ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ คำสั่งข้อกำหนด 7 ฉบับเต็ม มีผล 1 ก.ย.นี้
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ คำสั่งข้อกำหนด รวม 7 ฉบับเต็ม มีผล 1 ก.ย.นี้
เมื่อวันที่ 1 กรกฎคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจาบุเบกษา เผยแพร่ประกาศ 3 ฉบับ ข้อกำหนด 2 ฉบับ และคำสั่ง 2 ฉบับ ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคโคโรนาไวรัส และการผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 5 ซึ่งเป็นกิจการและกิจกรรมเสี่ยงสูง รวมถึงการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา ทุกฉบับลงนามโดย พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ดังนี้
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทกุเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 3)
มีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง แต่การขยายระยะเวลาในคราวนี้มิได้มุ่งที่จะห้ามหรือจำกัดการดำเนินกิจกรรมหรือกิจการใดๆ แต่มุ่งประโยชน์เพื่อการบูรณาการความรับผิดชอบและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย นอกเหนือไปจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อให้การเฝ้าระวังการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคในห้วงเวลาท่ีประเมินว่ายังคงมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ด้วยการให้กิจการและกิจกรรมต่างๆ สามารถเปิดดำเนินการได้มากขึ้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นไปโดยมีเอกภาพ มีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ มุ่งรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยในด้านสุขภาพและชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขต ท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปควบคู่กัน ทั้งนี้ ต้ังแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ประกาศเรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดข้ึนตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันท่ี 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ประกาศ เรื่องการให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งท่ีนายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขต ท้องท่ีทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 6/2563 เรื่องแนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับท่ี 5) พร้อมมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 แนบท้ายคำสั่งดังกล่าว
คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 7/2563 เรื่องแนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับท่ี 6) พร้อมมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 แนบท้ายคําสั่ง
ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 11)
มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเปิดเรียนและรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ, การเปิดดำเนินการสถานที่และกิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลายในระยะที่ 5, การปฏิบัติศาสนกิจหรือศาสนพิธีของทุกศาสนา, การขนส่งสาธารณะ และการผ่อนผันการใช้ช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักรเฉพาะเพื่อการขนส่งสินค้า
ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 12)
มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการเดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร และมาตรการป้องกันโรค ต้องเข้ารับการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่และตามระยะเวลาซึ่งทางราชการกำหนด หรือปฏิบัติตามระบบการตรวจสอบการเดินทางในราชอาณาจักรหรือการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัว เพื่อให้มารับการตรวจหาเชื้อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการติดเชื้อก็ได้