เผยสูตรลับ บรีฟงาน "GTCMIT" สำหรับเจ้าของแบรนด์
การบรีฟงานระหว่างเจ้าของแบรนด์กับเอเยนซีโฆษณาอาจพบเจอปัญหาบ่อยครั้ง Cotactic จึงได้รวบรวมข้อมูล ประสบการณ์ จนเกิดเป็น GTCMIT สูตรบรีฟงานเอเยนซี เพื่อให้เจ้าของแบรนด์สามารถนำไปใช้ และได้งานโฆษณาที่ตรงใจที่สุด
ปัญหาสุดคลาสสิกที่มักเกิดระหว่างเจ้าของแบรนด์กับเอเยนซีโฆษณา บริษัทการตลาดคือ การได้รับงานไม่ตรงบรีฟหรือความต้องการที่คิดไว้ ฉะนั้นการบรีฟงานจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญทำให้งานมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีหลายครั้งที่ทีม Cotactic ได้รับบรีฟงานไม่ชัดเจน เช่น การบรีฟห้วน บรีฟสั้นๆ หรือบรีฟแบบไม่มีจุดประสงค์ชัดเจน ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน ต้องแก้งานบ่อย หรืออาจส่งผลให้ไม่พอใจกันทั้งสองฝ่าย โดยแท้จริงแล้วสาเหตุนั้นไม่ได้มาจากเจ้าของแบรนด์เท่านั้น อาจเกิดจากความไม่เป็นมืออาชีพของเอเยนซีก็ได้เช่นกัน Cotactic จึงได้รวบรวมข้อมูล ประสบการณ์ จนเกิดเป็น GTCMIT สูตรบรีฟงานเอเยนซี เพื่อให้เจ้าของแบรนด์สามารถนำไปใช้ และได้งานโฆษณาที่ตรงใจที่สุด
GTCMIT คืออะไร? สำคัญต่อการบรีฟงานอย่างไร?
GTCMIT คือ องค์ประกอบข้อมูลพื้นฐานสำคัญ 6 ข้อ สำหรับการบรีฟงานที่เจ้าของแบรนด์และเอเยนซีจำเป็นต้องรู้ร่วมกัน เพื่อให้งานมีความละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่ง GTCMIT ย่อมาจาก
- Goal–จุดประสงค์หรือเป้าหมายของแคมเปญ
- Target–กลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการ
- Channel–ช่องทางที่ต้องการโปรโมท
- Message–สิ่งที่ต้องการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
- Investment–งบประมาณการลงทุน
- Timeline–ระยะเวลาแคมเปญ
Goal–วางเป้าหมายให้ชัดในบรีฟงาน ว่าต้องการอะไรจากแคมเปญ
อันดับแรก เจ้าของแบรนด์ต้องบอกเป้าหมายในการทำแคมเปญกับเอเยนซี เช่น สร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness), เพิ่มยอดขาย, เพิ่มจำนวนรายชื่อลูกค้า (Lead Generation) รวมถึงอธิบายลักษณะสินค้าและบริการ วิธีการทำการตลาดที่ผ่านมา สถานการณ์ปัจจุบันของแบรนด์ เช่น คู่แข่งเป็นใคร แบรนด์อยู่จุดไหนของตลาด เป็นต้น
Target–ยิ่งบอกกลุ่มเป้าหมายละเอียด ยิ่งทำให้ออกแบบโฆษณาได้ตอบโจทย์
ข้อมูลนี้จะทำให้เอเยนซีรู้ว่าต้องผลิตคอนเทนต์หรือโฆษณาแบบไหน ยิ่งเจาะลึกกลุ่มเป้าหมายมากเท่าไหร่ เนื้อหาก็จะมีความเฉพาะเจาะจงต่อกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยองค์ประกอบข้อมูลของ Target หลักๆ ได้แก่ เพศ พื้นที่อาศัย พฤติกรรมปัญหาที่เจอ แต่ถ้าหากสินค้าและบริการมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย แนะนำให้แบ่งสัดส่วนความสำคัญว่าต้องการโฟกัสกลุ่มไหนสำหรับแคมเปญนี้ และอธิบายความแตกต่างในการตัดสินใจซื้อของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้โฆษณาออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด
Channel–ช่องทางโฆษณามีหลากหลาย แต่ทางไหนละที่ใช่คุณ
