‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’-กกต.ยุบพท.

‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’-กกต.ยุบพท.

‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ปี68ผลัดใบ ลุ้นคดีป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’ วาระร้อนกกต.‘คำร้อง’ ยุบเพื่อไทย ชี้ชะตาพลพรรคแดง

KEY

POINTS

  • “องค์กรอิสระ” อันถือเป็นหนึ่งใน3ดุลอำนาจ“ตรวจสอบ-ถ่วงดุล” ทางการเมือง กำลังก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านขนานใหญ่ จับตาไปที่สารพัดปมร้อนการเมืองที่ค้างคาอยู่ในองค์กรต่างๆเหล่านี้
  • อย่างที่รู้กัน ในช่วงกลางปี2567ที่ผ่านมา การเมืองไทยได้สร้างปรากฎการณ์ “สีน้ำเงิน” ปกคลุมสภาสูง ดุลอำนาจนิติบัญญัติซึ่งมีอำนาจในการสรรหา “ตุลาการ” และ “กรรมการ” ในองค์กรเหล่านี้
  • จับตาป.ป.ช.วาระร้อน “ชั้น14-44สส.ก้าวไกล” 
  • “เขากระโดง” 2ปมค้างวาระป.ป.ช.จับตาในห้วงที่ “สีน้ำเงิน” กุมอำนาจในสภาสูง แน่นอนว่า ปมร้อนที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานย่อมทิ้งไว้ซึ่งคำถามที่ว่า ที่สุดบทสรุปคดีนี้จะจบอย่างไร
  • กกต.ปมร้อนยุบเพื่อไทย ในมุมของค่างแดงแสดงความมั่นอกมั่นใจ เป็นเพียงคำร้อง “หาแสง”  แถมเตรียมฟ้องกลับบรรดานักร้องอีกด้วย ทว่าท่ามกลางเล่ห์เหลี่ยมการเมืองยังต้องจับตา 

เปิดศักราชปี“มะเส็ง”2568 เรียกได้ว่า “องค์กรอิสระ” อันถือเป็นหนึ่งใน3ดุลอำนาจ“ตรวจสอบ-ถ่วงดุล” ทางการเมือง กำลังก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านขนานใหญ่ ท่ามกลางการจับตาไปที่สารพัดปมร้อนการเมืองที่ค้างคาอยู่ในองค์กรต่างๆเหล่านี้

อย่างที่รู้กัน ในช่วงกลางปี2567ที่ผ่านมา การเมืองไทยได้สร้างปรากฎการณ์ “สีน้ำเงิน” ปกคลุมสภาสูง ดุลอำนาจนิติบัญญัติซึ่งมีอำนาจในการสรรหา “ตุลาการ” และ “กรรมการ” ในองค์กรเหล่านี้

ฉะนั้นในมิติการเมือง ในยามที่ต่างฝ่ายต่างถือดุลอำนาจอยู่ในมือคนละสภา “พรรคเพื่อไทย” ในฐานะแกนนำรัฐบาลถืออำนาจบริหาร และสภาล่างในฐานะพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในขั้วรัฐบาล  ขณะที่ “พรรคสีน้ำเงิน” ในฐานะพรรคอันดับสองในขั้วรัฐบาล ถืออำนาจสภาสูง

แน่นอนว่า ท่ามกลางปมร้อนที่ค้างคาในองค์กรเหล่านี้บางเรื่องอาจถึงขั้นชี้เป็นชี้ตายอนาคตทางการเมือง เป็นเช่นนี้ย่อมส่งผลไปถึงแรงต่อรองที่มีมากขึ้นตามไปด้วย 

‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’-กกต.ยุบพท.

เช็กวาระในแต่ละองค์กร ไล่ตั้งแต่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีตุลาการ 2 คนจากทั้งหมด 9 คน จะ “ครบวาระ” ไปเมื่อเดือน พ.ย.2567 ที่ผ่านมาคือ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสรรหาบุคคลของวุฒิสภา

ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลือ คืออุดม สิทธิวิรัชธรรม วิรุฬห์ แสงเทียน จิรนิติ หะวานนท์ นภดล เทพพิทักษ์  บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ครบวาระปี2570

ขณะที่ อุดม รัฐอมฤตพ้นวาระเดือนม.ค.2573 และสุเมธ รอยกุลเจริญ พ้นวาระมี.ค.2574

ต้องจับตาวาระร้อนที่ค้างคา รวมถึงจ่อคิวเข้าวาระศาลรัฐธรรมนญญ  โดยเฉพาะเส้นทางแก้รัฐธรรมนูญของบรรดาพรรคการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ 

ว่ากันว่า มีการจับตาไปที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และหมวด 15/1 ที่ “พริษฐ์ วัชรสินธุ์” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เป็นผู้เสนอ ซึ่งหมายรวมไปถึงการแก้ไขมาตรา1และ2 ที่สุ่มเสี่ยงต่อการยื่นตีความ ในประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเห็นชัดหลังผ่านขั้นตอนทางสภาฯ

‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’-กกต.ยุบพท.

 

 ป.ป.ช.วาระร้อน “ชั้น14-44สส.ก้าวไกล” 

ถัดมา คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มี 3 คน ที่ “ครบวาระ” ไปเมื่อเดือนธ.ค.2567 ที่ผ่านมา คือ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานป.ป.ช .สุวณา สุวรรณจูฑะ และ วิทยา อาคมพิทักษ์  ขณะนี้อยู่ในกระบวนการสรรหาของสว. 

นอกจากนี้ อีกยังมีอีก1คนขณะนี้อยู่ระหว่างการสรรหาของวุฒิสภา หลังสว.ชุดเก่า“ไม่ให้ความเห็นชอบ”พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น.ดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช.ไปเมื่อช่วงเดือนก.พ.2567 ก่อนที่เจ้าตัวจะเข้ารับการสรรหาโดยสว.ชุดใหม่รอบสอง เมื่อช่วงเดือนพ.ย.2567ที่ผ่านมา 

ขณะเดียวกัน ยังมีกรรมการ ป.ป.ช.ที่เพิ่ง“รับตำแหน่ง”ในปี 2567 และจะพ้นตำแหน่งปี2574 ประกอบด้วย  เอกวิทย์ วัชชวัลคุ แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์  ภัทรศักดิ์ วรรณแสง  และ พศวัจณ์ กนกนาถ 

ส่วน สุชาติ ตระกูลเกษมสุข รับตำแหน่งไปตั้งปต่เมื่อปี2563 จะครบวาระในเดือน ก.ค.2570

ต้องจับตาวาระที่ค้างคาอยู่ในการพิจารณาของป.ป.ช.ทั้งคดีจริยธรรม "44 สส.พรรคก้าวไกล" กรณีเข้าชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากคดียุบพรรคก้าวไกลซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินไปก่อนหน้านี้ 

ว่ากันว่า คดีดังกล่าวป.ป.ช.จะชี้เป็นชี้ตายในปี 2568นี้

‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’-กกต.ยุบพท.

นอกจากนี้ยังมีคดี “ปริศนาชั้น14”  ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน  กรณีการส่งตัว “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีรักษาตัวที่ชั้น14รพ.ตำรวจ 

จนถึงเวลานี้ยังทิ้งไว้ซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ประเด็น “ซูเปอร์วีไอพี” ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นขยี้แผลรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ไม่เว้นแต่ละวัน 

‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’-กกต.ยุบพท.

 “เขากระโดง” ยืดเยื้อ2ปมค้างวาระป.ป.ช.

อีกหนึ่งคดีที่ต้องไม่ลืมคือ “คดีเขากระโดง”  ที่ค้างคาอยู่ในป.ป.ช.มาเนิ่นนาน  ตั้งแต่ยุคที่พรรคเพื่อไทยเป็นฝ่านค้านในรัฐบาลชุดที่แล้ว 

หลังเสร็จสิ้นศึกซักฟอกในเดือน ก.ย.2565 “พรรคร่วมฝ่ายค้าน” เวลานั้นมีทั้งพรรคเพื่อไทย รวมถึงพรรคก้าวไกล ที่เวลานี้กลายสภาพเป็นพรรคประชาชน ได้เข้าชื่อยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ไต่สวน“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”รมว.คมนาคม และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย น้องชายครูใหญ่เนวิน ชิดชอบ จำนวน 3 เรื่องซึ่งจำนวนนี้มีคำร้องเกี่ยวกับกรณีเขากระโดง 2 เรื่อง และคดีซุกหุ้น1เรื่อง ประกอบด้วย

1.กรณีฝ่าฝืนมาตรฐาน“จริยธรรมอย่างร้ายแรง” ที่ยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐกรณีการครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมืองบุรีรัมย์จ.บุรีรัมย์ ให้ ป.ป.ช .ไต่สวนส่งเรื่องให้ศาลฎีกา เหมือนกรณีปารีณา ไกรคุปต์ อดีต สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ และกนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีต รมช.ศึกษาธิการ

 2.กรณีปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ยึดถือ ครอบครองที่ดินรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีการครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง

และ 3.กรณีปกปิดและแจ้งทรัพย์สินในการเข้าดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคม ต่อ ป.ป.ช อันเป็นเท็จ กล่าวหาศักดิ์สยาม แจ้งบัญชีทรัพย์สินเกี่ยวกับบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ (1991) จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) บุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น อาจไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ส่อเจตนาปกปิดทรัพย์สิน และมีพฤติกรรมน่าเชื่อว่า ใช้อำนาจหน้าที่ รมว.คมนาคม เอื้อประโยชน์ให้กับ หจก.บุรีเจริญ ตอนสตรัคชั่น เข้าทำสัญญากับกระทรวงคมนาคม

ต้องจับตาภายใต้อำนาจต่อรองที่ต่างฝ่ายต่างถือในมือจนถึงนาทีนี้ โดยเฉพาะในห้วงที่ “สีน้ำเงิน” กุมอำนาจในสภาสูง มีอำนาจในการสรรหรกรรมการในองค์กรอิสระด้วยแล้ว แน่นอนว่า ปมร้อนที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานย่อมทิ้งไว้ซึ่งคำถามที่ว่า ที่สุดบทสรุปคดีนี้จะจบอย่างไร

‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’-กกต.ยุบพท.

 วาระร้อนกกต.จับตาคำร้องยุบพท. 

ขณะที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จะมีกรรมการที่จะครบวาระ ในปี 2568 ทั้งสิ้น5 คน จากทั้งหมด 7 คนแบ่งเป็น3 คนครบวาระในเดือนส.ค.2568ประกอบด้วย อิทธิพร บุญประคอง ประธาน กก ต.สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ ปกรณ์ มหรรณพ

อีก 2 คน จะครบวาระในเดือนธ.ค.2568ประกอบด้วย เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ  ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ ส่วนกกต.ที่เหลืออีก7คน คือ 

ชาย นครชัย  ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566 จะหมดวาระในช่วงเดือนต.ค. 2573  ขณะที่ สิทธิโชติ อินทรวิเศษ ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่19 มี.ค.2567 หมดวาระในเดือนมี.ค. 2574

แน่นอนว่าการเปลี่ยนผ่านของกกต.ตั้ง5คน ต้องจับตาไปที่ปมร้อน โดยเฉพาะ “คดียุบพรรคเพื่อไทย” ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนต.ค.2567 ที่ผ่านมา กกต.สั่งรวบรวมข้อเท็จจริง-พยานหลักฐาน ที่มีผู้ร้องเรียน 4 ราย ได้แก่ บุคคลนิรนาม วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี  เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และ นพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบชาว 2006  ซึ่งยื่นคำร้องอ้างถึงพฤติการณ์ของ "ทักษิณ ชินวัตร"  นายใหญ่พรรคเพื่อไทย  

ทั้งกรณีที่แกนนำ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมไปร่วมประชุมกับ "ทักษิณ" ที่ บ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อพิจารณาเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลง

นอกจากนี้ยังอ้างถึงการให้สัมภาษณ์ของ  "ทักษิณ"  หลายครั้ง เกี่ยวกับการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล การชี้นำพรรคเพื่อไทยในการเลือกพรรคร่วมรัฐบาล  การนำวิสัยทัศน์ที่ "ทักษิณ" ที่แสดงไว้เมื่อวันที่ 22 ส.ค.มาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล

 โดยอาจเข้าข่ายขัดมาตรา 29 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการใดอันเป็นการควบคุมครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งจะเป็นเหตุให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเสนอต่อ กกต.ให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคตามมาตรา 92 (3) ของกฎหมายเดียวกันได้

‘องค์กรอิสระ’จังหวะรุกฆาต ป.ป.ช. ‘44สส.ก้าวไกล-ชั้น14-เขากระโดง’-กกต.ยุบพท.

แน่นอนว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับคำร้องของ "ธีรยุทธ สุวรรณเกษร"  ทนายความอิสระ ที่ยื่นขอให้ศาลสั่ง "ทักษิณ"  และพรรคเพื่อไทย เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ รวมถึงกรณีการครอบงำพรรคเพื่อไทย ที่จะนำไปสู่การยุบพรรคในภายภาคหน้า 

 ส่งผลให้กรณีดังกล่าวถูกนำมาเทียบเคียง กับคำร้องที่ “4นักร้อง” ใช้ช่องทางยื่นต่อกกต. ในมุมของพรรคเพื่อไทยแสดงความมั่นอกมั่นใจ ถึงขั้นเย้ยหยันว่า เป็นเพียงคำร้อง “หาแสง”  ไม่นำไปสู่การยุบพรรค แถมเตรียมฟ้องกลับบรรดานักร้องอีกด้วย 

ทว่าท่ามกลางเล่ห์เหลี่ยมการเมือง จากสารพัดนิติสงคราม ที่รอจังหวะเอาคืนพรรคเพื่อไทย ไม่ต่างจากสารพัดเกมต่อรองการเมืองที่เกิดขึ้น เอาเข้าจริงอาจยังมีหมากอีกหลายตัวที่รอจังหวะรุกฆาต 

ถัดมาในส่วนของ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 6 คนจะ“ครบวาระ”ในเดือนก.ย.2567ประกอบด้วย พล.อ.ชนะทัพ อินทามระประธานคตง. ยุพิน ชลานนท์ นิวัฒน์พิมล ธรรมพิทักษ์ พงษ์จินดา มหัทธนวัฒน์ สรรเสริญ พลเจียก อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป

ขณะที่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีกรรมการที่จะครบวาระ 1 คน จากทั้งหมด 3 คนคือสมศักดิ์ สุวรรณสุจริตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน จะครบวาระในเดือนพ.ย.2568

แน่นอนว่า หลังการเปลี่ยนผ่าน “ดุลอำนาจสภาสูง” ที่ถูกปกคลุมด้วยสีน้ำเงินเต็มสภากว่า 160 เสียง ในจังหวะเดียวกันกับที่องค์กรอิสระกำลังเข้าสู่ฤดูกาลผลัดใบ ไม่ต่างจากบรรดาคดีความของ“บิ๊กเนมการเมือง”ที่คั่งค้างอยู่ในองค์กรต่างๆ เหล่านี้ บางคดีถึงขั้น“ชี้เป็นชี้ตายทางการเมือง”

ยังเป็นจังหวะเดียวกันกับที่ต่างฝ่ายต่างงัดทุกกระบวนท่าเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบให้ได้มากที่สุด!