'โรม'ปูดจ่ายใต้โต๊ะ ต่ออายุแรงงานข้ามชาติ หวั่นไทยสูญ1หมื่นล้าน-แหล่งฟอกเงิน

'โรม'ปูดจ่ายใต้โต๊ะ ต่ออายุแรงงานข้ามชาติ หวั่นไทยสูญ1หมื่นล้าน-แหล่งฟอกเงิน

'โรม'ปูดจ่ายใต้โต๊ะ โอนเข้าบัญชีม้า -ล็อคสเปครพ.ตรวจสุขภาพแรงงานข้ามชาติ เสี่ยงสูญเงิน 1หมื่นล้าน พร้อมยกรายงานผู้แทนพิเศษของสหประชาติ หวั่นไทยแหล่งฟอกเงิน

ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลประชุมกมธ.ซึ่งมีการพิจารณาประเด็นปัญหาปัญหาแรงงานข้ามชาติ ว่า ปัญหาการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติตามมติครม.วันที่24ก.ย.2567และแรงงานข้ามชาติที่ใบอนุญาติจะสิ้นสุดลงในวันที่13ก.พ.2568 เพื่อแก้ปัญหาการทุจริต และรักษาผลประโยชย์และความมั่นคงของประเทศซึ่งเรื่องนี้จะเกี่ยวกับแรงงานทั้งเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม จำนวน2.3ล้านคน 

ทั้งนี้กังวลว่าการจัดการแรงงานจำนวนมากจะต้องมีการจัดการขนาดใหญ่ รวมถึงค่าใช่จ่ายที่จพต้องเกิดขึ้นกับนายจ้าง ประเด็นปัญหาที่เราได้รับการร้องเรียนวันนี้คือ มีความเป็นไปได้ว่าการจัดการแรงงานกลุ่มนี้อาจมีเรื่องของการทุจริตเกิดขึ้น โยงไปถึงบัญชีม้า รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของนายจ้างที่เราไม่รู้ว่าในฝั่งประเทศเพื่อบ้านจะมีการจัดการกับข้อมูลนี้อย่างไร นำมาซึ่งความกังวลถึงการจัดการข้อมูลที่อาจตกไปอยู่ในมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รวมไปถึงคอขวดในการาจัดขึ้นทะเบียนแรงงานที่อาจจะต้องผ่านกระบวนการประเทศเพื่อนบ้านก่อน 
 

ประธานกมธ.ความมั่นคง ยังกล่าวว่า หนึ่งในขั้นตอนที่ต้องดำเนินการคือแม้จะมียื่นออนไลน์แต่จะต้องได้รับการอนุมัติจากทางรัฐบาลเมียนมา

ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการร้องเรียนจากนายจ้างว่าต้องมีการจ่ายใต้โต๊ะผ่านบัญชีม้า ซึ่งมีเลขบัญชีปรากฎ หลังจากนี้คงจะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป ทั้งนี้หากเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับเบ็ดเสร็จประเทศไทยจะส่งเงินให้กับรัฐบาลเมียนมาเป็นจำนวนสูงเกือบ1หมื่นล้านบาทในเรื่องของการจัดการแรงงานครั้งนี้

นอกจากนี้หากยังจำกันได้ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานของนาย ทอม แอนดรูว์ ผู้แทนพิเศษของสหประชาติในเรื่องของเมียนมา ระบุว่าประเทศไทยคือแหล่งฟอกเงินในการไปช่วยสนับสนุนการสู้รบในประเทศเมียนมา ที่น่ากังวลคือหากยังไปเช่นนี้ต่อไป รายงานฉบับต่อไปในภาพลักษณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศก็อาจจะมีโอกาสที่ย่ำแย่อีกครั้ง

นายรังสิมันต์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนในการตรวจสุขภาพแรงงานที่มีการล็อคสเปคโรงพยาบาลที่จะใช้ในการตรวจสุขภาพเพียงแค่ 57โรงพยาบาล ขณะที่ผู้รับการตรวจมีจำนวน2.3ล้านคน คิดต่อคนเพียง0.36วินาที สิ่งที่จการคิดค่าเซ็นซึ่งจะเป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริตอีกทางหนึ่ง จึงคิดว่าเรื่องนี้ต้องมีการทบทวน เพราะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