"กมธ.สิทธิ" วุฒิสภา ออกคำแถลง แจงยิบปมรับ "คดีแตงโม" ตรวจสอบ
กมธ.สิทธิมนุษยชน วุฒิสภา ออกคำแถลงยาว5หน้า แจงละเอียดเหตุผลรับคดีแตงโม ไว้ตรวจสอบ ยันยึดการทำงานตามกรอบรัฐธรรมนูญ ทิ้งท้ายข้อเสนอแนะไม่ใช่คำสั่ง "จนท." รับหรือไม่รับไปทำก็ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเกิดกรณีที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มีนายสมชาย แสวงการ ส.ว. เป็นประธานกมธ. ถูกวิจารณ์ต่อการทำหน้าที่ของกมธ.ฯ ต่อการตรวจสอบคดีการเสียชีวิตของน.ส.นิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม ดาราสาวที่พลัดตกเรือสปีดโบ๊ทกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเสียชีวิต ซึ่ง นางภนิกา ศิระยุทธโยธิน มารดาน.ส.นิดา ยื่นเรื่องให้กมธ. ดำเนินการ ที่อาจเข้าข่ายก้าวก่าย แทรกแซงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และล่าสุดนางภนิดา ยื่นเรื่องให้กมธ.ยุติการตรวจสอบกรณีดังกล่าว
ล่าสุด กมธ.สิทธิมนุษยชน ได้ออกคำแถลงเพื่อชี้แจงในการทำหน้าที่และการดำเนินการของกมธ. ต่อกรณีสอบหาข้อเท็จจริงกรณีการเสียชีวิตของน.ส.นิดา เป็นเอกสารความยาว 5 หน้ากระดาษ โดยมีสาระสำคัญระบุว่า
1.นางภนิดาเป้นผู้ร้องเรียนให้กมธ.สอบหาข้อเท็จจริงกรณีการเสียชีวิตของบุตรสาว เมื่อ 8 มีนาคม เพราะสงสัยในพยานหลักฐานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของบุตรสาวหลายประเด็น
2. เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียน กมธ.ฯ ส่งให้สำนักงานประธานวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ฐานะศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของวุฒิสภา ให้ตรวจสอบคำร้องทุกข์ว่าซ้ำซ้อนกับการพิจารณาของกมธ.อื่นหรือไม่ เมื่อไม่พบว่าไม่ซ้ำซ้อน จึงดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของกมธ. ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ร้องและกรอบหน้าที่ พร้อมลงบันทึกข้อความ เมื่อ 9 มีนาคม
3.กมธ.รับเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม เมื่อ 14 มีนาคม โดยกมธ.ฯ มีมติรับเเรื่องไว้พิจารณา ตามกรอบอำนาจและหน้าที่ เนื่องจากเห็นว่าผลของคดีจะมีส่วนสำคัญญต่อความเชื่อมั่นและศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม และเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิของประชาชนที่ได้รับความยุติธรรมและสิทธิการรับรู้ความจริงของครอบครัวผู้เสียชีวิต การทำความจริงให้ปรากฎ เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมไม่ล่าช้า อีกทั้งกรณีดังกล่าวกมธ.เห็นว่าเป็นกรณีที่มีผลต่อการปฏิรูปตำรวจด้านกระบวนการยุติธรรม โดยยึดข้อบังคับและกฎหมายที่เเกี่วข้องในการทำหน้าที่ ทั้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2562 ข้อ 78(25)
4.เมื่อ 17 มีนาคม แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ฐานะกมธ. ได้เข้าสังเกตการณ์การประชุมและชันสูตรศพครังที่ 2 ของน.ส.สิดา ตามที่นางภนิดา ยื่นหนังสือกับกระทรวงยุติธรรม ซึ่งแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงยุติธรรมให้เป็นที่ปรึกษาการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์
5.การทำงานของกมธ. ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเมื่อ 21 มีนาคม เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 วรรคสี่ ที่ให้อำนาจกมธ.เรียกเอกสารหรือบุคคลแถลงข้อเท็จจริง อย่างไรก็ดีคดีของน.ส.นิดาไม่ได้ข้อยุติและอยู่ระหว่างสอบสวน ที่ประชุมกมธ. ได้ตระหนักการทำหน้าที่ฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ และการไม่แทรกแซงการทำหน้าที่จึงได้แจ้งผู้แทนทุกหน่วยงานทราบให้ข้อมูลเท่าที่จะเปิดเผยได้และไม่กระทบต่อรูปคดี และหลังจากรับฟังคำชี้แจง ได้มีข้อเสนอแนะ และคำแนะนำให้หน่วยงานทำงานรวดเเร็ว รัดกุมและตรงไปตรงมาเพื่อให้ได้ข้อยุติที่เป็นธรรมและประชาชนยอมรับ
6.การลงพื้นที่ของกมธ. เมื่อ 24 มีนาคม ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี เพื่อขอร่วมสังเกตเรือสปีดโบ๊ทฐานะวัตถุพยานชิ้นสำคัญ และมีหนังสือแจ้งไปก่อนหน้านี้ เพราะเหนว่าจะได้รับข้อมูลสำคัญญต่อการสอบหาข้อเท็จจริงและประโยชน์ต่อการให้ข้อเสนอแนะต่อการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดี และหลังการลงพื้นที่ ได้เสนอแนะ เช่น ให้หาสถานที่จัดเก็บวัตถุพยานที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้หลักฐานถูกทำลายหรือปนเปื้อนและให้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเรือให้ข้อมูลและวิเคราะห์เกี่ยวกับการตกเรือ ลักษณะการเกิดบาดแผล เพื่อให้ผู้เสียหายและประชาชนมั่นใจในการตรวจสอบพยานหลักฐาน
“จากการทำหน้าที่ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง การเสียชีวิตของน.ส.นิดา ยืนยันว่ากมธ.ตระหนักในหน้าที่และอำนาจ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ใช้สถานะส.ว.หรือกมธ. ก้าวก่ายแทรกแซงเพเื่อประโยชน์ตนเองของผู้อื่น หรือพรรคการเมมืองใดไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม สำหรับข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นและการแถลงข่าวของกมธ. หากเจ้าหนาที่หรือหน่วยงานปฏิบัติเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการทำงานหรือรูปคดี สามารถนำไปปรับใช้ได้ หรือหากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ ก็สุดแล้ว้แต่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เพราะข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นของกมธ. ไม่ใช่การสั่งการที่จะแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติแต่อย่างใด” คำแถลงของกมธ.ระบุ.