ทอ.เปิดแผนจัดซื้อยุทโธปกรณ์ระยะ 10 ปี
“ทอ.” เปิดแผนงบประมาณ-โครงการจัดซื้ออาวุธ 10 ปี ประเมินภัยคุกคาม มิติอากาศ-ไซเบอร์-อวกาศ ยอมรับงบฯไม่พอแต่จะบริหารให้คุ้มค่า เผยตั้งงบจัดหายุทโธปกรณ์ปี 63-66 ราว 9,120 ล้าน
เมื่อวันที่ 20 ก.พ.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทัพอากาศได้จัดทำ สมุดปกขาว พ.ศ.2563 หรือ RTAF White Paper 2020 เป็นเอกสารสื่อสารสาธารณะ จัดทำเพื่อให้ประชาชน หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของไทยรับรู้ ตระหนัก และเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ ขีดความสามารถที่ต้องการในการปฏิบัติภารกิจ และแนวทางการพัฒนา กองทัพอากาศ ตลอดจนเพื่อให้บริษัทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศรับทราบถึงความต้องการโครงการสําคัญของกองทัพอากาศ ซึ่งจะทําให้เกิดความ โปร่งใสในการวางแผนจัดหาพร้อมการพัฒนาในอนาคตโดยมีขอบเขตเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและ ความต้องการยุทโธปกรณ์หลักของกองทัพอากาศระยะปานกลางในอีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้าสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนงบประมาณโครงการเสริมสร้างกําลังรบของกองทัพอากาศ เพื่อให้มียุทโธปกรณ์ที่เพียงพอและเหมาะสม ตลอดจนมีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจเพื่อรองรับภัยคุกคามในระยะ 10 ปีข้างหน้า
เนื้อหาสําคัญ ประกอบด้วยการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ทางยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องบทบาท หน้าที่ ภารกิจ และแนวทางการใช้กําลัง โครงสร้าง ขีดความสามารถ และแนวทางการพัฒนากองทัพอากาศ แผนความต้องการและกรอบงบประมาณ เป็นเอกสารยืนยันเจตนารมณ์และพันธะสัญญาต่อสาธารณะตามรัฐธรรมนูญฯ ว่ากองทัพอากาศจะเตรียมกำลังกองทัพอากาศ และการป้องกันราชอาณาจักรพร้อมการพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญต่างๆ ตามที่รัฐบาลมอบหมาย อย่างเต็มกำลังความสามารถ แม้ในแต่ละปีรัฐบาลพยายามจัดสรรงบประมาณให้กองทัพอากาศเพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลคํานึงถึงความสมดุลกับการพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ
โดยมองสถานการณ์และความท้าทาย ภัยคุกคามในมิติทางอากาศรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น ได้แก่ การใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กในการกระทำผิดกฎหมาย หรือการติดอาวุธหรือระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในการ ซึ่งทุกประเทศต้องพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มเติมเพื่อรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว ระบบบัญชาการและควบคุม ระบบตรวจจับ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ อากาศยานไร้คนขับ และระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน
ด้านภัยคุกคามในมิติไซเบอร์ทวีจำนวน และมีระดับความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ยามปกติเป็นการบุกรุกเครือข่าย การจารกรรมข้อมูล และการโจมตีเพื่อทำลาย ที่มุ่งผลต่อเสถียรภาพและความเชื่อถือได้ของระบบเครือข่าย รวมทั้งสงครามในอนาคตจะเป็นรูปแบบสงครามลูกผสม คือการใช้กำลังผสมผสานกันในทุกมิติระหว่างสงครามตามแบบ สงครามนอกแบบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างเข้มงวด และจริงจัง ซึ่งกองทัพอากาศจำเป็นต้องพัฒนา ขีดความสามารถในมิติไซเบอร์ทั้งเชิงรุก และเชิงรับควบคู่กัน
ส่วนมิติอวกาศ การพัฒนากิจการอวกาศมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศในภาพรวม ประกอบด้วย การสังเกตการณ์ห้วงอวกาศเพื่อเฝ้าติดตามวัตถุอวกาศหรือดาวเทียม และการพัฒนาดาวเทียม ตรวจการณ์ทางอวกาศ ดาวเทียมสื่อสารและโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ ด้านความมั่นคงทั้งภายในประเทศ
“ กองทัพอากาศ ขอยืนยันว่างบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการดํารงสภาพยุทโธปกรณ์และอากาศยานซึ่งต้องดูแลตามมาตรฐานสากลทางทหาร และบำรุงรักษาเทคโนโลยีทางการบินที่มีราคาสูง อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศได้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรกำลังรบของกองทัพอากาศให้เกิดความคุ้มค่าภายใต้กรอบงบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีของประชาชนและเพื่อประชาชน”
ทั้งนี้ กองทัพอากาศต้องใช้งานยุทโธปกรณ์ที่เป็นระบบใหม่และระบบดั้งเดิมร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เช่น เฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 อายุการใช้งาน 1 ปี ในขณะที่เฮลิคอปเตอร์แบบ H-1H อายุการใช้งาน 50ปี และ แบบ Gripen 39 อายุการใช้งาน 8 ปี ในขณะที่เครื่องบิน แบบ F-16 ADF อายุการใช้งานสูงสุด 27 ปี
การปฏิบัติงานโดยใช้ยุทโธปกรณ์ทั้งใหม่และดั้งเดิมร่วมกัน เป็นความท้าทายในการบริหาร จัดการทั้งในด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุง การซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานมานาน มีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากอะไหล่หายาก มีบริษัทผลิตอะไหล่น้อย นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัด ในการใช้งานยุทโธปกรณ์เพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกัน
