มุมมอง2กูรูจุดแข็งจุดอ่อน ผู้สมัครผู้ว่ากทม.‏
เปิดมุมมอง 2 กูรูนักการตลาด"ปรเมศวร์-กฤตินี"วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.
เปิดมุมมอง2 กูรูนักการตลาด"ปรเมศวร์ มินศิริ" นักธุรกิจอินเทอร์เน็ตชาวไทย และเป็นผู้ก่อตั้งเว็บสนุกดอตคอมและกระปุกดอทคอม และ "ผศ.กฤตินี ณัฐวุฒิสิทธิ์" อาจารย์ภาคการตลาดสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามา วิเคราะห์ เจาะลึก ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ของผู้สมัครผู้ว่า กทม. ผ่านรายการ"บิสเนสทอล์ค"เจาะลึกแคมเปญศึกชิงผู้ว่า กทม. ทางกรุงเทพธุรกิจทีวี
ผศ. กฤตินี กล่าวว่า ที่ผ่านมทา มาเก็ตติ้ง ของผู้สมัครผู้ว่า กทม. มองออกเป็น2ส่วนคือคอนเทนกับพรีเซนเทชั่นชซึ่งผู้สมัครแต่ละท่านให้ความสำคัญกับ พรีเซนเทชั่นสูงมาก ทั้ง วิธีการท่าทางการเดินการทำสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งมันเข้ามาบดบังเนื้อหาในการที่จะสื่อไปถึงประชาชน ซึ่งในบางครั้ง ก็เหมือนดูโฆษณา คือที่เราเห็น คนที่เดินแจกใบปลิว คนที่มาเดินยกมือไหว้ ขับรถขยะ แท้ที่จริงแล้วเขาเป็นคนอย่างไร
ส่วนตัวชอบเนื้อหา.ร.ว.สุขุมพันธุ์ คือชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจในประเด็นปัญหา เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ ส่วน วิธีการนำเสนอ พรีเซนเทชั่นส่วนตัวชอบ คุณ สุหฤทธ เพราะทุกอย่างอยู่ในแพคเก็จเดียวกันหมด ซึ่งเป็นความครีเอท ที่เข้ามาตอบโจทย์นโยบายของเขาได้ทั้งหมด นายปรเมศ กล่าวว่า นับจากเปืดตัวผู้สมัครมาจนวันนี้ ถ้าเปรียบเทียบดูจากนโยบาย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะเด่นที่สุด แต่ถ้าดูการพรีเซนเทชั่น ทางคุณพงศพัศจะทำได้ดีกว่า ส่วนคุณสถหฤทธถือว่ามีสีสันที่มากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน "พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ"
ผศ. กฤตินี กล่าวว่า สำหรับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญนั้นมีจุดแข็งอยู่ที่ สังกัดพรรคเพื่อไทย เพราะไปสอดคล้องกับ ผู้ว่ากทม.ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองดังนั้นอาจต้องมีการประสานการทำงานกับระดับชาติด้วย
จุดอ่อนของพล.ต.อ.พงศพัศ คือการตั้งคำถามเรื่องการทำงานของพล.ต.อ.พงศพัศ ในการทำงานด้านการเมืองถึงแม้ว่าพล.ต.อ.พงศพัศ จะเคยทำงานด้านการปราบยาเสพติด ด้านอาชญากรรม แต่ กทม. ไม่ได้มีปัญหาเพียงแค่นี้ ก็อาจมีคำถามตามมาถึงการแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ ด้วย ซึ่งประชาชน ตระหนักดีว่าปัญหาในชีวิต มีหลายมิติ ดังนั้นจึงต้องการผู้ว่า กทม.ที่เข้าใจปัญหาเชิงลึกทุกมิติ ซึ่งตรงนี้เป็นความท้าทายของ พล.ต.อ.พงศพัศ
