12หรือ15ปีการศึกษาไทยที่รัฐควรจัด

12หรือ15ปีการศึกษาไทยที่รัฐควรจัด

12ปีหรือ15ปีการศึกษาไทยที่รัฐควรจัด คิดให้รอบคอบก่อนรับ “ร่างรธน.”

จับตาการศึกษาไทยอาจจะเดินไปสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง!!..หาก ร่าง รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.. (ฉบับก่อนลงประชามติ) ที่นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้แถลงชี้แจงไปเมื่อวันที่29มีนาคม2559ผ่านการลงประชามติรับร่าง รัฐธรรมนูญและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เพราะร่าง รัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่ ที่เขียนถึงหน้าที่ของรัฐในหมวดที่5โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในมาตรา 54 ที่ระบุว่า“รัฐ ต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”ตีความว่าร่าง รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ กำหนดให้รัฐจัดการศึกษาแค่12ปีโดยตัดส่วนของระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)และรวมถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทิ้ง!!และไปเพิ่มการจัดการศึกษาในระดับอนุบาล

ทันที ที่คำแถลงร่าง รัฐธรรมนูญฯ ก็เกิดปรากฎการณ์กลุ่มเยาวชนกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ออกมาเคลื่อนไหว “ทวงสิทธิการเรียนฟรีในระดับ ม.ปลาย” ล่าสุดนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักเรียนชั้น ม.6โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา ในฐานะเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้โพสต์จำหมายเปิดผนึกถึง มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว‘Parit Chiwarak’ในลักษณะสาธารณะ วิจารณ์การร่นสวัสดิการเรียนฟรี12ปีในร่างรัฐธรรมนูญ มาเริ่มที่อนุบาลจนถึง ม.ต้น ว่า “การให้ความสำคัญกับการดูแลพัฒนาการของเด็กช่วงอายุ2-5ปี เพื่อที่เด็กจะได้มีพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน นั้นมีความสำคัญ แต่การศึกษาในระดับชั้น ม.ปลาย และสายอาชีพก็มีความสำคัญไม่แพ้กันและควรที่จะใช้วิธีขยายระยะเวลาของสวัสดิการเรียนฟรี จาก12ปี เป็น15ปี ในรัฐธรรมนูญ และหากกลัวงบประมาณจะไม่พอ ก็ควรจะปล่อยให้รัฐบาลปกติที่เป็นตัวแทนของประชาชนตัดสินใจเองว่าจะให้“เรียนฟรี12ปี”เริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใด ไม่ใช่กงการของรัฐธรรมนูญที่จะระบุรายละเอียดขนาดนี้เลยแม้แต่น้อย”

ไม่เว้นแม้แต่..สมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ นำโดย นายคมเทพ ประภายนต์ ได้ออกมาแสดงท่าทีคัดค้าน โดยระบุชัดว่าร่าง รัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่ขัดต่อหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอันเป็นที่ยอมรับตรงกันว่าประเทศรัฐภาคีจะต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน.ข้อที่26(1)ทุก คนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับประถมศึกษาจะต้องเป็นภาคบังคับ การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพจะต้องเปิดเป็นการทั่วไป และการศึกษาระดับสูงขึ้นไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสำหรับทุกคนบนพื้น ฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม (2)การศึกษาจะต้องมุ่ง ไปสู่การพัฒนาบุคลิกภาพมนุษย์อย่างเต็มที่ และการเสริมสร้างความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพขั้นพื้นฐาน การศึกษาจะต้องส่งเสริมความเข้าใจ ขันติธรรม และมิตรภาพระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือศาสนาทั้งมวล และจะต้องส่งเสริมกิจกรรมของสหประชาชาติ เพื่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ(3)ผู้ปกครองมีสิทธิเบื้องแรกที่จะเลือกประเภทการศึกษาที่จะให้แก่บุตรของตน

สมาคมเครือข่ายฯ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า สิ่งที่ขาดหายไปในร่าง รัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่นี้ คือ“บุคคลย่อมมีสิทธิ”และ“การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ซึ่งเมื่อไปไล่เรียงในมาตราที่43ของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับพ.ศ.2540และมาตรา49ของรัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ.2550จะปรากฏทั้ง2คำนี้จริง!

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญนั้นถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพราะฉะนั้น ทุกมาตราที่บัญญัติขึ้นก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องยึดถือปฏิบัติ เฉกเช่นเรื่องที่กำหนดเรื่องการจัดการศึกษาทั้งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540และฉบับ2550ที่ปฏิบัติมากว่า20ปี ที่ผ่านมาก็เพื่อเป็นกฎหมายบังคับให้รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เด็ก ทุกคนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ แม้ที่ผ่านมาการจัดการศึกษาจะสะท้อนแต่ก็เห็นความพยายาม

คำถามคือว่า ..เมื่อ ปรากฎว่าในร่าง รัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่ตัดสิทธิเด็กม.ปลาย-ปวช.ออกไป และไปเน้นจัดการศึกษาเด็กอนุบาลถึงแค่การศึกษาภาคบังคับ หรือ ม.3แทนจะถือเป็นการริดรอนสิทธิของเด็กม.ปลาย และเด็ก ปวช.หรือไม่?

