ไมโครชิพ เอาใจนักพัฒนา ด้วยการเพิ่ม AVR(R) MCU
ไมโครชิพ เอาใจนักพัฒนา ด้วยการเพิ่ม AVR(R) MCU เข้าในระบบนิเวศ MPLAB(R) X IDE ช่วยให้การออกแบบเป็นเรื่องง่าย
- สำหรับนักพัฒนาหน้าใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับสถาปัตยกรรม AVR จากนี้ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะการออกแบบจะเป็นเรื่องง่ายด้วยแพลตฟอร์มที่สามารถใช้งานข้ามระบบปฏิบัติการได้ เพื่อสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่เป็นหนึ่งเดียว
นักออกแบบที่คุ้นเคยกับการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCUs) ตระกูล PIC(R) ของไมโครชิพ และพัฒนางานด้วยระบบนิเวศ MPLAB ต่อจากนี้ไปจะสามารถประเมินผลและรวม AVR MCUs เข้าในแอปพลิเคชันของตนเองได้ง่าย ๆ ด้วยแพลตฟอร์ม MPLAB X Integrated Development Environment (IDE) เวอร์ชั่น 5.05 จากบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (NASDAQ: MCHP) ที่ขณะนี้เปิดให้ทดลองใช้งาน AVR MCUs เกือบทุกรุ่นทุกแบบในรูปแบบเบต้าแล้ว ทั้งยังมีแผนที่จะรองรับ AVR MCUs และการปรับปรุงต่าง ๆ เพิ่มเติมอีกใน MPLAB เวอร์ชั่นต่อ ๆ ไปในอนาคต ขณะเดียวกัน AVR จะยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องใน Atmel Studio 7 และ Atmel START สำหรับอุปกรณ์ AVR ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะเปิดตัวในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.microchip.com/AVRandMPLAB
MPLAB X IDE เวอร์ชั่น 5.05 มอบประสบการณ์การพัฒนาที่เป็นหนึ่งเดียวแม้ว่าจะใช้แพลตฟอร์มต่างกัน ทั้งยังสามารถปรับขยายขนาดให้สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการ Windows(R), MacOS(R) และ Linux(R) เปิดโอกาสให้นักออกแบบพัฒนางานโดยใช้ AVR MCUs บนระบบฮาร์ดแวร์ที่ตนเองพอใจได้ ชุดเครื่องมือ (tool chain) ได้รับการยกระดับให้รองรับเครื่องมือปรับแต่งโค้ดของไมโครชิพที่มีชื่อว่า MPLAB Code Configurator (MCC) จึงทำให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับนักพัฒนาในการคอนฟิก (configure) ส่วนประกอบซอฟต์แวร์ และการตั้งค่าอุปกรณ์ อาทิ นาฬืกา อุปกรณ์ต่อพ่วงหรือเพอริเฟอรัล และ pin layout โดยมีอินเทอร์เฟซในรูปแบบของเมนูเครื่องมือ นอกจากนี้ MCC ยังสามารถสร้างโค้ดสำหรับบอร์ดพัฒนาที่เฉพาะเจาะจงได้ อาทิ Microchip's Curiosity ATMega4809 Nano (DM320115) development board และบอร์ดพัฒนา AVR Xplained ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีคอมไพเลอร์ (compiler) และดีบักเกอร์/โปรแกรมเมอร์ (debugger/programmer) ให้นักพัฒนาเลือกมากขึ้น เมื่อแปลและเขียน AVR MCUs โดยใช้ MPLAB X IDE 5.05 สำหรับตัวเลือกคอมไพเลอร์นั้นประกอบไปด้วย AVR MCU GNU Compiler Collection (GCC) หรือ MPLAB XC8 C Compiler ที่ทำให้นักพัฒนามีเทคนิคเพิ่มเติมในการปรับปรุงซอฟต์แวร์ขั้นสูง (software optimization) เพื่อช่วยลดขนาดโค้ด นอกจากนี้ นักออกแบบยังสามารถเร่งการเขียนโปรแกรมและแก้ไขบั๊ก โดยใช้เครื่องมือ MPLAB PICkit(TM) 4 programmer/debugger หรือเครื่องมือที่เพิ่งออกใหม่อย่าง MPLAB Snap
"ไมโครชิพจะยังคงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ มากขึ้น พร้อมยกระดับประสบการณ์การพัฒนาสำหรับลูกค้าของเรา" สตีฟ เดรฮอบล์ รองประธานธุรกิจ MCU 8 บิตของไมโครชิพ กล่าว "การเพิ่ม AVR MCUs เข้ามาในระบบนิเวศ MPLAB จะช่วยให้นักออกแบบที่คุ้นเคยกับ MPLAB X IDE มี MCU ให้เลือกมากขึ้น ส่วนโปรแกรมเมอร์ที่เคยชินกับการใช้ AVR MCU แบบเดิม ก็ยังคงใช้งาน Atmel Studio 7 ต่อไปได้ เพราะเรายังคงมอบการสนับสนุนอุปกรณ์ใหม่ เพิ่มการยกระดับ และดำเนินการแก้ไขบั๊กที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง"
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MPLAB IDE เวอร์ชั่นใหม่ รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุน สามารถดูได้ที่ www.microchip.com/MPLABX
เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนา
บอร์ดพัฒนาส่วนใหญ่ที่เปิดให้ประเมินผลและโปรแกรม AVR MCUs นั้น ได้รับการสนับสนุนโดยระบบนิเวศ MPLAB และ MCC โดยบอร์ดพัฒนา Xplained สามารถใช้งานได้กับ START และล่าสุดยังใช้งานได้กับ MPLAB X IDE อีกด้วย Xplained เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าและถูกผนวกรวมเข้ากับแพลตฟอร์มพัฒนา MCU อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานครั้งแรก มืออาชีพ หรือผู้ที่ต้องการบอร์ดสร้างต้นแบบรวดเร็วที่มีฟีเจอร์ครบครัน แพลตฟอร์ม Xplained มาพร้อมอุปกรณ์ programmer/debugger ในหนึ่งเดียว และไม่จำเป็นต้องติดตั้งฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมแต่อย่างใด
การวางจำหน่าย
MPLAB X IDE เวอร์ชัน 5.05, MPLAB XC8 C Compiler และ AVR MCU GCC เปิดให้ใช้งานฟรีบนเว็บไซต์ของไมโครชิพ ขณะที่เครื่องมือพัฒนา MPLAB PICkit 4 (PG164140), MPLAB Snap (PG164100) และ ATMEGA4809 Curiosity Nano Board (DM320115) มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ กรุณาดาวน์โหลด MPLAB X IDE เพื่อดูรายชื่อเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนา
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อพนักงานขายหรือตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับแต่งตั้งจากไมโครชิพ หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพ และสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้ที่ microchipDIRECT ซึ่งเป็นช่องทางบริการอย่างเต็มรูปแบบของไมโครชิพ หรือติดต่อพันธมิตรจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากไมโครชิพ
แหล่งข้อมูลและภาพ
รูปภาพความละเอียดสูงได้ที่ Flickr หรือติดต่อกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก):
- ภาพกราฟิกการใช้งาน: www.flickr.com/photos/microchiptechnology/42931226230/sizes/l