7 ขั้นตอน การตรวจสอบ SEO ให้เว็บไซต์คุณติดหน้าแรกบน Google | รับทำ SEO
การตรวจสอบ SEO เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีการจัดอันดับบน Google ที่ดีมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการเข้าถึงของกลุ่มลูกค้าของคุณก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน
อย่างที่ทราบกันดีว่า บนเว็บไซต์ออนไลน์มีการอัปเดตอัลกอริทึม (Algorithm) และมีการพิจารณาการจัดอันดับใหม่อยู่เป็นประจำ ทำให้เราต้องมีการพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม รวมถึงต้องมีการตรวจสอบ SEO
ซึ่งวันนี้เราก็มี 7 ขั้นตอน การตรวจสอบ SEO มาฝากทุกคนกัน หรือหากคุณกำลังมองหาเอเจนซี่ การตลาดออนไลน์ สามารถติดต่อบริษัทรับทำ SEO ที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ ได้เช่นกัน
1. สร้างไฟล์เพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณ
อันดับแรก ก่อนการตรวจสอบ SEO คุณจำเป็นต้องสร้างไฟล์หนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ในการจัดเก็บข้อมูลของคุณ คลิกที่นี่ เพื่อเปิดเข้าไปสู่หน้าเปรดชีตของ Google ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้คุณมีที่เก็บข้อมูลการตรวจสอบ SEO ของคุณได้ จากนั้นให้เลือก "File" แล้วเข้าไปที่เมนู “Make a copy” เพื่อทำสำเนาข้อมูล
เมื่อคุณทำการตั้งชื่อไฟล์แล้ว ไฟล์นั้นจะถูกบันทึกเป็นสเปรดชีตส่วนตัวของคุณเอง ซึ่งมีเพียงคุณเท่านั้นที่เห็นสเปรดชีตส่วนตัวนั้น
เมื่อคุณทำสำเนาแล้ว ให้ตรวจสอบตัวอย่าง จากนั้นล้างข้อมูลเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับข้อมูลของคุณ
- เลือกแท็บการตรวจสอบเนื้อหา (Content Audit)
- เลือกเซลล์ A2
- ในขณะที่กดปุ่ม Shift ค้างไว้ ให้เลื่อนไปที่ Z24 จากนั้นคลิกเพื่อเลือกส่วนทั้งหมด (Entire Section)
- เลือกแก้ไข (Edit) จากเมนู
- เลือกลบค่า (Delete Values)
คุณสามารถทำขั้นตอนเดียวกันนี้กับแท็บอื่น ๆ ที่คุณต้องการใช้ได้
2. รวบรวมรายการหน้าเนื้อหา
เมื่อคุณกำลังจะเริ่มการวิเคราะห์ คุณจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ อย่างเช่น Screaming Frog หรือ Google Analytics เพื่อส่งออกรายการหน้าเนื้อหาปัจจุบันทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณ
การติดตั้ง Screaming Frog SEO Spider ทำได้ดังนี้
1. ดาวน์โหลดโปรแกรมจาก Screaming Frog
2. ติดตั้งโปรแกรม (ให้คลิกถัดไป (Next) สองครั้ง เพื่อใช้ค่าเริ่มต้น จากนั้นปิดโปรแกรมติดตั้ง (คลิก close) เพื่อเริ่มต้นการใช้งาน)
3. เรียกใช้ Screaming Frog SEO Spider
4. ป้อน URL สำหรับเว็บไซต์ของคุณแล้วคลิกเริ่ม (start)
5. เลือก HTML เป็น Filter ของคุณ (ดูด้านซ้ายบน)
6. เลือกคอลัมน์แรก
7. คัดลอกและวางผลลัพธ์ลงในสเปรดชีต
8. นอกจากนี้ยังสามารถคัดลอกและวางคอลัมน์อื่น ๆ เช่น หัวข้อ 1 (Title 1) จำนวนคำ และอื่น ๆ ลงในสเปรดชีตของคุณได้เช่นเดียวกัน
3. เริ่มทำการวิเคราะห์
การวิเคราะห์เว็บไซต์ โปรแกรมที่เรามักจะใช้กันบ่อย ๆ นั่นก็คือ Google Analytics สามารถบ่งบอกคุณภาพของเว็บไซต์จากปัจจัยหลายด้าน เช่น ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ เวลาที่ผู้เยี่ยมชมใช้ในเว็บไซต์ของคุณ (Time on Site)
