ตรวจสอบสิทธิ ‘เลือกตั้ง อบจ.’ ผ่านออนไลน์ ง่ายๆ ที่นี่!
โค้งสุดท้าย เตรียมไป "เลือกตั้ง อบจ." 20 ธ.ค.63 เปิดวิธีตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อบจ. ง่ายๆ ผ่านออนไลน์ พร้อมข้อควรรู้ ถ้าไม่อยากเสียสิทธิ์ อ่านที่นี่!
อีกไม่กี่วันแล้ว สำหรับการเลือกตั้ง อบจ. พร้อมกันทั่วประเทศ 76 จังหวัด จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 20 ธ.ค.63 นี้ หลังแช่แข็งการเมืองท้องถิ่นไปนานหลายปี
ความสำคัญและน่าสนใจของสนามเลือกตั้งอบจ. ทั้งการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ในวันอาทิตย์นี้ นอกจากจะเป็นการกลับมาได้ใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเศษ นับจากการทำรัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นี่จึงเป็นการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์จะหย่อนบัตรพร้อมกันทั่วประเทศ 76 จังหวัด ในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- 'เลือกตั้ง อบจ. 2563' รู้ก่อนหย่อนบัตร ทำแบบนี้ ผิดหรือถูก!?
- เผยโฉม! บัตร 'เลือกตั้ง อบจ.' สีไม่เหมือนกัน จังหวัดไหนได้สีอะไรเช็คเลย
- ไม่ไป ‘เลือกตั้งอบจ.’ ต้องเช็ค 4 ขั้นตอนรักษาสิทธิ
- 'เลือกตั้ง อบจ.' 20 ธ.ค. กับข้อควรรู้ หากไม่อยากถูกตัดสิทธิ
- มาแล้ว! เอกสารแจ้งไม่ไป 'เลือกตั้ง อบจ.' กรอกอย่างไรให้ถูกต้อง
เรื่องที่ผู้มีสิทธิ์ทุกคนต้องทราบ คือ การเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และไม่เปิดให้เลือกนอกเขตอย่างสนามการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ โดยทุกคนจะต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อบจ. ณ ภูมิลำเนาที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น
ฉะนั้น สิ่งที่ผู้มีสิทธิ์ทุกคนควรต้องเช็คเสียตั้งแต่วันนี้ ก็คือ การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่นในรอบนี้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องให้มั่นใจว่า ชื่อตนเองปรากฏอยู่ในรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งยังต้องเช็คให้มั่นใจว่า มีรายชื่อแฝงแอบมาอยู่ในทะเบียนบ้านเราของหรือไม่
โดย กกต. จะทำการส่งเอกสารมาถึงทุกๆ บ้านเลขที่ เพื่อแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ หรือถ้าเราไม่ได้รับจดหมายก็สามารถไปตรวจสอบได้ที่ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อบจ. หรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง
ได้รับเอกสารแล้วให้รีบตรวจสอบ หากพบว่า ไม่มีชื่อของเรา หรือมีข้อมูลผิดพลาด หรือมีรายชื่อคนที่เราไม่รู้จักมาอยู่ร่วมทะเบียนบ้านเดียวกันกับเรา ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ โดยยื่นคำร้องต่อขอเพิ่มชื่อ- ถอนชื่อ กรณีตรวจสอบไม่พบชื่อตัวเอง หรือ พบบุคคลอยู่ในทะเบียนบ้านโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริง โดยต้องแจ้งภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันตั้งแต่วันเลือกตั้ง
ทั้งนี้ เชื่อว่า หลายๆ คนอาจไม่ได้รับจดหมาย ไม่ได้กลับบ้าน หรือใดๆ ก็ตาม ก็สามารถเช็ครายชื่อของตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์
วิธีตรวจสอบสิทธิผ่านช่องทางออนไลน์ ทำได้ง่ายๆ ดังนี้
1. เข้าไปยังเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบสิทธิ คลิกที่นี่
2. กรอกเลขบัตรประชาชนของเราลงไป และ กดค้นหา
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเช็คได้ว่า มีรายชื่อของเราที่จะได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้ไหม และต้องไปเลือกที่ไหน เลขที่เท่าไหร่ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเปิดเอกสารหน้าคูหา
- เตรียมพร้อมก่อนไปเลือกตั้ง อบจ.
หลักฐานที่ใช้ : ขอให้ประชาชนเตรียมหลักฐานแสดงตน ซึ่งเป็นหลักฐานของทางราชการ อาทิ
- บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วก็ใช้ได้)
- หลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่าย และเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่รัฐ ใบอนุญาตขับขี่ พาสปอร์ต เป็นต้น
ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง :
1. ตรวจสอบรายชื่อและดูลำดับที่จากบัญชีรายชื่อของเรา
2. ยื่นหลักฐานแสดงตนต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.)
3. ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อ
บัตรเลือกตั้ง : เราจะได้รับ บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
- ใบที่ 1 เป็นบัตรเลือกตั้ง นายก อบจ. : เลือกได้ 1 คน
- ใบที่ 2 เป็นบัตรเลือก ส.อบจ. : เลือกได้ 1 คน
4. ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือบนต้นขั้วบัตร
5. เข้าคูหาทำเครื่องหมายกากบาท ลงในช่องทำเครื่องหมาย
> บัตรเลือกตั้ง นายก อบจ. เลือกผู้สมัครได้ 1 คน / บัตรเลือกตั้ง ส.อบจ. เลือกผู้สมัครได้ 1 คน
> หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาทในช่อง ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด
6. เสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งนำไปหย่อนในหีบบัตรเลือกตั้งนายกอบจ. และหีบบัตรเลือกตั้ง ส.อบจ. ด้วยตัวเอง
เพียงเท่านี้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น โดยสำหรับผู้ที่ไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ จะต้องทำการแจ้งเหตุแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์บางสิทธิ์ที่จะถูกจำกัด หากเราไม่ไปเลือกตั้ง โดยสามารถอ่านจากบทความเพิ่มเติมด้านล่างนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :