จุดจบ "พปชร." เดินตามรอย "พรรคเฉพาะกิจ" !?
ส่องเนื้อใน "พลังประชารัฐ" ท่ามกลางความขัดแย้ง แตกแยก เผชิญ ภาวะสั่นคลอน เดินตามรอย พรรคเฉพาะกิจ "3ป." ตัวแปร ฉากจบ สวยหรือไม่
การก่อตั้งของพรรคพลังประชารัฐเป็นการก่อตั้งพรรคเฉพาะกิจ แต่ผู้บริหารภายในพรรคโดยเฉพาะอดีตเลขาธิการพรรคผู้กองธรรมนัส พรหมเผ่า ประกาศในวันดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่จังหวัดขอนแก่น จะทำพรรคพลังประชารัฐให้เป็นพรรคสถาบันการเมือง เหมือนกับประชาธิปัตย์เพื่อไม่ให้เป็นพรรคเฉพาะกิจอีกต่อไป คำถามคือ ทุกวันนี้พลังประชารัฐเป็นจุดจบของพรรคเฉพาะกิจหรือยัง
เพราะพลังประชารัฐในขนาดนี้แตกแยก อ่อนแออย่างยิ่ง ซึ่งจะนำไปสู่บริบทที่ทุกคนประเมินได้นั่นคือ ไผ่แยกกอ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยพรรคเฉพาะกิจ เกิดจากการรวมกันของหลายกลุ่ม เพื่อทำภารกิจบางอย่างแล้วก็สลายกันไป จึงเป็นพรรคอายุสั้น
พรรคเฉพาะกิจ สืบทอดอำนาจ 'คณะทหาร'
พรรคเสรีมนังคศิลา
ก่อตั้ง 29 ก.ย.2498 หัวหน้าพรรค จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลขาพรรค พลเอกเผ่า ศรียานนท์ ยุบ 21 ธ.ค.2500 (2 ปี 83 วัน)
เลือกตั้ง 26 ก.พ. 2500 พรรคเสรีมนังคศิลา 86 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 30 ที่นั่ง
พรรคสหภูมิ
ก่อตั้ง 21 มิ.ย.2500 หัวหน้าพรรค สุกิจ นิมมานเหมินท์ เลขาธิการพรรค สงวน จันทรสาขา ยุบ21 ก.ค.2501(1 ปี 30 วัน)
เลือกตั้ง 15 ธ.ค. 2500 พรรคสหภูมิ 44 ที่นั่ง พรรคเสรีมนังคศิลา 4 ที่นั่ง
พรรคสหประชาไทย
ก่อตั้ง 24 ต.ค.2511 หัวหน้าพรรค จอมพล ถนอม กิตติขจร เลขาธิการพรรค พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ ยุบ 19 พ.ย.2514 (3ปี 26 วัน)
เลือกตั้ง 10 ก.พ. 2512 พรรคสหประชาไทย 76 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 57 ที่นั่ง
พรรคสามัคคีธรรม
ก่อตั้ง 3 ม.ค.2535 หัวหน้าพรรค ณรงค์ วงศ์วรรณ เลขาธิการพรรค นาวาอากาศตรีจิติ นาครทรรพ ยุบ 24 ธ.ค.2535 (324 วัน)
เลือกตั้ง 22 มี.ค. 2535 พรรคสามัคคีธรรม 79 ที่นั่ง พรรคชาติไทย 74 ที่นั่ง
พรรคพลังประชารัฐ
ก่อตั้ง 2 มี.ค.2561 หัวหน้าพรรค พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เลขาธิการพรรค ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า
เลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 พรรคเพื่อไทย 136 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ 116 ที่นั่ง
พปชร. ไผ่ร้อยกอ
ก๊ก 3 มิตร
ก๊ก "ธรรมนัส"
ก๊ก วิรัช
ก๊ก นิโรธ
ก๊ก พล.อ.ประวิตร
ก๊ก พล.อ.ประยุทธ์
ก๊ก พลังชล
ก๊ก วราเทพ
ตอนนี้พลังประชารัฐกำลังหวั่นไหว สั่นคลอนอย่างหนัก เป็นตัวชี้ 3 ป. เป็นตัวแปรสำคัญว่าพลังประชารัฐจะจบสวยหรือไม่สวย ถ้า 3 ป.ยังกลมเกลียว ก็พอจะเดินหน้าได้ แต่ส่วนหนึ่งที่หวั่นไหวเกิดจากรอยร้าว ความไม่ไว้วางใจ เมื่อมีปัญหาพปชร.จึงต้องแตก
นายกรัฐมนตรี ยังไม่ยอมแพ้
ไม่ปรับครม.
ไม่แบ่งงาน
เดินหน้าสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
อาศัยเสียง 248+พรรคเล็ก สู้ศึกสภา
พ้นการโหวต - ปรับครม. รอเลือกตั้ง
ปรากฏการณ์ตอนนี้ที่เห็นเด่นชัดที่สุด "ซุ้มแตก รอแยกย้าย" แต่ละก๊กจากการรวมตัว เริ่มหารังใหม่
วันนี้มีการประชุมพรรคพลังประชารัฐ กรรมการบริหารหลายท่านบอกว่า แค่เขตเดียวยังไม่เป็นไร แต่ปลายทางยังไม่ถึง แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นดัชนีชี้วัดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พรรคพลังประชารัฐไม่เหมือนเดิม ผลการเลือกตั้งซ่อมสามเขตที่ผ่านมาหรือการแยกตัวไปอยู่พรรคใหม่ หรือความวันไหวในก๊กต่างๆ ในพลังประชารัฐที่เห็นตอนนี้นี่คือสัญญาณอันตรายที่บอกว่านี่คือ"จุดจบพรรคเฉพาะกิจ"
ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร