เปิดตัว ‘ซิน เคอ หยวน สตีล’ ผู้ผลิต ‘เหล็กข้ออ้อย’ ใช้สร้างตึก สตง.

เปิดตัว ‘ซิน เคอ หยวน สตีล’ ผู้ผลิต ‘เหล็กข้ออ้อย’ ใช้สร้างตึก สตง.

เปิดตัว “ซิน เคอ หยวน สตีล” ผู้ผลิต “เหล็กข้ออ้อย” ถูก ก.อุตฯ ตรวจสอบใช้สร้างตึก สตง. เผยปลายปี 67 เกิดเพลิงไหม้ โดนปฏิบัติการ “สุดซอย” เข้าสอบ เจอข้อบกพร่องหลายอย่าง

KEY

POINTS

  • เปิดตัว “ซิน เคอ หยวน สตีล” ผู้ผลิต “เหล็กข้ออ้อย” ถูก ก.อุตฯ ตรวจสอบใช้สร้างตึก สตง.
  • เผยปลายปี 67 บริษัทแห่งนี้เกิดเพลิงไหม้ โดนปฏิบัติการ “สุดซอย” เข้าสอบ เจอข้อบกพร่องหลายอย่าง
  • ทั้งความปลอดภัย-สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญสุดคือ การผลิตเหล็กที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดนอายัดไว้หมด
  • ผ่าเครือข่าย “ซิน เคอ

ประเด็นการติดตามตรวจสอบเหตุการณ์การก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ มูลค่ากว่า 2.1 พันล้านบาท ถล่มลงมาภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อ 28 มี.ค.68 ที่ผ่านมา เบื้องต้น กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณตึกถล่มดังกล่าว พร้อมเก็บตัวอย่างออกมาจากพื้นที่จริง 6 ประเภท พบว่า ส่วนใหญ่มาจากผู้ผลิตรายเดียวนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพจากสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย โดยคาดว่าจะรู้ผลภายในวันนี้ 

นายเอกนัฏ ให้สัมภาษณ์วันนี้ (31 มี.ค.68) ว่า หากพบว่าเหล็กที่มีปัญหามาจากผู้ผลิตรายใด ก็จะต้องสั่งให้ปิดโรงงานในทันที ไปจนถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต มอก. และจะไม่สามารถนำเหล็กไปจำหน่ายได้ และต้องเรียกคืนเหล็กทั้งหมด และจะต้องถูกดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย

รายงานข่าว ระบุว่า เหล็กที่ใช้ในการสร้างตึกของ สตง. ตามภาพสื่อที่ออกมาเป็นของ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ถือเป็นโรงงานผลิต "เหล็กข้ออ้อย" โดยก่อนหน้านี้ช่วงปลายปีที่ผ่านมา นายเอกนัฏ ได้ส่งทีมชุดตรวจการสุดซอย กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้โรงงาน บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ตั้งอยู่ที่ ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ได้พบข้อบกพร่องทั้งด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมหลายจุด โดยเฉพาะด้านการผลิตเหล็กที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จึงได้ยึดอายัดเหล็กไว้ทั้งหมด พร้อมเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ

อ่านข่าว: 'เอกนัฏ' ขู่ปิดโรงงานเหล็ก หากพบคุณภาพต่ำสร้างตึก สตง.

หากพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ตกเกณฑ์ที่สำคัญที่ส่งผลโดยตรงกับความแข็งแรงของเหล็ก จึงมอบหมายให้ชุดตรวจการสุดซอย เข้าแจ้งผลต่อบริษัท พร้อมยึดอายัดเหล็กไม่ได้มาตรฐานดังกล่าว จำนวน 2,441 ตัน มูลค่าราว 49.2 ล้านบาท และให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย

กรุงเทพธุรกิจ สืบค้นข้อมูล บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า มี "คนจีน" ถือครองหุ้นใหญ่ และร่วมถือหุ้นรายย่อยจำนวนมาก มีรายละเอียดดังนี้

บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 23 ก.พ.2554 ทุนปัจจุบัน 1,530,000,000 บาท (ราว 1.53 พันล้านบาท) วัตถุประสงค์ โรงงานผลิตเหล็ก ตั้งอยู่ที่ 170 หมู่ที่ 3 ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง มีกรรมการ 3 คน คือ นายเจี้ยนฉี เฉิน นายสู้ หลงเฉิน นายสมพัน ปันแก้ว