จากสถิติสัดส่วนงบประมาณ ของกองทัพอากาศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ตั้งแต่ ปี 53-63 พบว่ากองทัพอากาศได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 53 คิดเป็นร้อยละ 0.266 ต่อ GDP และปี 6 คิดเป็นร้อยละ 0.240 ต่อ GDP ซึ่งแม้ว่ากองทัพอากาศจะได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นในแต่ละปี แต่แนวโน้มอัตราส่วนต่อ GDP ลดลงอย่างต่อเนื่อง อนึ่ง ปี พ.ศ.2563 กระทรวงกลาโหมคาดการณ์ว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 1.13 ต่อ GDP ต่ำกว่าความต้องการงบประมาณตามยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศซึ่งกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อ GDP
เอกสารดังกล่าวยังได้แจกแจงโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ในระยะ 10 ปีอย่างชัดเจน
สำหรับปีงบประมาณ 63 ได้แก่ โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทนจำนวน 12 เครื่อง ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (63-66) วงเงิน 5,195 ล้านบาท โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50 (ระยะที่ 4) 2 เครื่อง วงเงิน 2,450 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 63-65 โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินลําเลียงขั้นต้นฝูงฝึกขั้นปลาย 4 เครื่อง วงเงิน 233 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ ปี 2563-2564
โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ (ระยะที่ 6) (mid-life Refurbish and upgradex)เรด้าร์ป้องกันภัยทางอากาศรุ่น AN/TPS -78 วงเงิน 850 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณปี 63-65 โครงการจัดหาระบบสํารวจภูมิประเทศด้านความมั่นคงด้วยเครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศ 3 เครื่อง วงเงิน 400 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณปี 63-65
ปีงบประมาณ 2564 ได้แก่ โครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ค.1 โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา (ระยะที่ 1) โครงการสร้างคลังอาวุธและจัดหาอาวุธ กระสุน วัตถุระเบิดวิกฤตของ กองทัพอากาศ (ระยะที่ 2) โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะท่ี 1) โครงการผลิตอากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศ โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกําลังบํารุงเครื่องบินขับไล่ อเนกประสงค์ บ.ข.20/ก
ปีงบประมาณ 2565 โครงการจัดหาเครื่องบินลําเลียงทดแทน F-16 จำนวน 1 ฝูงบิน (ระยะที่ 1) โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา (ระยะที่ 2) โครงการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์อากาศยานไร้คนขับ /โครงการพัฒนาขีดความสามารถสนามบินน้ำพอง - โครงการพัฒนาฐานที่ตั้งทางทหารของกองทัพอากาศ (ระยะที่ 1) โครงการจัดหาทดแทนเรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ (ระยะที่ 2) โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 2) โครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านอวกาศ
ปีงบประมาณ 2566 โครงการจัดหา บ.ขับไล่โจมตี (ระยะที่ 1) โครงการจัดหา บ.ขับไล่อเนกประสงค์ทดแทน บ.ข.18 ก/ข / โครงการจัดหา ฮ.ทดแทน โครงการจัดหาหรือผลิตระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ (ระยะที่ 1) โครงการจัดหาระบบป้องกันฐานบิน (ระยะที่ 1) โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ (ระยะที่ 7)
ปีงบประมาณ 2567 โครงการจัดหาเครื่องบินลําเลียงทดแทน (ระยะที่ 2) โครงการสร้างคลังอาวุธและจัดหาอาวุธ กระสุน วัตถุระเบิดวิกฤติของ กองทัพอากาศ (ระยะที่ 3) โครงการพัฒนาการป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารของกองทัพอากาศ (ระยะที่ 2) โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ (ระยะที่ 8) โครงการจัดหาทดแทนเรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ (ระยะที่ 3) โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 3) โครงการจัดหาเครื่องบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ
ปีงบประมาณ 2568 โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี (ระยะที่ 2) โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกฝูงบิน 604(ระยะที่ 2) โครงการจัดหาหรือผลิตระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ (ระยะที่ 2) โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ (ระยะที่ 9) ปีงบประมาณ 69 โครงการจัดหาเครื่องบินลําเลียงทดแทน (ระยะที่ 3 โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทน (ระยะที่ 1) โครงการพัฒนาการป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารของกองทัพอากาศ (ระยะที่ 3) โครงการจัดหาระบบป้องกันฐานบิน (ระยะที่ 2) โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ (ระยะที่ 10) โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์รับ-ส่งบุคคลสําาคัญปีงบประมาณ 70
โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกลําเลียงขนาดกลางทดแทน โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทน (ระยะที่ 2) โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกรับ-ส่งบุคคลสําคัญทดแทน โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 4) ปีงบประมาณ 71 โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน (ระยะที่ 1) โครงการจัดหาผลิตอากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศ ทดแทน U1 โครงการจัดหาเครื่องบินลําเลียงขนาดกลางทดแทน ปีงบประมาณ 72 โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ (ระยะที่ 11) - 2/72-A โครงการจัดหาระบบป้องกันฐานบิน (ระยะที่ 3) ปีงบประมาณ 73 โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี ทดแทน (ระยะที่ 2)