"เลือกตั้ง อบต." ส่องรายได้ 4 ปี กางบัญชีเงินเดือน "อบต." 5.3 พันแห่ง
เปิดตัวเลขรายได้ "เงินเดือน" นายก-สมาชิกสภา "อบต." ชุดใหม่ 5.3 พันแห่ง ตลอดระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 ปี ภายหลังผ่านการ "เลือกตั้ง อบต." 28 พ.ย.64
นับถอยหลังการจัด "เลือกตั้ง อบต." วันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย.2564 สู่วาระเลือกตั้งท้องถิ่นลำดับที่สาม ต่อจากการ "เลือกตั้ง อบจ." 76 แห่ง เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2563 และ "เลือกตั้ง เทศบาล" 2,472 แห่ง เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2564
เรียกได้ว่าผ่านมาแล้วครึ่งทางสำหรับปฏิทิน "เลือกตั้งท้องถิ่น" ทั้ง 5 ระดับ โดยจากนี้จะเหลือการจัด "เลือกตั้งเมืองพัทยา" และการ "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม." ซึ่งคาดหมายว่าจะอยู่ในช่วงไตรมาศแรกของปี 2565
สำหรับการหาเสียง "เลือกตั้ง อบต." ครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กำหนดกติกาภายใต้ "พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2562" และ "ระเบียบ กกต.ว่าด้วยวิธีการหาเสียง และลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2563"
ที่ผ่านมา กกต.ได้สรุปยอดผู้สมัครรับสมัครเลือกตั้ง อบต.ระหว่างวันที่ 11-15 ต.ค.2564 มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง อบต.ทั่วประเทศ 76 จังหวัด รวม 136,250 คน แบ่งเป็น 1.ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบต. 12,309 คน และ 2.ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต. 123,941 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- ไม่ได้ไป "เลือกตั้ง อบต." ควรทำอย่างไร? รู้ก่อนเสียสิทธิ์ทางการเมือง
- เช็คยอด "อบต." ทั่วประเทศ เตรียมพร้อม "เลือกตั้ง อบต." 28 พ.ย.นี้
สำหรับจังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง อบต.มากที่สุด อยู่ที่ "นครราชสีมา" จำนวน 7,333 คน แบ่งเป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกอบต. 554 คน และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. 6,779 คน
ขณะที่จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.น้อยที่สุด ที่ "ภูเก็ต" 121 คน แบ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบต. 17 คน และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. 104 คน
การเลือกตั้ง อบต.ครั้งนี้ถือว่ามียอดผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่นมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัคร "เลือกตั้ง อบจ." อยู่ที่ 8,521 คนแบ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ. 335 คน ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิก อบจ. 8,186 คน ส่วนผู้สมัคร "เลือกตั้งเทศบาล" อยู่ที่ 73,390 คน แบ่งเป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรี 5,771 คน และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 67,619 คน
"เลือกตั้ง อบต.64" จะเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นที่เข้มข้นไม่แพ้กว่าการเลือกตั้งระดับอื่น โดยเฉพาะจะเป็น "ฐานทางการเมือง" ที่สำคัญในการเตรียมพร้อมเลือกตั้งใหญ่ตามวาะอีกไม่เกิน 2 ปี
อ่านที่เกี่ยวข้อง : "เลือกตั้ง อบต." สแกน "กฎเหล็ก" หาเสียง ฝ่าฝืนโทษหนักปรับ-จำคุก!
"กรุงเทพธุรกิจ" ได้ตรวจสอบไปที่ฐาน "บัญชีอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทน" ของนายก อบต. และสมาชิกสภา อบต.รวม 5,300 แห่ง ซึ่งถูกกำหนดไว้ใน "ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557"
สำหรับ "เงินเดือน" ค่าตอบแทน นายก-รองนายก อบต.จะถูกแบ่งจากรายได้ งบประจำปีจาก อบต. โดยมีค่าตอบแทนแบ่งเป็น ดังนี้
• นายก อบต.