ซึ่งถ้ามีจำนวนมากหรือปริมาณสูงก็แสดงว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพสูง โดนใจผู้เข้าชม และมีโอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะสนใจสินค้าและบริการบนเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมี สัดส่วนของการเข้าชมเว็บไซต์เพียงหน้าเดียว (Bounce Rate) ซึ่งเป็นปริมาณของผู้เข้าชมที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณเพียงแค่หน้าเดียวแล้วปิดไป ซึ่งตรงจุดนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า เว็บไซต์ของคุณกำลังมีปัญหา อาจมีคอนเทนต์ที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่โดนใจผู้ชมมากพอให้กดอ่านในหน้าต่อไป
วิธีการวิเคราะห์ให้ทำการใส่ข้อมูลที่ต้องการเหล่านี้ลงในแท็บการตรวจสอบเนื้อหา (Content Audit Tab) ข้อมูลเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในคอลัมน์ที่ขึ้นต้นด้วย GA นอกจากนี้ยังสามารถใช้สเปรดชีตให้ติดตามและวิเคราะห์บนโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook, Google+, Twitter และ Pinterest ได้อีกด้วย
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญ นั่นก็คือ คุณจำเป็นต้องป้อนการดำเนินการ กลยุทธ์ ชื่อเรื่อง และคำอธิบายเนื้อหาอย่างย่อ (Meta-Description) สำหรับแต่ละรายการ แล้วข้อมูลเหล่านี้จะถูกคัดลอกไปยังแท็บอื่นได้โดยอัตโนมัติ และถ้าเป็นไปได้ คุณควรหาเครื่องมือวิเคราะห์อื่นที่นอกเหนือจาก Google Analytics เช่น Cyfe มาทำการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มุมมองอื่นที่แตกต่างออกไป และสามารถพัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้มีคุณภาพสูงได้มากยิ่งขึ้น
4. วิเคราะห์คำหลัก (Keywords) บนเว็บไซต์ของคุณ
การวิเคราะห์เกี่ยวกับคำหลัก หรือ Keywords ไม่สามารถใช้ได้ใน Google Analytics แต่คุณสามารถรู้ได้ว่าคีย์เวิร์ดใดที่ส่งผลต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณมากที่สุดได้โดยการจ่ายสำหรับการเข้าชมแบบจ่ายต่อคลิก หรือ Pay Per Click (PPC) ซึ่งเป็นการลงโฆษณาบนหน้าผลการค้นหากับ Search Engine อย่าง Google Ads (Google AdWords) โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีการคลิกโฆษณา
วิธีการวิเคราะห์คำหลักจาก PPC นั่นก็คือ คุณสามารถวาง URL ของคุณลงในเมทริกซ์คำหลัก จากนั้นกรอกข้อมูล ชื่อ คำหลักที่สำคัญที่สุด และคำหลักอื่น ๆ รวมถึงข้อมูลบางอย่างบนแท็บเมทริกซ์คำหลัก เช่น กลยุทธ์ คำอธิบายย่อ จำนวนคำ สามารถเพิ่มแบบอัตโนมัติได้จากข้อมูลที่แสดงในแท็บการตรวจสอบเนื้อหา นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มคำหลักได้ในการจ่ายต่อคลิกหรือ PPC เพื่อเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณได้อีกด้วย
5. ทดสอบความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ของคุณ
อย่างที่ทราบกันดีว่า ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บอาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับของเครื่องมือค้นหา (Search Engine) ซึ่งหากเวลาที่ใช้ในการโหลดหน้าเว็บของคุณช้าลงไป 1 วินาที นั่นก็อาจจะทำให้จำนวนการเข้าชมหน้าเว็บของคุณลดลงไปมากถึง 11% และเกิดการสูญเสีย Conversion (การกระทำของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการให้ทำหรือต้องการให้เกิดขึ้น) 7% ตามข้อมูลของกลุ่มอเบอร์ดีน (Aberdeen Group)
