ไขปม 'ยุบพรรค' พฤติกรรม-เจตนา?

 ไขปม 'ยุบพรรค' พฤติกรรม-เจตนา?

การแจ้งจับแกนนำพรรคฝ่ายค้าน 7 พรรค รวมถึงนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวรวม12 คน

จากกรณีเปิดเวทีเสวนาในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ ซึ่งมีการพูดถึงแก้ไข รัฐธรรมนูญมาตรา 1” ทำท่าว่าจะไม่จบแค่การแจ้งจับของกอ.รมน.ภาค 4 หรือการฟ้องกลับของ7พรรคฝ่ายค้าน

ประเด็นนี้ลามไปถึงการ “ยื่นยุบพรรค โดยมีการหยิบยกมาตรา255 แห่งรัฐธรรมนูญที่เขียนล็อกในเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไว้ว่า  การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้” 

 ไขปม \'ยุบพรรค\' พฤติกรรม-เจตนา?

ประกอบกับมาตรา 92 แห่งพ.ร.ป.พรรคการเมือง ได้ระบุ2เงื่อนไขในการยุบพรรคคือ 1.กระทําการล้มล้างการปกครองและ2.กระทําการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ

ทว่าประเด็นนี้ยังคงมีข้อถกเถียง ทั้งจากฝั่งที่เห็นว่า การกระทำดังกล่าว  เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง” อันเป็นให้มีการร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว ตามมาตรา 49แห่งรัฐธรรมนูญ และแม้จะเป็นความเห็นจากนักวิชาการ แต่7พรรคซึ่งอยู่ร่วมเวทีดังกล่าวต้องรับผิดชอบในฐานะมีส่วนรู้เห็น

 ไขปม \'ยุบพรรค\' พฤติกรรม-เจตนา?

ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งมองว่า มาตรา 34 ระบุถึงการแสดงความเห็นทางวิชาการว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ” ดังนั้นการแสดงความเห็นดังกล่าวก็ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเช่นกัน

ขณะเดียวกัน ประเด็นการยุบพรรค ในมุมมองของ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต. มองว่า เรื่องนี้ต้องตีความให้ได้ก่อนว่าเป็น ความผิดส่วนบุคคล หรือ เป็นการกระทำของพรรค  เพราะการกระทำของตัวบุคคลไม่สามารถเอามาเป็นการกระทำของพรรคโดยอัตโนมัติได้

ข้อถกเถียงต่างๆเหล่านี้คงต้องไปลุ้นกันที่การชี้ขาดจากองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างไร?

 ไขปม \'ยุบพรรค\' พฤติกรรม-เจตนา?