ช่องทางที่ใช่จะขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์อยู่ในจุดไหนของแผนการตลาด และจุดประสงค์ของแคมเปญคืออะไร โดยข้อมูลส่วนนี้ยังสามารถช่วยในการเลือกเอเยนซีที่มีความถนัดตามช่องทางที่ต้องการอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น หากเป็นแบรนด์ใหม่ยังไม่เป็นที่รู้จักต่อกลุ่มเป้าหมายส่วนมาก โฆษณา Facebook อาจเหมาะสมที่สุด หรือถ้ามียอดขายพอสมควรแล้วแต่ต้องการให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักมากขึ้น การทำ SEO หรือ SEM บน Google อาจเหมาะสมที่สุด เมื่อเลือกช่องทางแล้ว ก็จะสามารถอธิบายผลลัพธ์ที่คาดหวังกับช่องทางนั้นๆ ได้ชัดเจนขึ้น แล้วจึงปรึกษากับเอเยนซีถึงความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ จะทำให้ทั้งสองฝ่ายมองเห็นความเป็นไปได้ของแคมเปญ
Message–อยากสื่อสารกับลูกค้าให้เข้าใจ ห้ามลืม Key Message
Key Message คือ ข้อความหลักที่แบรนด์ต้องการสื่อสารกับลูกค้า เป็นตัวช่วยให้เอเยนซีผลิตโฆษณา โดยใช้ข้อความที่ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งส่วนมาก Cotactic จะสอบถาม Key Message จากลูกค้าหลักๆ 3 คำถาม ได้แก่
- Brand : เมื่อพูดถึงแบรนด์ของคุณ ลูกค้าจะนึกถึงอะไร?
- USP : จุดเด่นของสินค้าและบริการของคุณที่ทำให้แตกต่างจากคู่แข่งคืออะไร?
- Pain Point : เหตุที่ลูกค้าเลือกจากปัญหาที่ผ่านมาคืออะไร?
ทั้งนี้ ขอแนะนำเทคนิค สร้าง Key Message โดยใช้ Pain Point หรือปัญหาที่ลูกค้าพบเจออยู่บ่อยครั้ง มาสร้างเป็น USP ซึ่งต่อจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของเอเยนซีสร้างสรรค์คำโฆษณาให้มีความเข้าใจง่ายและน่าสนใจจนเกิด Conversion ตามวัตถุประสงค์
Investment–งบลงทุนโฆษณามากแค่ไหน ต้องบรีฟงานชัดเจน
สำหรับเอเยนซีแล้ว การวางแผนโฆษณาให้เป็นไปตามงบลงทุนที่ตั้งไว้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากบรีฟงานกับเอเยนซีว่าไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ ทั้งคุณและเอเยนซีก็จะไม่สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่างานที่ออกมานั้นจะมี Limit มากแค่ไหน เพราะต้องมีการ Optimize แคมเปญให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในงบประมาณที่ได้จากแบรนด์ ซึ่งปัญหาที่ต้องเจอคือ เอเยนซีโฆษณาจะวางกลยุทธ์แบบ Full option แต่เมื่อถึงเวลาต้องลดงบประมาณกลางคันก็จะทำให้แคมเปญนั้นไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ได้ 100% ตามที่คาดหวังไว้ แต่ถ้าหากคุณไม่มั่นใจจริงๆ อาจบอกเป็น ช่วงงบประมาณต่ำสุดและสูงสุด ทั้งนี้ จำเป็นต้องสอบถามเอเยนซีให้ดีๆ ว่ามีค่า Service และงบลงโฆษณาเท่าไหร่ เพื่อใช้คำนวณผลตอบแทนในการลงทุน ROI อย่างถูกต้อง
Timeline–แจ้งเวลาเริ่มแคมเปญและการวางแผนเตรียมงาน
ปกติแล้วเจ้าของแบรนด์ทุกคนมักต้องการเริ่มแคมเปญให้เร็วที่สุด แต่การสร้าง Timeline ก็ควรคำนึงถึงระบบการทำงานของแต่ละเอเยนซีด้วย ว่าใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเวลาที่ตรวจแก้ไขงานอีกด้วย ดังนั้น หากคุณมีรายละเอียดการบรีฟงานตามที่ Cotactic แนะนำไปทั้งหมดนี้ มั่นใจว่าการทำงานให้เป็นไปตาม Timeline ก็เป็นไปได้ไม่ยาก
Cotactic ถ้าทำตาม สูตร GTCMIT นี้ แบรนด์จะได้รับงานตามที่ต้องการ หรือหากกำลังตามหา Outsource ที่เชี่ยวชาญการทำโฆษณาออนไลน์อยู่ สามารถติดต่อ Cotactic Media โดยการ เขียนบรีฟ GTCMIT ให้ติดต่อกลับได้เลย