จะเกิดอะไรขึ้น? เมื่อกลุ่มธุรกิจ SME หันมาใช้แพลตฟอร์ม Low Code, No Code เพื่อการได้เปรียบทางธุรกิจ
กลุ่มธุรกิจส่วนมากจะทำการว่าจ้างให้นักพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ภายนอก หรือใช้ซอฟต์แวร์ของบุคคลที่สามเข้ามาช่วยพัฒนาโปรแกรมของบริษัท ซึ่งเป็นกระบวนการที่วุ่นวาย ซ้ำซาก และมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น การใช้แพลตฟอร์มประเภท Low Code, No Code จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงการทำงานทุกสิ่งอย่างให้ง่ายขึ้น
เมื่อธุรกิจกำลังเร่งเครื่องไปข้างหน้าเพื่อทำการเปลี่ยนโฉมด้านดิจิทัล ความต้องการทางด้านโซลูชันทางดิจิทัลที่สามารถกำหนดค่าการใช้งานด้วยตัวเองก็เพิ่มสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการเปลี่ยนโฉมเข้าสู่ระบบดิจิทัล ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิด Citizen Developer ซึ่งตอนนี้ผู้ใช้งานทางธุรกิจที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการเขียนโค้ด หรืออาจจะมีความรู้เพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีทางไอทีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กลุ่มธุรกิจ หรือพัฒนากระบวนการการทำงานทางธุรกิจของตนที่ใช้อยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มธุรกิจส่วนมากจะทำการว่าจ้างหรือให้นักพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ภายนอก หรือใช้ซอฟต์แวร์ของบุคคลที่สามเข้ามาช่วยพัฒนาโปรแกรมของบริษัท ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่วุ่นวาย และมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น การใช้แพลตฟอร์มประเภท Low Code, No Code จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงการทำงานทุกสิ่งอย่าง
จากข้อมูลการสำรวจของ Gartner พบว่า ภายในปี 2567 ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีจำนวนมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้งานที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอที ซึ่งนั่นก็คือ Citizen Developer รวมถึงนักเทคโนโลยีธุรกิจ และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งถือว่า การเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มแบบ Low Code, No Code (LCNC) นั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว และกลุ่มธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรเริ่มพิจารณา และมองเห็นถึงประโยชน์ทางเทคโนโลยีนี้เพื่อการได้เปรียบทางธุรกิจ
กลุ่มธุรกิจ SME ได้เริ่มหันมาใช้เทคโนโลยี Low Code, No Code
Low Code, No Code เป็นขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างจากวิธีการแบบก่อนๆ โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างแอปพลิเคชันให้ตรงกับความต้องทางธุรกิจของตนได้มากที่สุดพร้อมทั้งยังสามารถประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย ถ้าหากเทียบกับการจ้างทีมภายนอก ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถสร้างและออกแบบรูปลักษณ์ทั้งหมดได้ด้วยอินเทอร์เฟซ ลากและวางสิ่งที่ต้องการ เพื่อการสร้างแอปพลิเคชันภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือประเภทใดและผู้รับเหมาทีมใดที่สามารถทำเช่นนี้ได้
จากรายงานของ Statista พบว่า กลุ่มธุรกิจจำนวน 29 เปอร์เซ็นต์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชันด้วยการใช้เทคโนโลยี Low Code นั้นรวดเร็วกว่าวิธีการทั่วไปมากถึง 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นแพลตฟอร์ม LCNC ยังช่วยลดวงจรของเวลาในการนำระบบออกสู่ตลาด (time-to-market) เนื่องจากได้ตัดกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อันซับซ้อนออกไป โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนดการออกแบบอินเตอร์เฟซของผู้ใช้งานและประสบการณ์ผู้ใช้ (UI/UX) ด้วยตนเองได้รับประโยชน์มากขึ้นเมื่อใช้ Low Code, No Code ไม่ใช่แค่เพียงผู้ใช้งานที่จะได้รับประโยชน์จากการลดต้นทุนและลดวงจรการผลิตเท่านั้น
