ย้อนรอย! กองทุนฉาว '1MDB' คืออะไร ทำไม 'ช่อ-พรรณิการ์' ถึงลากสู่การเมืองไทย
คลายความสงสัย กองทุน “1MDB” คืออะไร? เมื่อ "ช่อ-พรรณิการ์" หยิบขึ้นมาอภิปรายไม่ไว้วางใจฯ ในนาม "คณะอนาคตใหม่" และบอกพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีพฤติกรรมปกปิดข้อเท็จจริง กรณีอาชญากรรมทางการเงินอื้อฉาวนี้!
กองทุน 1MDB คืออะไร?
หลายคนอาจยังสงสัย โดยเฉพาะเมื่อ “1MDB” หรือ 1Malaysia Development Berhad ถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังจากเคยเป็นเรื่องราวใหญ่โตในมาเลเซีย ที่ทั่วโลกจับตา แต่วันนี้กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่โตในบ้านเรา เมื่อ ช่อ-พรรณิการ์ วานิช อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ หยิบมาพาดพิงถึงความไม่ชอบมาพากลจากความเชื่อมโยงระหว่าง รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ กับ กรณีอาชญากรรมทางการเงินสุดอื้อฉาวนี้!
พบหลักฐานที่เชื่อได้ว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีพฤติกรรมปกปิดข้อเท็จจริง กรณีอาชญากรรมทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การเปิดเผยครั้งนี้ เกิดขึ้นระหว่างการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาครั้งแรกของ "คณะอนาคตใหม่" โดยเนื้อหาของการอภิปราย มีการหยิบยกกรณี การฉ้อโกงเงินคดีอื้อฉาวทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก 1MDB (1Malaysia Development Berhad) ผ่านกองทุนแห่งรัฐ หรือ Sovereign Wealth Fund ที่ก่อตั้งโดย "นาจิบ ราซัค" และถูกเปิดโปงข้อมูลว่า มีเงินหลายแสนล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นภาษีของประชาชนชาวมาเลเซียรั่วไหลเข้าสู่กระเป๋าของผู้มีอิทธิพลทั่วโลก และฟอกเงินเป็นทรัพย์สินต่างๆ
ตอนหนึ่ง ช่อ-พรรณิการ์ ได้เอ่ยว่า กองทุนฉาวนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นพันธมิตรมืดของไทย-มาเลเซีย ซึ่งในขณะนั้นมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำรัฐบาลหลังการทำรัฐประหารปี2557
พร้อมอ้างว่า พบหลักฐานที่เขื่อได้ว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีพฤติกรรมปกปิดข้อเท็จจริงกรณีอาชญากรรมทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก!!
- 1MDB คืออะไร
มาถึงตรงนี้แล้ว.. หลายคนอาจสงสัยว่า 1MDB คืออะไร ??
เราจะพาย้อนกลับไปดูว่า 1MDB ที่ครึกโครมสนั่นโลกเมื่อปี 2558 นั้น เป็นมาอย่างไร ผ่านบทความ “หนังตื่นเต้นชื่อการเมืองมาเลเซีย” ซึ่ง ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ได้เขียนไว้ในคอลัมน์ "อาหารสมอง" ตีพิมพ์ในกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เล่าเรื่องราวสุดเข้มข้นไม่ต่างจากหนังฮอลลีวู้ด และแถมด้วยฆาตกรรมผู้หญิงท้อง โดยเราขอสรุปความโดยสังเขป ดังนี้..
เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นหลังจาก หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ลงข่าวช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2558 ว่า ผู้ตรวจสอบของมาเลเซียได้พบว่ามีเงินไหลจากกองทุนที่มีชื่อว่า 1MDB (1Malaysia Development Berhad) จำนวน 700 ล้านดอลลาร์ เข้าบัญชีส่วนตัวของ “นาจิบ ราซัค” ที่ตอนนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นหลังจาก หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ลงข่าวช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2558 ว่า ผู้ตรวจสอบของมาเลเซียได้พบว่ามีเงินไหลจากกองทุนที่มีชื่อว่า 1MDB (1Malaysia Development Berhad) จำนวน 700 ล้านดอลลาร์ เข้าบัญชีส่วนตัวของ “นาจิบ ราซัค” ที่ตอนนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลักฐานจากการสอบสวนว่า นาจิบเกี่ยวพันโดยตรงกับกองทุนนี้ สอดคล้องกับข้อสงสัยที่มีมานานพอควร ซึ่งบุคคลที่ออกมากล่าวหา คือ มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่ออกมาตำหนินาจิบ พร้อมด้วย พรรครัฐบาล (UMNO) และรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องคอร์รัปชันจากกองทุนนี้
กองทุน 1MDB ตั้งโดย “นาจิบ ราซัค” ในปี 2008 โดยใช้เงินรัฐบาลเมื่อตอนเขาเป็น “รองนายกรัฐมนตรี” เพื่ออำนวยให้เกิดการลงทุนในตะวันออกกลาง
หลังจากตั้งไม่นานก็ก่อหนี้มูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อซื้อทรัพย์สินในด้านพลังงานและอสังหาริมทรัพย์ แต่แผนการที่จะขายหุ้นพลังงานกลับล้มเหลว กองทุนก็ประสบปัญหาในการชำระหนี้ จนต้องเปลี่ยนผู้ตรวจสอบบัญชีอย่างน้อย 2 ครั้ง
เมื่อมีการเปิดเผยการดำเนินงานของ 1MDB ประชาชนก็เห็นความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของธุรกรรมของกองทุน สังเกตเห็นได้ว่า กองทุนมักจ่ายเงินซื้อทรัพย์สินจากบริษัทเอกชนในราคาที่สูงเกินจริง และบริษัทเหล่านี้ ต่อมาบริจาคเงินให้การกุศลอีกที โดยมีนายนาจิบเป็นหัวเรือใหญ่ของกองทุนการกุศล ในช่วงเวลาก่อนหน้าเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหญ่ในบางรัฐในปี 2013
เมื่อมีการเปิดเผยการดำเนินงานของ 1MDB ประชาชนก็เห็นความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของธุรกรรมของกองทุน สังเกตเห็นได้ว่า กองทุนมักจ่ายเงินซื้อทรัพย์สินจากบริษัทเอกชนในราคาที่สูงเกินจริง และบริษัทเหล่านี้ ต่อมาบริจาคเงินให้การกุศลอีกที โดยมีนายนาจิบเป็นหัวเรือใหญ่ของกองทุนการกุศล ในช่วงเวลาก่อนหน้าเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหญ่ในบางรัฐในปี 2013
ผู้ร้ายของเรื่องนี้คือ นายโจ โลว์ (Jho Low) หนุ่มนักต่อรองผลประโยชน์ธุรกิจตัวยง และเป็นเพื่อนของลูกเลี้ยงนายนาจิบ
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง : ‘โจ โลว์’ จอมบงการ ‘1MDB’ เคยโผล่ ‘อู่ฮั่น’
โดยอีเมลที่รั่วออกมาระบุว่า เขากู้ยืมเงินก้อนใหญ่โดยใช้บริการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐ โดยไม่มีการอนุมัติจากธนาคารกลาง ยิ่งไปกว่านั้นเขามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานร่วมลงทุนของกองทุนกับบริษัทน่าสงสัยใน ABU Dhubi จนกองทุนสูญเงินไป 2,500 ล้านดอลลาร์
กองทุน 1MDB อื้อฉาวในหลายเรื่อง เกี่ยวกับการใช้เงินกองทุนในลักษณะซื้อทรัพย์สินจากเพื่อนเศรษฐีที่คุ้นเคย ผู้บริหารกองทุนในราคาแพง แต่เวลาขายกลับขายราคาถูกจนหนี้ท่วมกองทุน นอกจากนี้ ยังยักย้ายถ่ายเทเงินแบบซ่อนเงื่อนเข้าบัญชีนายนาจิบอีกด้วย
อื้อฉาวเรื่องเงินทองไม่พอ คดีเก่าที่ค้างคาใจคนมานาน ก็เริ่มมีการขุดคุ้ยขึ้นมาอีก เพื่อเล่นงานนายนาจิบ โดยเรื่องก็มีอยู่ว่าในปลายปี ค.ศ.2006 มีล่ามแสนสวยชาวมองโกเลียถูกฆ่าอย่างทารุณ และเมื่อพิสูจน์ศพก็พบว่า เธอกำลังท้องอยู่ ตำรวจถูกแรงกดดันให้เหยียบเบรกในคดีฆาตกรรมนี้ ถึงแม้จะรู้ตัวฆาตกรแล้วก็ตาม
อื้อฉาวเรื่องเงินทองไม่พอ คดีเก่าที่ค้างคาใจคนมานาน ก็เริ่มมีการขุดคุ้ยขึ้นมาอีก เพื่อเล่นงานนายนาจิบ โดยเรื่องก็มีอยู่ว่าในปลายปี ค.ศ.2006 มีล่ามแสนสวยชาวมองโกเลียถูกฆ่าอย่างทารุณ และเมื่อพิสูจน์ศพก็พบว่า เธอกำลังท้องอยู่ ตำรวจถูกแรงกดดันให้เหยียบเบรกในคดีฆาตกรรมนี้ ถึงแม้จะรู้ตัวฆาตกรแล้วก็ตาม