รายได้ อบต.เกิน 50 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. 26,080 บาท
รายได้ อบต.เกิน 25-50 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. 24,920 บาท
รายได้ อบต.เกิน 10-25 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. 23,900 บาท
รายได้ อบต.เกิน 5-10 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. 22,880 บาท
รายได้ อบต.ไม่เกิน 5 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. 21,860 บาท
• รองนายก อบต.
รายได้ อบต.เกิน 50 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง รองนายก อบต. 14,140 บาท
รายได้ อบต.เกิน 25-50 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง รองนายก อบต. 13,510 บาท
รายได้ อบต.เกิน 10-25 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง รองนายก อบต. 12,980 บาท
รายได้ อบต.เกิน 5-10 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง รองนายก อบต. 12,420 บาท
รายได้ อบต.ไม่เกิน 5 ล้านบาท
-เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง รองนายก อบต. 11,880 บาท
ขณะที่ "เงินเดือน" ค่าตอบแทน ประธานสภา อบต. รองประธานสภา อบต. สมาชิกสภา อบต. เลขานุการนายก อบต. และเลขานุการสภา อบต. จะแบ่งจากรายได้งบประจำปีจาก อบต.เช่นกัน โดยมีค่าตอบแทนแบ่งเป็น ดังนี้
รายได้ อบต.เกิน 50 ล้านบาท
-ประธานสภา อบต. 12,140 บาท
-รองประธานสภา อบต. 9,930 บาท
-สมาชิกสภา อบต. 7,920 บาท
-เลขานุการนายก อบต. 7,920 บาท
-เลขานุการสภา อบต. 7,920 บาท
รายได้ อบต.เกิน 25-50 ล้านบาท
-ประธานสภา อบต. 11,610 บาท
-รองประธานสภา อบต. 9,500 บาท
-สมาชิกสภา อบต. 7,560 บาท
-เลขานุการนายก อบต. 7,560 บาท
-เลขานุการสภา อบต. 7,560 บาท
รายได้ อบต.เกิน 10-25 ล้านบาท
-ประธานสภา อบต. 11,220 บาท
-รองประธานสภา อบต. 9,180 บาท
-สมาชิกสภา อบต. 7,200 บาท
-เลขานุการนายก อบต. 7,200 บาท
-เลขานุการสภา อบต. 7,200 บาท
รายได้ อบต.เกิน 5-10 ล้านบาท
-ประธานสภา อบต. 10,820 บาท
-รองประธานสภา อบต. 8,850 บาท
-สมาชิกสภา อบต. 6,880 บาท
-เลขานุการนายก อบต. 6,880 บาท
-เลขานุการสภา อบต. 6,880 บาท
รายได้ อบต.ไม่เกิน 5 ล้านบาท
-ประธานสภา อบต. 10,420 บาท
-รองประธานสภา อบต. 8,530 บาท
-สมาชิกสภา อบต. 6,630 บาท
-เลขานุการนายก อบต. 6,630 บาท
-เลขานุการสภา อบต. 6,630 บาท
ทั้งนี้ หากนำฐานเงินเดือนเฉพาะ "นายก อบต." ในกลุ่มรายได้ อบต.เกิน 50 ล้านบาท มาคำนวณ "ค่าตอบแทน" ต่อปี จะอยู่ที่ 312,960 บาท และหากดำรงตำแหน่งนายก อบต.ครบ 4 ปีจะมีรายได้อยู่ที่ 1,251,840 บาท
หรือหากนำฐานเงินเดือนเฉพาะ "สมาชิกสภา อบต." ในกลุ่มรายได้ อบต.เกิน 50 ล้านบาท มาคำนวณ "ค่าตอบแทน" ต่อปี จะอยู่ที่ 95,040 บาท และหากดำรงตำแหน่งนายก อบต.ครบ 4 ปีจะมีรายได้อยู่ที่ 1,140,480 บาท
อ่านที่เกี่ยวข้อง : เปิดคู่มือ ปชช.ต้องรู้ ไทม์ไลน์ "เลือกตั้ง อบต." 5.3 พันแห่งทั่วประเทศ