ดร.ตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและกีฬา  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) อธิบายว่า ร่าง รัฐธรรมนูญ ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาให้ฟรี มีคุณภาพเป็นเวลา12ปีเหมือนรัฐธรรมนูญฯปี2540และรัฐธรรมนูญฯปี2550เพียงแต่เริ่มนับหนึ่งตั้งแต่ก่อนวัยเรียน3ปี ป.1-6และระดับม.1-3รวมเป็น12ปี แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปี40และปี50ให้นับการเรียนฟรีตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

    แต่ในร่าง รัฐธรรมนูญ ฉบับปี2559ได้ ให้ความสำคัญกับเด็กการวัยเรียนและระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นที่ถือว่าเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนที่สุด ซึ่งเห็นด้วยเพราะเป็นการวางรากฐานเด็กตั้งแต่พื้นฐาน เป็นสิ่งที่ทำแนวทางเดียวกันทั่วโลก สำหรับเด็กม.ปลายและเด็กปวช. ในระดับนี้รัฐบาลทุกรัฐบาลมีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้อยู่แล้ว ส่วนการเรียนฟรี15ปี นั้นเป็นนโยบายของพรรคการเมืองที่สามารถกำหนดให้เรียนฟรีได้มากกว่าที่รัฐ ธรรมนูญกำหนดไว้ได้จึงไม่เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์นักเรียนนักศึกษา แต่อย่างใด

    แต่ก็มีนักวิชา การศึกษาตั้งข้อสังเกตุว่า การศึกษาเป็นเรื่องสิทธิและโอกาสซึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่ ถือเป็นการผลักดันให้เด็กออกจากระบบการศึกษามากกว่าสร้างโอกาส เพราะเหตุผลที่บอกว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ ด้อยโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ไม่เป็นความจริง  ผศ.อรรถพลอนันตวรสกุล อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าหากศึกษารายละเอียดร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเห็นได้ว่า เป็นการแบ่งเด็กออกเป็น2กลุ่มอย่างชัดเจน คือ กลุ่มเด็กที่มาจากครอบครัวรายได้ปานกลาง ไปจนถึงรวย และกลุ่มเด็กที่มาจากครอบครัวยากจนซึ่ง จะพบว่าเด็กกลุ่มครอบครัวรายได้ปานกลางไปจนถึงรวยจะมีโอกาสมากกว่า ขณะที่เด็กมาจากครอบครัวยากจนต้องถูกจำกัดตามการอุดหนุนของรัฐ และหากไม่มีการอุดหนุนไปจนถึง15ปี เด็กกลุ่มนี้ก็อาจจะเรียนจบเพียงชั้นม.3ทำให้พวกเขาขาดโอกาสทางอาชีพ และอนาคตมากขึ้น

ส่วน ที่บอกว่า ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องการส่งเสริมอุดหนุนให้เด็กอนุบาลมากขึ้น ความจริงในรัฐธรรมนูญเดิมก็มีการอุดหนุนให้แก่เด็กอนุบาลอยู่แล้ว และแม้ที่ผ่านมาจะมีการอุดหนุนรายหัว หรือการจัดเรียนฟรีให้แก่เด็กไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่6ก็ยังมีเด็กจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสนี้ได้ เพราะฉะนั้น หากลดการอุดหนุนรายหัวเหลือแค่อนุบาล-ม.3เชื่อว่าจะมีเด็กจำนวนมากขึ้นที่ไม่ได้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของคนไทยในอนาคต

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะ ช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโอกาส หรือการลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกองทุนการศึกษา ที่บอกว่าเป็นการช่วยเหลือเด็ก ก็ยังไม่เห็นความชัดเจนว่าจะช่วยเหลือเด็กอย่างไรดัง นั้น ทุกฝ่ายต้องข้อพึงระวังร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แน่ชัดว่าก่อประโยชน์ต่อ สิทธิและสร้างโอกาสให้แก่เด็กได้อย่างเท่าเทียมกันอยากให้ศึกษาข้อมูลงาน วิจัยอย่างละเอียดจะเห็นได้ว่า การอุดหนุนเรียนฟรี15ปีหรือ12ปี จะมีเด็กที่มาจากครอบครัวปานกลางหรือรวยที่เข้าสู่ระบบการศึกษาไทยได้ อยากให้ทุกฝ่ายพิจารณาให้ดีว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งผลดีต่อระบบการศึกษาจริงๆ ก่อนจะมีการรับร่าง และประกาศใช้อย่างเป็นทางการ