แพลตฟอร์ม Low Code, No Code ยังสามารถช่วยพัฒนากระบวนการทางธุรกิจด้านต่างๆ รวมถึงการทำงานระบบอัตโนมัติและการตลาดด้วย ลองคิดดูว่า จะเป็นการดีแค่ไหนถ้าหากลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับเนื้อหา การแจ้งเตือน และข้อเสนอทางการขายที่ตรงตามความต้องการของพวกเขาผ่านทางแอปพลิเคชันบนมือถือ ที่ได้ถูกปรับแต่งขึ้นมาเฉพาะสำหรับลูกค้า โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ หรือบริษัทซอฟต์แวร์เท่านั้นที่จะทำได้ จึงสามารถรักษากลุ่มลูกค้า เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในตัวแบรนด์ และสร้างรายได้มากขึ้นกว่าที่เคย LCNC อาจจะเป็นฟีเจอร์ที่ทำให้ลูกค้าที่กำลังลังเลได้ทำการตัดสินใจไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยยังสามารถพัฒนาโมดูลด้านการสร้างความจงรักภักดีและการบริการลูกค้าเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการตลาด ทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจ และมีความมั่นใจที่จะร่วมทำธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังสามารถติดตั้งโปรแกรมแบบฟอร์มติชมหลังการขายเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากลูกค้า ช่วยให้องค์กรได้พัฒนาและเพิ่มประสบการณ์ของแบรนด์ได้อย่างทันท่วงที ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องการตลาดเท่านั้น กลุ่มธุรกิจยังสามารถใช้ LCNC เพื่อทำให้ทุกด้านการทำงานตั้งแต่งานด้านที่ง่ายที่สุดไปจนถึงกระบวนการทำงานด้านการผลิตที่ซับซ้อนให้เป็นระบบทำงานแบบอัตโนมัติ ทุกแพลตฟอร์มนั้นล้วนมีทั้งจุดแข็งและจุดด้อย แพลตฟอร์ม LCNC อาจจะมีจุดด้อยในกรณีที่มีข้อมูลที่สร้างโดยเครื่องมือเปรียบเทียบกับข้อมูลที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ โดยเมื่อมีผู้ใช้ กระบวนการ และอินเทอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟิกเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงจะทำให้แพลตฟอร์ม LCNC ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์ม LCNC ยังมีความสามารถที่โดดเด่นอีกเช่นกัน นั่นก็คือ ความสามารถในการผสานรวมการทำงานเข้าร่วมกับแอปพลิเคชันและกับระบบที่มีอยู่ โดยแพลตฟอร์มยังสามารถช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงแอปพลิเคชันได้ดีขึ้นอีก โดยไม่ต้องย้ายข้อมูลไปมา ถ้าได้รับการวางแผนไว้อย่างดีแล้ว
LCNC กำลังพลิกโฉมวงการธุรกิจ
จากการสำรวจของ Zoho หลากหลายองค์กรกำลังใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น ใช้เพื่อเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจให้เป็นดิจิทัล 45 เปอร์เซ็นต์ สร้าง workflow การทำงานอัตโนมัติ 32 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรง 25 เปอร์เซ็นต์ แพลตฟอร์ม LCNC ใช้งานง่าย และแทบไม่ต้องใช้ทักษะพิเศษในการใช้งาน รวมถึงในตัวแพลตฟอร์มยังครอบคลุมการใช้งานในองค์กรหลากหลายประเภท ซึ่งนับเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกและเร่งการเติบโตของธุรกิจได้
ตัวอย่างเช่น ในประเทศมาเลเซีย บริษัท IOI Properties Group ได้ใช้ Zoho Creator เพื่อสร้างผลลัพธ์การทำงานที่ดีเลิศ เมื่อองค์กรต้องปรับตัวให้เข้ากับการทำงานระยะไกล บริษัทได้ประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันระบบคลาวด์ได้ในเวลาเพียงภายในสามเดือนเท่านั้น ตอนนี้ IOI Properties Group ได้มีนโยบายไม่ใช้กระดาษ เพราะตั้งแต่เมื่อบริษัทได้เริ่มใช้ Zoho Creator บริษัทไม่ต้องวุ่นวายกับการย้ายไฟล์หลายพันไฟล์ แต่สามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์แทน ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มสูงขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ในทุกวันนี้ ธุรกิจต่างๆ ได้นำเอาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีแบบรวมศูนย์ที่มีคุณสมบัติแบบ Low Code, No Code มาประยุกต์ใช้ ซึ่งทำให้ตอนนี้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนและยังเป็นผู้นำด้านการแข่งขัน ด้วยแพลตฟอร์ม LCNC ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้ฝ่ายไอทีจึงสามารถมองเห็นข้อมูลแบบ end-to-end ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการและควบคุมดูแลทุกอย่างได้จากที่เดียว กลุ่มธุรกิจจึงไม่ควรมองข้ามแพลตฟอร์ม LCNC ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญทางไอที ในขณะที่โลกกำลังฟื้นตัวจากการระบาดครั้งใหญ่ จึงไม่สามารถมองข้ามประโยชน์ที่มากับ Digital Journey ที่หลายองค์กรเริ่มนำมาประยุกต์ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน การตัดสินใจ และการบริหารจัดการงานที่ยืดหยุ่น โอกาสในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านการดูแลและการสนับสนุนเชิงรุกหลากหลายมิติจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมาก ดังนั้น แพลตฟอร์ม LCNC จะยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่จะถูกนำมาใช้ต่อไปเรื่อยๆ และองค์กรใดที่เปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มนี้แล้วก็อาจจะกลายมาเป็นผู้นำทางธุรกิจ
ผู้เขียน: Gibu Matthew, VP and GM APAC, Zoho Corp