ผศ.กฤตินี กล่าวว่า สำหรับส่วนสโลแกนสร้างอนาคตกรุงเทพอย่างไร้รอยต่อ นั้นตนมองว่าเป็นประเด็นที่ทำให้คนตั้งคำถามว่าเราต้องการความไร้รอยต่อจริงๆ หรือ เพราะการาทำงานต้องมีการตรวจสอบ
นายปรเมศวร์ กล่าวว่า หมายเลข 9 เป็นจุดแข็ง นำไปสู่สโลแกน จับมือไว้ ก้าวไปด้วยกันซึ่งก็ง่ายในแง่การตลาดส่วนข้อความที่เขาเลือกจะสร้างความต่างจากคู่แข่งได้มากเช่นทำงานกับรัฐบาลอย่างไร้รอยต่อซึ่งผู้สมัครคนอื่นๆพูดไม่ได้ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เรียกว่า ยูนิค
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง การที่ พล.ต.อ.พงศพัศ ตั้งแต่สสมัยที่ทำงานอยู่ที่ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)แคมเปญบ้านอุ่นใจซึ่งจะเคยเห็นนายกยิ่งลักษณ์กับพงษพัศได้มีการเปิดตัวอุ่นเครื่องไปก่อน ซึ่งตรงนี้จเะป็นจุดแข็ง ซึ่งท่านอื่นๆทำตามได้ยาก
ส่วนสโลแกน สร้างอนาคตกรุงเทพอย่างไร้รอยต่อ ถ้ามองในเรื่องแบรนดิ้ง ปรเมศวร์ กล่าวว่าคำๆนี้ผู้สมัครคนอื่นพูดไม่ได้
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร"
ผศ. กฤตินี กล่าวว่า จุดแข็งที่สำคัญของเขาคือจะใกล้เคียงกับโอบามา คือจะสามารถสานต่องานเดิมได้ทำให้ผู้สมัครรายอื่นไม่สามารถชนะในด้านนี้ได้ และนอกจากนี้ยังขายนโยบายในเรื่องเรื่องการเดินไปข้างหน้า ซึ่งในแง่ โอกาสคนนก็ต้องการสิ่งนี้เพราะคนไม่อยากจะหยุดแต่อยากจะก้าวไปข้างหน้า แต่ ขณะเดียวกัน จุดอ่อน คือ เราเดินต่อไปจากจุดไหน ของเดิมที่ทำมาเป็นแย่างไร ถูกใจคน แล้วหรือยัง หากของเดิมตรงใจ มาถูกทาง การก้าวต่อไปข้างหน้า ตรงนี้ก็จะชนะเลย แต่ถ้าของเดิมมีคำถามอยู่ ก็ต้องเข้าไปอธิบายให้เห็น ว่าทำมาแบบไหน แล้วจะไปทิศทางไหนต่อ ซึ่งอุปสรรคหรือความท้าทายที่เข้ามาคือ ต้องพยายาม เข้ามาชี้แจงให้เห็น เนื่องจากของเดิมมีปัจจัยภายนอก ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าสถานการณ์น้ำท่วม การชุมนุม และอื่นๆ ที่เป็นความท้าทายที่เราบอกไม้ได้ว่า การจัดการกับปัญหานั้น สะท้อนความสามารถที่แท้จริงขิงผู้ว่าหรือยัง
ผศ. กฤตินี กล่าวว่า สโลแกน รักกรุงเทพ ร่วมสร้างกรุงเทพ ยังไม่ชัดเจน ยังไม่เห็นว่ารักกรุงเทพแล้วจะนำไปสู่อะไรการร่วมสร้างกรุงเทพเกิดได้ด้วยรูปแบบไหน ความชัดเจนด้านรูปธรรมมันต้องเห็ชัดเจนได้ด้วยการสื่อสาร
