมา 30.23% ระบุว่า เป็นแค่วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ   23.89% ระบุว่า ไม่คิดจะซื้อสินค้าที่โฆษณาแบบนี้  19.47% ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่ามีเงื่อนไขอะไรแอบแฝงอยู่หรือเปล่า

19.24% ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า ต้นทุนสินค้าน่าจะถูกมาก  17.94% ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า สินค้านั้นอาจใกล้หมดอายุการใช้งาน  8.63% ระบุว่า จะขอเปรียบเทียบคุณภาพกับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ  

เมื่อถามถึงการร้องเรียนจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า 41.22% ระบุว่า ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ

รองลงมา 30.08% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  25.19% ระบุว่า ไม่ร้องเรียนใด ๆ

ขณะที่ 15.50% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสื่อ  12.06% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง เช่น หนุ่ม กรรชัย กัน จอมพลัง บุ๋ม ปนัดดา เป็นต้น 5.57% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวม สคบ.)   2.60% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการร้องเรียนที่ได้รับความเป็นธรรมเร็วที่สุดจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า  24.81% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสื่อ

รองลงมา 23.05% ระบุว่า ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ  15.88% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง เช่น หนุ่ม กรรชัย กัน จอมพลัง บุ๋ม ปนัดดา เป็นต้น

ขณะที่  15.80% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสคบ. และไม่ร้องเรียนใด ๆ ในสัดส่วนที่เท่ากัน 1.91% ระบุว่า ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง