'จักรภพ' ควงหวานใจเข้าพบ'ทักษิณ' รับบรรยากาศ 'สมรสเท่าทียม'ดีเดย์23ม.ค.นี้
'จักรภพ' ควงหวานใจเข้าพบ'ทักษิณ' ขอคำปรึกษา รับบรรยากาศสมรสเท่าทียม มีผล23ม.ค.นี้ เปิดเกณฑ์คู่สมรส รับสิทธิ "สมรส-แต่งงาน-ดูแลคู่ชีวิต-หย่าร้าง"
เฟซบุ๊คนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตนักเคลื่อนไหวการเมือง โพสต์ภาพระหว่างเข้าพบนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมเขียนแคปชั่นว่า
ป๊อบกับเอก-จักรภพ ขอคำปรึกษาจากท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย ดร. ทักษิณ ชินวัตร เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสและการฉลองแต่งงานของเรา ท่านน่ารักมาก เมตตาเต็มที่ ให้คำปรึกษาอย่างผู้ใหญ่ในครอบครัวทั้งในเรื่องวัน เวลา รูปแบบ แม้แต่ฤกษ์ผานาที และเล่าเรื่องของบ้านเมืองและการเผชิญภัยของรัฐบาลอยู่นาน บ้านจันทร์ส่องหล้า มีชีวิตชีวาขึ้นเยอะเมื่อมีท่านกลับมาเป็นเสาหลักให้กับทุกคนอย่างนี้
3 มกราคม 2568
สำหรับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อของ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ม.ค.นี้
โดยให้สิทธิสำหรับคู่รักอาทิ สิทธิการได้ดูแลชีวิตของคู่รักของตน จากเดิมจะได้รับสถานะทางกฎหมายที่มีความเชื่อมโยงกันเหมือนญาติ โดยไม่รองรับการแต่งงานของ กลุ่มหลากหลายทางเพศ แม้จะอยู่ด้วยกันมาอย่างยาวนาน
โดยกฎหมายใหม่จะให้สิทธิอาทิ การดูแลตัดสินใจเรื่องทางการแพทย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกรักษาพยาบาล การตัดสินใจสำคัญทางการแพทย์ในกรณีที่คน ๆ นั้นไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ หรือกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายก็จะมีสิทธิในการจัดการศพได้ด้วยนั่นเอง
นอกจากนี้ตามกฎหมายฉบับนี้ ให้สิทธิการหมั้น การจดทะเบียนสมรส รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส รวมไปถึงการเป็นตัวแทนทางกฎหมาย สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม และสิทธิได้รับประโยชน์จากสวัสดิการจากรัฐ
ขณะเดียวกัน สิทธิในการบุตรบุญธรรม พรบ.สมรสเท่าเทียม ฉบับนี้ "คู่รัก" สามารถเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ทั้งนี้ ผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
รวมถึงสิทธิในการหย่าร้าง สิทธิในการฟ้องหย่า สิทธิในการฟ้องร้องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สิทธิการเลี้ยงดูบุตร การเรียกค่าเลี้ยงชีพตามแต่กรณีการหย่าร้างที่เกิดขึ้น และสิทธิในสินสมรส เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม
1. บุคคลทั้งสองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ กรณีผู้เยาว์ต้องนำบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
กรณีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
5. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
6. หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อสิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
- คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
- ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
- สมรสกับคู่สมรสเดิม
- บุคคลที่มีอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
- มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์