นายปรเมศ กล่าวว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ นั้นจุดแข็งอยู่ที่มีฐานเสียงที่แข็งแรงใน กทม. ทั้ง สก สข บางคนพูดถึงขั้นว่า จะสามารถจัดตั้งได้ว่าจะให้ตรงนั้นตรงนี้ มีคะแนนเสียงเท่าไหร่ ส่วนจุดอ่อน ที่ตัวผู้สมัคร บางโครงการถูกตั้งข้อครหา เยอะเช่นกล้อองดัมมี่สนามฟุตซอลซึ่งท่าน็้มีคำตอบแต่จะถูกหยิบมาเป็นนประเด็นตลอด
นายปรเมศวร์กล่าวต่อว่า ส่วนสโลแกน รักกรุงเทพ ร่วมสร้างกรุงเทพนั้นมันเป็นนามธรรม ซึ่งจับต้องไม่ได้ ครั้งนี้ต้องมาถามให้ ชัดเจนจากผู้สมัคร ว่าอะไรที่เราจับต้องได้จริง
นายปรเมศวร์ กล่าวอีกว่า สำหรับสโลแกน นั้นทาง พล.ต.อ.พงศพัศสามารถใช้สโลแกนที่สื่อสารได้ชัดเจนกว่า แต่ข้อเสียคือ รายละเอียดในป้ายมีมาก ทำให้บริโภคไม่ทันตอนขับรถผ่าน แต่ที่น่าสังเกตคือ ในการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพครั้งนี้ธีมสีที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยใช้นั้นดูจะเป็นธีมที่อ่อนลงมา ตรงนี้ก็เป็นที่น่าสังเกต
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส"
ผศ. กฤตินี กล่าวว่า จุดแข็งของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส. นั้น มีประวัติที่มีความน่าเชื่อถือ และฉายา วีรบุรุษนาแก ถือเป็นจุดแข็งที่จะนำมาต่อยอดได้ซึ่งคนกรุงเทพพยายามมองหาคนที่จริงจังที่จะเข้ามาแก้ปัญหาให้คน กทม.
ผศ. กฤตินี กล่าวต่อว่า แต่จุดอ่อนคือ คือ ประสบการการทำงานด้านการเมือง และความเชื่อมต่อในการทำงาน กับทางหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึง ความเข้าใจย่างแท้จริงในการแก้ปัญหาในกรุงเทพ
นายปรเมศร์ กล่าวว่า จุดแข็งของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ คือ กลุ่มเพื่อนเสรี ซึ่งพล.ต.อ.เสรีพิศุทธจะมีทีมที่ศรัทธาและแข็งขันมาช่วย ในการหาเสียง ประกอบกับความเป็นคนจริง มีบุคลิกที่จริงจัง เป็นตงฉิน และสังคมอยากเห็นคนไม่ทุจริต คนโปร่งใส แต่ในความมีบุคลิกที่จริงจังนั้น อาจมองเป็นจุดอ่อนได้เหมือนกัน ถ้าการทำงานที่ต้องประสานกับคนอื่นยาก
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน"สุหฤท สยามวาลา"