เครื่องมือวิเคราะห์ยอดนิยม อย่าง Google Analytics สามารถแสดงให้คุณเห็นได้ว่า หน้าเว็บในเว็บไซต์ของคุณใช้เวลาในการโหลดนานเท่าไหร่ ความเร็วของหน้ากูเกิลและเครื่องมือ (The Google page speed and site tool) คลิกที่นี่ จะเป็นตัวให้คะแนนความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ รวมถึงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์อีกด้วย
6. เติมเนื้อหาของคอนเทนต์ให้สมบูรณ์
นอกจากคุณจะต้องตรวจสอบเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูล และติดตามคุณภาพบนเว็บไซต์ของคุณแล้ว การวางแผนเพื่อเพิ่มเติมเนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่ดีและมีคุณภาพสูงก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม
เพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีมากยิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์อยู่เสมอจะช่วยให้อันดับเว็บไซต์ของคุณอยู่ในอันดับที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้เข้าชม และช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น (อาจส่งผลให้ยอดขายบนเว็บไซต์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้อีกด้วย) ซึ่งคุณสามารถวางแผนเนื้อหาที่ต้องการเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ในอนาคตได้โดยการใช้แท็บช่องว่างของเนื้อหาในสเปรดชีตคุณ
7. ตรวจสอบลิงก์ย้อนกลับของคุณ (Backlinks)
อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการเข้าชมและคุณภาพของเว็บไซต์ที่คุณพลาดไม่ได้เมื่อทำการตรวจสอบ SEO บนเว็บไซต์ของคุณ นั่นก็คือ การตรวจสอบลิงก์ย้อนกลับ หรือ Backlinks ซึ่งบางเว็บไซต์อาจใช้ลิงก์เพื่อย้อนกลับมาบนเว็บไซต์ของคุณ บางครั้งหากเป็นลิงก์ย้อนกลับที่น่าสงสัยก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเว็บไซต์ของคุณได้เช่นกัน
คุณสามารถตรวจสอบลิงก์ย้อนกลับของคุณได้โดยใช้ Google Webmaster Tools ได้แก่
- เลือกแท็บปริมาณการค้นหา (Select the Search Traffic tab)
- เลือกลิงค์ไปยังไซต์ของคุณ (Select Links to your site)
- เลือกเพิ่มเติม (Select More)
- เลือกลิงค์มากที่สุด (Select Links the most)
จากนั้นให้คุณดาวน์โหลดรายการทั้งหมดและตรวจสอบไซต์ที่น่าสงสัย ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของคุณ หากคุณพบเว็บไซต์ที่คุณไม่ต้องการรับลิงก์ย้อนกลับ คุณสามารถติดต่อเว็บไซต์เหล่านั้นหรือใช้ Google Disavowal Tool เพื่อเพิกเฉยต่อลิงก์ได้ จากนั้นให้ตรวจสอบส่วนที่เป็น "วิธีการเชื่อมโยงข้อมูลของคุณ (How your data is linked)" และตรวจสอบข้อความที่คลิกเข้าสู่ลิงก์ย้อนกลับ (Anchor Texts) เพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมกัน
หากคุณพบไซต์ที่เชื่อมโยงกับข้อความที่คุณไม่ชอบหรือคิดว่าไม่เหมาะสม คุณสามารถติดต่อไซต์เหล่านั้นและขอให้เปลี่ยนลิงก์ได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่สามารถช่วยให้คุณตรวจสอบลิงก์ย้อนกลับของคุณได้ เช่น Moz และ Ahrefs