ประชาสัมพันธ์
องค์การสุขภาพสัตว์โลก (โอไออี) เพื่อแก้ไขปัญหาโรคระบาดสัตว์
ลดปัญหาเชื้อดื้อยาโดยOIE เสนอช่วยไทยสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในฐานะประเทศสมาชิก"
"รมว กษ หารือ ผอ.ใหญ่องค์การสุขภาพสัตว์โลก (โอไออี) เพื่อแก้ไขปัญหาโรคระบาดสัตว์ และลดปัญหาเชื้อดื้อยาโดยOIE เสนอช่วยไทยสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในฐานะประเทศสมาชิก"
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือกับ ดอกเตอร์โมนิก เอลัว ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organisation for Animal Health หรือ โอไออี) ในระหว่างการประชุมระดับโลกว่าด้วยการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา
ดร. โมนิก เอลัว แจ้งว่าโอไออียินดีให้การสนับสนุนมาตรการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ในไทยและพร้อมมอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่ประเทศไทย ในฐานะที่ไทยมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าที่ผ่านมาด้วย
นอกจากนี้ โอไออี เตรียมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์ความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบสัตวแพทย์บริการ (OIE Collaborating Center on Veterinary Services Capacity Building) ซึ่งมีเพียง 5 แห่งทั่วโลก ในประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อาเจนตินา เซเนกัล และไทย โดยโอไออีจะใช้ศูนย์ความร่วมมือดังกล่าวเป็นฐานในการฝึกอบรมสัตวแพทย์ในแต่ละภูมิภาคให้มีความรู้ความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในการควบคุมโรคสัตว์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โอไออี เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานด้านสุขภาพสัตว์ และกฎระเบียบด้านการค้าสินค้าสัตว์บกและสัตว์น้ำระหว่างประเทศ (International setting body) มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 182 ประเทศ สำนักงานใหญ่ของโอไออี ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
รมว เกษตร เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา OIE ได้รับรองให้ประเทศไทย โดยกรมปศุสัตว์จัดตั้งห้องปฏิบัติการแลบอ้างอิง สำหรับโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคแท้งติดต่อในโค กระบือ แพะ แกะ (OIE Reference Laboratory) ซึ่งเป็นโรคระบาดที่สำคัญและใช้เป็นข้อกีดกักทางการค้า
รมว เกษตรฯ ขอบคุณ OIE ที่ได้จัดตั้งสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ทำให้หน่วยงานของไทย เช่น กรมปศุสัตว์ กรมประมง มกอช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประสานความร่วมมืออย่างดี กับ ไอไออี เสมอมา
รมว เกษตร กล่าวในตอนท้ายว่าประเทศไทยยินดีให้ความร่วมมือกับ โอไออี ในการแก้ไขปัญหาโรคระบาดสัตว์ และลดปัญหาเชื้อดื้อครับยาในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกต่อไป.