ในกลางปี 2007 เมื่อคดีถึงศาลมีคำให้การพาดพิงว่า นาจิบ ที่ตอนนั้นเป็นรองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวพันกับคดีฆาตกรรมนี้ และมีรูปถ่ายกับเธอที่มีชื่อว่า Altantuya Shaariibuu
อย่างไรก็ดี มีความพยายามของฝ่ายรัฐที่จะลากคดีให้ยาวขึ้น ยิ่งสาวก็ยิ่งนำไปสู่หลายคำถามที่หาคำตอบไม่ได้
ประชาชนข้องใจว่า เมื่อรองนายกฯ นาจิบ ปฏิเสธการเกี่ยวพัน แต่เหตุใดจึงไม่ยอมให้การในศาล ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการกล่าวหาอีกว่า ภรรยาของนายนาจิบอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่เธอถูกฆ่าด้วย
หลังจากนั้นก็มีข่าวลือหลายกระแสออกมาตลอดเวลา แต่ที่หนักสุดคือการเขียน Blog ของ “มหาเธร์” ว่า สมควรรื้อฟื้นคดีฆาตกรรมนี้ขึ้นมาว่า จริงๆ แล้วใครเป็นคนสั่งฆ่า
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง : ‘1MDB’ เกี่ยวพันยังไงกับ ‘The Wolf of Wall Street’
สอดคล้องกับการเปิดเผยของอดีตนายตำรวจที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกที่ซิดนีย์ หลังจากโดนศาลมาเลเซียสั่งประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ร่วมกับเพื่อนตำรวจอีกคนในคดีนี้ ซึ่งทั้งสองเป็นอดีตบอดี้การ์ดของนายนาจิบ และได้บอกว่า มี “นายใหญ่” สั่งให้เขาฆ่าโดยไม่ยอมเปิดเผยชื่อ
เขาสารภาพว่า ร่วมกับเพื่อนใช้ปืนยิงศีรษะ 2 นัด และระเบิดร่างซ้ำอีกครั้ง มิไยที่เธอจะคุกเข่าขอชีวิตว่ากำลังท้องอยู่
คำกล่าวหาก็คือ เธอถูกฆ่าปิดปากเพราะกลัวว่าจะไปเปิดเผยเรื่องการมี “เงินทอน” แก่ “ผู้ใหญ่” หลายคนจากการซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ จากฝรั่งเศสและสเปนมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงที่นายนาจิบเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
คำกล่าวหาก็คือ เธอถูกฆ่าปิดปากเพราะกลัวว่าจะไปเปิดเผยเรื่องการมี “เงินทอน” แก่ “ผู้ใหญ่” หลายคนจากการซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ จากฝรั่งเศสและสเปนมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงที่นายนาจิบเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้ สื่อต่างประเทศได้รายงานความยอกย้อนของธุรกรรมเงินกองทุนอย่างละเอียดว่า ไหลไปที่ไหน และสุดท้ายไปเข้าบัญชีใครได้อย่างไร มีทั้งสำเนาเอกสาร Infographic รายละเอียดยอดเงิน วันที่โอน ชื่อ และเลขบัญชีธนาคารและชื่อผู้เกี่ยวพันในหลายประเทศ ซึ่งครอบคลุมไปถึงบุคคลหลายคน ที่รายล้อมนายกรัฐมนตรี
ความหนักแน่นของหลักฐาน ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากแก่ตัวนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และพรรค UMNO จนรัฐบาลต้องออกมาขู่บังคับให้ The Wall Street Journal ชี้แจงคำกล่าวหา มิฉะนั้นจะฟ้องร้องข้อหาละเมิดกฎหมายลับการเงิน และกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หลังจากที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ได้เผยแพร่เอกสารธนาคาร 9 ฉบับไป
ทั้งนี้ แม้ในภายหลังจากบทความนี้ตีพิมพ์ เรื่องราวจะจบลงไปแล้วแบบที่สังคมยังคงเคลือบแคลง แต่ในมุมมองของ ดร.วรากรณ์ จากบทความครั้งนั้น ได้ระบุถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอุทาหรณ์สำหรับทุกประเทศ เนื่องจากนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มันได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเกือบทุกประเทศ
โดยความตอนหนึ่งเขียนว่า..
"ถ้าตัวละครในขณะที่มีอำนาจตาไม่มืดมัว ตระหนักว่า สิ่งชั่วร้ายที่ได้ทำไว้นั้น มีโอกาสถูกขุดคุ้ยขึ้นมาในภายหลังเสมอ เหตุการณ์เช่นนี้ก็คงเกิดขึ้นน้อยลง
ความละอายต่อบาปอาจไม่สามารถหยุดยั้งความชั่วร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การเรียนรู้ว่าคนที่จะกระทำสิ่งเลวร้ายได้นั้น ต้องมีลักษณะพิเศษคือ “ใจกล้า-หน้าทน-กล้าผจญความเครียด” ก็อาจฉุดไว้ได้บ้าง ใครที่ไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้ จงอยู่ให้ไกล"