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ 30 เม.ย.2567 นายเจี้ยนฉี เฉิน (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 64.91% นายจิโรจน์ โรจน์รัตนวลี ถือ 10% นายวิรุฬห์ สุวรรณนทีกุล ถือ 8% นายซู่หยวน หวัง (สัญชาติจีน) ถือ 6% นายเฉา จี้เจิง (สัญชาติจีน) ถือ 3% นายอี้จี เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 3% นายจื่อเจีย เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 2% นายสันติ เกษมอมรกิจ ถือ 2% นายสู้ หลง เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.4% นายหลินฟง เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.36% นายเสี่ยว ดงจาง (สัญชาติจีน) ถือ 0.2% นายเฉิน ฉู่ฉวีน (สัญชาติจีน) ถือ 0.13%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566 มีสินทรัพย์รวม 8,634,709,541 บาท หนี้สินรวม 2,691,777,806 บาท รายได้รวม 16,328,826,064 บาท รายจ่ายรวม 15,370,452,737 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 54,137,530 บาท เสียภาษีเงินได้ 131,919,122 บาท กำไรสุทธิ 772,316,675 บาท

สำหรับ “ซิน เคอ หยวน สตีล” มีบริษัทเครือข่ายอีก 1 แห่งคือ บริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 19 ก.ค.2562 ทุนปัจจุบัน 6 พันล้านบาท วัตถุประสงค์ การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่นๆ ซึ่งมิได้จัด ประเภทไว้ในที่อื่น (Manufacture of other basic iron ตั้งอยู่ที่ 666 หมู่ที่ 2 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง กรรมการ 3 คนคือ นายสู้ หลงเฉิน นายเหลินจง เฉิน นายสมพัน ปันแก้ว

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ ม.ค.2568 เฉิน เจี้ยนฉี (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 73.63% ชวู้หยวน หวง (สัญชาติจีน) ถือ 5.12% จิโรจน์ โรจน์รัตนวลี ถือ 5% วิรุฬห์ สุวรรณนทีกุล ถือ 5% จื่อเจีย เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 2% สันติ เกษมอมรกิจ ถือ 1.67% หลี่ เล่อเซิง (สัญชาติจีน) ถือ 1% เส้า กั๋วฮุย (สัญชาติจีน) ถือ 0.87%  บริษัท ฟู่ซัน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ผลิตและจำหน่ายหินขัด หินเจียรสันติ เกษมอมรกิจ ถือหุ้นใหญ่สุด 51%) ถือ 0.83% วาริน อุ่นใจ ถือ 0.83% เลี่ยน ซิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.61% เฉิน หวั่นจวิน ถือ 0.58% หลินฟง เฉิน ถือ 0.5% สง หลี (สัญชาติจีน) ถือ 0.43% สู้ หลงเฉิน (สัญชาติจีน)  ถือ 0.42% 

สมพัน ปันแก้ว (สัญชาติลาว) ถือ 0.33% ฉู่ฉุน เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.21% เฉิน ซู่เฟิง (สัญชาติจีน) ถือ 0.18% ไป๋ เสวี่ยเฉียง (สัญชาติจีน) ถือ 0.18% เสี่ยว ดงจาง (สัญชาติจีน) ถือ 0.17% เหลินจง เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.12% เฉิน เจี้ยนเหวิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.09% หลี เสี่ยนฉุน (สัญชาติจีน) ถือ 0.08% หลี่ เจียฉง (สัญชาติจีน) ถือ 0.05% หย่งเฉียง โม้ (สัญชาติจีน) ถือ 0.04% เจียนกัว ซ่ง (สัญชาติจีน) ถือ 0.03% เสวียนควน หวัง (สัญชาติจีน) ถือ 0.03%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566 สินทรัพย์รวม 14,887,406,423 บาท หนี้สินรวม 9,196,465,411 บาท รายได้รวม 320,797,654 บาท รายจ่ายรวม 86,470,444 บาท กำไรสุทธิ 234,327,210 บาท

ขณะที่ “เฉิน เจี้ยนฉี” หรือ “เจี้ยนฉี เฉิน” ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเครือ “ซิน เคอ หยวน” ปรากฏชื่อเป็นกรรมการบริษัทอีกอย่างน้อย 3 แห่ง ได้แก่ 

