'วิโรจน์'มองจ่ายเงินแทน'เกณฑ์ทหาร' แก้ผิดจุด ยกข้อเสนอTDRIโจทย์ใหญ่ลดจำนวน

'วิโรจน์'มองจ่ายเงินแทน'เกณฑ์ทหาร' แก้ผิดจุด ยกข้อเสนอTDRIโจทย์ใหญ่ลดจำนวน

'วิโรจน์' ในฐานะประธานกมธ.ทหาร มองแนวคิดจ่ายเงิน แลกไม่ต้อง'เกณฑ์ทหาร' แก้ผิดจุด เปิดช่องคอรัปชั่นให้ถูกกฎหมายยกข้อเสนอTDRI เคยลดจำนวนพลทหาร เหลือ5หมื่นนาย ดึงเทคโนโลยีทดแทน

ที่รัฐสภานายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.ท.ทวีพูล ริมสาคร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) ออกมาเปิดเผยถึงแนวคิดเกี่ยวกับการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนการเกณฑ์ทหารว่า ส่วนตัวเชื่อว่า คงเป็นการสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการสมัครเข้ารับการเกณฑ์ทหาร แต่ท่านยังคิดอยู่ในกรอบว่ากำลังพลต้องเท่าเดิม  

ส่วนตัวคิดว่าบันไดขั้นแรกที่เราต้องทำคือ จำนวนทหารกองประจำการในแต่ละปีควรมีความชัดเจนว่าควรจะเป็นเท่าไหร่จึงจะสอดรับกับบริบทของโลกยุคใหม่และภัยความมั่นคงที่เกิดขึ้น รวมถึงการผสมผสานการใช้เทคโนโลยีสมัยให้มีความทันสมัย

ซึ่งเรื่องนี้TDRI เคยเสนอว่าควรจะลดลงครึ่งหนึ่งหรือประมาณ5หมื่นนาย โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาทดแทน แต่วันนี้ท่านยังคิดถึงจำนวน9หมื่นนาย และคิดว่าจะหาเงินจากที่ไหนมาทดแทน
 

นายวิโรจน์ ยังกล่าวว่า ตนเดาวิธีคิดของ พล.ท.ทวีพูล มองว่าทุกวันนี้คนรวยที่ไม่อยากเกณฑ์ทหารเขาก็จ่ายเงินอยู่แล้ว แต่เป็นการจ่ายแบบผิดกฎหมายต่อครั้งอยู่ที่ประมาณ5หมื่นบาท คิดเป็นแต่ละปีประมาณ2พันล้าน อีกส่วนคือผู้ที่จับได้ใบแดงข้ากรมทหารไปแล้วแต่อยากกลับบ้านก็จะยกเงินเดือน ค่าประกอบเลี้ยงให้นาย จำนวนนี้คิดเป็นเงินประมาณ2พันล้านต่อปี รวมกันเป็น4พันล้านบาทต่อปี ท่านก็คงคิดว่าจะเอาเงินที่อยู่ใต้ดินขึ้นมาบนดิน  

ยืนยันว่าวิธีคิดแบบนี้เป็นวิธีคิดที่ผิด เรื่องนี้ไม่ใช้เรื่องอบายมุข หรือเอ็นเตอร์เทนเมนคอมเพล็กซ์ ที่จะทำให้เรื่องโกงกิน การทุจริตคอรัปชั่นให้ถูกกฎหมายได้

"ทุกวันนี้เรื่องมีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยเกิดขึ้นก็เป็นปกติวิสัย ที่ผ่านมาเรื่องคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องดำมืดที่แอบทำ แต่หากเป็นไปในแนวทางตามที่ท่านผบ.นรด.ว่า จะเป็นการเด่นชัดแต่เดิมเราเคยพูดว่าคุกมีไว้ขังคนจนคราวนี้ก็ะกลายเป็นว่าค่ายทหารก็มีไว้สำหรับคนจนเหมือนกัน"
 

นายวิโรจน์ ยังกล่าวว่า สิ่งที่จะต้องคิดคือ หน้าที่ในการป้องกันประเทศไม่ใช่เรื่องของคนจนหรือคนรวย แต่ต้องคิดว่าหน้าที่ของพลทหารที่จำเป็นจริงๆไม่ต้องไปอยู่บ้านนาย ไม่ต้องโอนเงินเดือนให้นาย ไม่ต้องคิดถึงการจ่ายเงินเพื่อไม่ให้เป็นทหาร แต่ควรคิดถึงความจำเป็นว่าควรมีจำนวนกี่นาย ตรงนี้จะแก้ไขปัญหาเรื่องงบประมาณได้และเราค่อยมาคิดถึงแหล่งงบประมาณต่อไป

วันนี้เรายังไม่มีความจริงจังในการดูแลสวัสดิการโดยเฉพาะการบังคับใช้พร.บ.อุ้มหาย รวมถึงการดำเนินการกับผู้บังคับบัญชาอย่างจริงจัง ฉะนั้นเบื้องต้นที่ควรทำคือการให้หลักประกันเหล่านี้ก่อน แม้จะมีการบอกว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในค่ายทหารเป็นเพียงส่วนน้อยหากนับจาก9หมื่นคน

"การตายในค่ายทหารสมมุติว่าเขาปฏิบัติภารกิจปกปองประเทศ เขาถูกคมอาวุธจากอริราชศัตรู เราก็คงเสียใจ แต่เราก็เข้าใจได้ แต่นี่เป็นการถูกทรมานทั้งกายและใจจากนายทหารที่ยศสูงกว่า แม้แต่รายเดียวก็ไม่ควรจะให้เกิดขึ้นวันนี้เราไม่เคยเห็นการลงทุน หรือบังคับคดีกับผู้บังคับบัญชาอย่างจริงจังทั้งที่เรามีพ.ร.บ.อุ้มหาย มาตราหนึ่งที่ให้เอาผิดกับผู้บังคับบัญชาได้หากมีการล่อยปะละเลยหากไม่มีมาตรการตามสมควร ที่ผ่านมาไม่เคยเห็นกระทรวงกลาโหมบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ "