'ไทยศรีวิไลย์' เตรียมบุกป.ป.ช.เร่งชี้มุลทุจริต GT200
"ไทยศรีวิไลย์" เตรียมบุกป.ป.ช.เร่งชี้มุลทุจริต GT200 เจ้าหน้าที่รัฐ เล็งยื่นตรวจสอบ DLIT สพฐ.กว่า 7 พันล้านบาท-สอบ 2 บิ๊กศธ พัวพันปล่อยกู้นอกระบบให้ครู
นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เปิดเผยว่า วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 11.00 น. ตนพร้อมนายณัชพล สุพัฒนะ หรือ มาร์ค พิทบูล รองหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ พร้อมคณะจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อพลตำรวจเอก วัชรพล ประสานราชกิจ ประธานคณะกรรมป.ป.ช.ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้เร่งรัดชี้มูลความผิดคดีทุจริต GT200 หลัง กรมราชองครักษ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัทเอกชนพร้อมกรรมการ และเจ้าหน้าที่ในบริษัทรวม 5 รายเป็นจำเลยที่ 1-5 ในคดีการจัดซื้อเครื่องตรวจจับอาวุธวัตถุระเบิดและสารเสพติดรุ่น GT200 รวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 9 ล้านบาท เนื่องจากเครื่อง GT200 ไม่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้ยังมีคดีอื่น ๆ ตามมากอีกมากมาย
นายมงคลกิตต์ กล่าวว่า ทราบว่าช่วงปลายกันยายน 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับสำเนาคำพิพากษาจำคุก 7 ปี เจ้าของผลิตภัณฑ์และเอกสารประกอบจากศาลประเทศอังกฤษ แล้วนั้น ความเสียหายที่เกิดกับหน่วยงานภาครัฐทั้ง 18 หน่วยงาน วงเงิน จัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด GT200 และ Alfa6 แพงเกินจริง แล้วทำงานไม่ได้ผล ซึ่งมีการจัดซื้อหลายครั้งจากหลายหน่วยงาน กว่า 1,137 ล้านบาทความเสียหายนี้เอกชนจะมีความผิดแต่ฝ่ายเดียวคงไม่ได้ จะต้องมีเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องร่วมกันรับผิดชอบแตกต่างกัน ทั้งทางอาญา-ทางวินัย กับ เจ้าหน้าที่รัฐ ที่เกี่ยวข้องหลายคน ที่ต้องมีส่วนรับผิดขอบค่อกรณีดังกล่าว ซึ่งคดีนี้ก็คล้ายกับคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว คดีทุจริตรถดับเพลิงเรือดับเพลิง กทม.
นายมงคลกิตติ์ กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้รับเรื่องร้องเรียนอยู่ 2 เรื่อง 1.อาจจะมีการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน(สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณ ปี 2560-2562 งบประมาณกว่า 7 พันล้านบาท
2.ร้องเรียนข้าราชการระดับสูง 2 ราย สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ อาจจะพัวพันการกระทำความผิดการปล่อยเงินกู้นอกระบบให้กับครูอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฏหมายกำหนด ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริงก็จะเข้าข่ายผู้มีอิทธิพลซึ่ง คสช กำลังปราบปรามอยู่ในขณะนี้
อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกต การจัดซื้อจัดจ้างโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา-มัธยมศึกษา 1.มีผู้ยื่นราคา 3-4 เจ้า ซ้ำกัน ซื้อของมาจากแหล่งผู้ผลิตแค่ไม่กี่ราย มีการลดราคาแค่หลักร้อยเป็นไปได้อย่างไร ทั้งที่เป็นระบบ อี-บิดดิ้ง น่าจะต้องตรวจสอบ
2. มีการจัดซื้อรวมกันทั้ง ทีวี และ โน๊ตบุ๊ค เป็นราคารวมไม่สามารถแยกซื้อได้ 3.มีการล๊อคหน้าจอแสดงผลของทีวีในสเป็ค ให้แสดงผลเป็นของ สพฐ.ป้องกันขโมย ผู้รับจ้างรู้ได้ไงว่าจะได้งานเพราะต้องสั่งผลิตล่วงหน้าหลายเดือนเป็นจำนวนมาก ๆ 4.ราคากลางอาจสูงเกินจริงกว่าราคาท้องตลาด ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เข้ามาแทนที่การดำเนินนโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทย คือ โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ที่ใช้งบกว่า 8,000 ล้านบาท ณ ปัจจุบันพังหมดแล้วกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ กว่า 3 ล้านกว่าเครื่อง ดังนั้นตนก็จะดำเนินการยื่นหนังสือต่อ รมว.ศึกษาธิการ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 2 เรื่อง ให้ตรวจสอบต่อไปก่อนความเสียหายจะเกิดขึ้นต่อไป