ผศ.กฤตินี กล่าวว่า สำหรับสุหฤทนั้นมีความน่าสนุกในการติดตามในฐานนะนักการตลาดเพราะกระบวนการทำงานของสุหฤทสะท้อนแนวคิดของนักการตลาดที่ชัดเจนเขามีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดคือกลุ่มคนรุ่นใหมคือกลุ่มคนที่เพิ่งมีสิทธิ์ในการโหวตไปจนถึงกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆซึ่งสุหฤทธิ์สามรถเข้าไปทำความเข้าใจว่ากลุ่มนี้ต้องการอะไรต้องการความเซอร์ไพรส์ต้องการความเปลี่ยนแปลง “สุหฤท เป็นโปรดักที่ไม่เหมือนเดิม หลุดออกไปจากกรอบ ที่ จะมาเป็นผู้สมัคร ผู้ว่า ในจุดขายด้านการตลาด ต่อเนื่องไปถึงวิธีการสื่อสาร ที่เป็นแพคเก็จเดียวกัน คือเรื่อง กรีน ไม่ว่าจะเป็น ทางจักรยาน ทางเท้า การเปลี่ยนขยะเป็นสวน ซึ่ง เรื่องกรีน ถือเป็นความต้องการของคนรุ่นใหม่”
ผศ. กฤตินี กล่าวว่า ส่วนจุดอ่อนคือบุคลิกของสุหฤทก่อนหน้านี้อาจจะดูหลุดๆ และกลับมาพลิกโฉมให้ดูจริงจังขึ้นตอนที่เปิดตัวลงสมัครผู้ว่ากทม. แต่สุหฤทสามารถใช้จุดนี้ทำให้เป็นจุดแข็งได้ด้วยการกลับไปตั้งคำถามย้อนกลับ 7 ข้อ ว่า อะไรที่จะทำให้คุณไม่เลือก สุหฤท
ผศ. กฤตินี กล่าวต่อว่า ส่วนสโลแกน กรุงเทพสุดฤทธิ์ ร่วมกับสุหฤทสร้างเซอร์ไพรส์ คือ ใช่เลย คือความสุดโต่งอย่างหนึ่งในชีวิต และกระแทกจุดอ่อนของผู้สมัครคนอื่น ด้วยคำว่า เลือกแบบเดิม ได้กรุงเทพแบบเดิม
นายปรเมศร์ กล่าวว่า สำหรับสุหฤทถือว่า เอ็กตรีม มาก คือ เจอทั้งคนที่พูดว่า ไม่กล้าเลือก คนที่บอกว่าเลือกเลยแม้ว่าจะไม่รู้จักซึ่งถ้าเปรียบเทียบสินค้า สุหฤท ถือเป็นสินค้าที่น่าหยิบที่สุดในถาด เพราะเขาเสนอความแปลกใหม่ ซึ่งก็จะมีทั้งคนที่ชอบ และไม่ชอบ แต่ก็มีลุ้น
"มองสโลแกนสินค้าชิ้นนี้ คือถ้าไม่ชอบก็ขว้างทิ้ง แต่ ถ้าชอบก็เลือกเลย ซึ่งสุหฤทต้องกลับไปทำงานกับคนอีก51 % ที่ยังไม่ออกมาเลือกตั้ง ถ้าทำได้ เขาก็ได้"
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน"โฆษิต สุวินิจจิต"
ผศ. กฤตินี กล่าวว่า การที่คุณโฆษิตชูเรื่องนักบริการประสาน 10 ทิศ คุณโฆษิตตีโจทย์ ว่าการทำงานบริการ กทม. ต้องประสาน 24 ชั่วโมง ก็มีความเป็นไปได้สอดคล้องกับ คำว่า เมืองหลวงไม่เคยหลับ เราพูดแต่นโยบาย กลางวัน ส่งนกลางคืน เรานึกถึงไหม คุณโฆษิตพูดในเรื่องทั้งด้านบวกและลบ คือเรื่องความปลอดภัย อาชญากรรมยาเสพติด มุมมืด กับด้านบวกคือโอกาศด้านการค้า 24 ชั่วโมงเป็นการเปิดมุมมองใหม่ ที่ทำให้เราเห็นกรุงเทพอีกด้านหนึ่ง ต่างจากผู้สมัครคนอื่นๆ ที่มองกรุงเทพเป็นรูปกลมๆ ว่าเป็นเมืองน่าอยู่
นายปรเมศร์ กล่าวว่า จุดแข็งของคุณโฆษิต คือ ผู้สมัครท่านนี้เป็นอดีตผู้บริหารสถานีโทรทัศน์มาก่อน จึงใช้พื้นฐานเดิมตรงนี้เข้ามาใช้ คือ 24 ชั่วโมง ส่วน จุดอ่อนคือ กรุงเทพ ต้องการบิ๊กเนม หรือเวลโนน ส่วนคนที่ไม่คุ้น ก็มีโอกาสน้อย