1. บริษัท ซิน เส้า หยวน จำกัด วัตถุประสงค์ การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
2. บริษัท เจิ้นหวา อินเตอร์เนชั่นแนล ทัวริซึ่ม และเทรดดิ้ง จำกัด วัตถุประสงค์ จำหน่ายสินค้าประเภทยาสูบซิการ์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. บริษัท ไทยอินเตอร์สตีล จำกัด (เสร็จชำระบัญชี)

นอกจากนี้ “เฉิน เจี้ยนฉี” หรือ “เจี้ยนฉี เฉิน” ยังปรากฏข้อมูลถือหุ้นอีกอย่างน้อย 4 แห่ง ได้แก่ 

1. บริษัท เอเชีย สเตป (ไทยแลนด์) จำกัด วัตถุประสงค์ รับจ้างเย็บชุดชั้นใน (ถือ 35.39%)
2. บริษัท ซิน เส้า หยวน จำกัด วัตถุประสงค์ การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (ถือ 48%) 
3. บริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด วัตถุประสงค์ การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่นๆ ซึ่งมิได้จัด ประเภทไว้ในที่อื่น (Manufacture of other basic iron (ถือ 71.26%)
4. บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด วัตถุประสงค์ โรงงานผลิตเหล็ก (ถือ 64.91%)

อย่างไรก็ดี บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด และบริษัทในเครือข่าย ยังมิได้ถูกร้องเรียนถึงประเด็นปัญหาการใช้ “เหล็กชานอ้อย” ในการก่อสร้างอาคาร สตง.ดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐหลายฝ่าย คงต้องรอบทสรุปข้อเท็จจริงต่อไปก่อน

  • “เอกนัฏ” ขู่ปิดโรงงานเหล็ก หากพบคุณภาพต่ำสร้างตึก สตง.

ล่าสุด เมื่อ 18.00 น. วันนี้ (31 มี.ค.) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตรวจสอบอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่พังถล่ม โดยเก็บตัวอย่างเหล็ก 6 ประเภท ส่วนใหญ่มาจากผู้ผลิตรายเดียว และส่งให้สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ทั้งนี้ หากพบว่าเหล็กที่มีปัญหามาจากผู้ผลิตรายใดจะสั่งปิดโรงงานผลิตทันที รวมถึงพิจารณาเพิกถอนใบรับรอง มอก.และจะนำเหล็กไปจำหน่ายไม่ได้ โดยต้องเรียกคืนเหล็กทั้งหมดและถูกดำเนินคดี

สำหรับเหล็กเส้นที่เก็บมาจากที่เกิดเหตุและนำมาตรวจสอบคุณภาพมี 28 เส้น รวม 7 ประเภท ประกอบด้วย เหล็กข้ออ้อย ขนาด 12 มม. จำนวน 3 เส้น ,  เหล็กข้ออ้อย ขนาด 16 มม. จำนวน 3 เส้น , เหล็กข้ออ้อย ขนาด 20 มม. จำนวน 6 เส้น 

เหล็กข้ออ้อย ขนาด 25 มม. จำนวน 2 เส้น , เหล็กข้ออ้อย ขนาด 32 มม. จำนวน 7 เส้น , เหล็กเส้นกลม ขนาด 9 มม. จำนวน 2 เส้น  และลวดสลิง ขนาด 15.2 มม. จำนวน 5 เส้น 

สำหรับเหล็กที่นำไปตรวจสอบมาจาก 3 บริษัท คือ บริษัทซินเคอหยวน สตีล จำกัด (จีน) , บริษัททาทา สตีล จำกัด (อินเดีย) และบริษัท ที วาย สตีล จำกัด (บริษัทร่วมทุนไทยและจีน)

รายงานข่าวระบุว่า เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร สตง.ส่วนใหญ่ผลิตจากบริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด ซึ่งเคยถูกกระทรวงอุตสาหกรรมตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้โรงงาน และพบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยและด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านการผลิตเหล็กที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จึงได้ยึดอายัดเหล็กไว้และตรวจสอบพบไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2,441 ตัน มูลค่า 49.2 ล้านบาท และดำเนินคดีตามกฎหมาย

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์