การประชุมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่ ๑.๕ องศาเซลเซียส
ภาวะโลกร้อนที่ ๑.๕ องศาเซลเซียส (Special Report on Global Warming of 1.5 °C) และรายงานพิเศษเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและที่ดิน (Special Report on Climate Change and Land)
ผลการศึกษารายงานพิเศษเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่ 1.5 องศาเซลเซียส และรายงานพิเศษเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและที่ดิน
1. รายงานพิเศษเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่ 1.5 องศาเซลเซียส
สถานการณ์ปัจจุบัน
จากข้อมูลปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) พบว่ากิจกรรมของมนุษย์ได้ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นประมาณ 1 oC เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และคาดว่าภาวะโลกร้อนที่ 1.5 oC จะเกิดขึ้นภายในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2563) การหลีกเลี่ยงภาวะ
โลกร้อนที่ 1.5 oC มีความเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่ 1.5 และ 2 องศาเซลเซียส “เพียงการร้อนขึ้นครึ่งองศา สร้างความแตกต่างในแง่ผลกระทบได้อย่างมาก”ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแม้ว่าจะเป็นวงกว้าง แต่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่เปราะบางเช่น กลุ่มเกษตรกรหรือผู้อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ประชากรที่ยากจนในแอฟริกาและบริเวณเกาะขนาดเล็กต่างๆ ทางเลือกในการปรับตัวก็จะมี trade-off เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีความสัมพันธ์กับ SDGs ต่างๆ โอกาสในการจำกัดภาวะโลกร้อนที่ 1.5 องศาเซลเซียส และความจำเป็นสำหรับการดำเนินงานที่เร่งด่วน
การจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ 1.5 °C ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (transformative systematic change) 4 ระบบหลัก คือ 1) ระบบพลังงาน 2) การใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบนิเวศ 3) ระบบเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน และ
4) ระบบอุตสาหกรรม และมีเครื่องมือเชิงนโยบายที่หลากหลาย เช่น การลดการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้นวัตกรรม กลไกด้านราคา และเครื่องมือเชิงนโยบายระหว่างประเทศ
เทคโนโลยี Carbon Dioxide Removal (CDR) เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อทุกวิถีการลดก๊าซเรือนกระจก โดยช่วยให้มุ่งไปสู่จุดที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ได้เร็วขึ้น เช่น การปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตพลังงานชีวภาพควบคู่กับการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Bio-Energy with Carbon Capture and Storage: BECCS) คาดว่าการใช้งานส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 21
2. รายงานพิเศษเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและที่ดิน
สถานการณ์ปัจจุบัน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการพื้นที่สร้างผลผลิตชีวภาพ (biological productivity) ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ของโลก พื้นที่เพาะปลูก (Croplands) เพื่อตอบสนองความต้องการอาหารประมาณ 12–14% ของพื้นที่ของโลก ส่งผลต่อความต้องการในการใช้ปุ๋ย การใช้น้ำในระบบชลประทานเพื่อกระบวนการผลิตของภาคเกษตร และพื้นที่ป่าไม้ถึง 60-85% รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อีกถึง 70-90% ตลอดจนการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ 11-14%
ผลกระทบจากมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ภาคการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Agriculture, forestry and other land use: AFOLU) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคิดเป็น 23% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของโลก การทำลายป่า (deforestation)
3) มาตรการป้องกันและลดความเสื่อมโทรมของที่ดิน มาตรการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน การฟื้นฟูฟื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูระบบนิเวศ การแปรสภาพที่ดินเป็นทะเลทราย การแปรสภาพที่ดินเป็นทะเลทราย (desertification) อาจเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และความแปรปรวนของภูมิอากาศ เช่น การขยายพื้นที่เพาะปลูก การจัดการที่ดินที่ไม่ยั่งยืน เป็นต้น แนวทางการรับมือกับภัยแล้ง ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือและชดเชยความเสียหาย การจัดทำแผนเพื่อเตรียมรับมือกับภัยแล้ง การบรรเทาความเสี่ยงจากภัยแล้งโดยใช้มาตรการเชิงรุก และการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบในอนาคต ความมั่นคงทางอาหาร
ความมั่นคงทางอาหารจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ระบบทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์จะมีความเปราะบาง (Vulnerability) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูงมาก รวมถึงการผลิตผักและผลไม้ก็มีความอ่อนไหวเช่นกัน โดยเฉพาะผลผลิตที่ลดลงจากความเครียดจากความร้อนที่เพิ่มขึ้นในเขตร้อนชื้นหรือกึ่งร้อนชื้น
ท้ายที่สุด ในการที่จะลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และการปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและที่ดิน ยังคงเป็น ความท้าทายที่สำคัญของทุกประเทศที่ต้องร่วมมือกันตามบริบทของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งมีหลายมิติที่เชื่อมโยงและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยตรงและโดยอ้อม และส่งผลกระทบและนำไปสู่ปัญหาด้านอื่น ๆ เช่น ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น ดังนั้นปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนานโยบาย และการนำเครื่องมือด้านนโยบายต่าง ๆ ไปใช้ ขึ้นอยู่กับมุมมองภาครัฐที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและเชื่อมโยงนโยบายอื่น ๆ แบบบูรณาการ และภาครัฐเองเป็นหน่วยงานที่ ขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยต้องส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือของทุกภาคส่วน