CPF ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมแนะใช้หลัก 3C PLATFORM ผลิตอาหารปลอดภัย หนุนอุตฯ ไก่เนื้อไทยเติบโตยั่งยืน

CPF ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมแนะใช้หลัก 3C PLATFORM ผลิตอาหารปลอดภัย หนุนอุตฯ ไก่เนื้อไทยเติบโตยั่งยืน

CPF ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมแนะใช้หลัก 3C PLATFORM ผลิตอาหารปลอดภัย หนุนอนาคตอุตฯ ไก่เนื้อไทยเติบโตยั่งยืน อันเป็นหนึ่งในเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ของบริษัท

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ชูหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare)  พร้อมแนะนำหลักการ 3C PLATFORM ตอบโจทย์อุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยสู่ความยั่งยืนในอนาคต ผลิตอาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั่วโลก

CPF ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมแนะใช้หลัก 3C PLATFORM ผลิตอาหารปลอดภัย หนุนอุตฯ ไก่เนื้อไทยเติบโตยั่งยืน

นายสัตวแพทย์พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ เป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกที่มุ่งมั่นผลิตอาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และใส่ใจในกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนการผลิต ยึดมั่นแนวทางปฏิบัติและประกาศนโยบายด้านสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare Policy) มุ่งเน้นสุขภาพที่ดีของคน สัตว์ และดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่เคร่งครัดทั้งกิจการในประเทศไทยและต่างประเทศ พร้อมกันนี้ กำหนดนโยบายด้านสวัสดิภาพสัตว์ เป็นหนึ่งในเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ของบริษัท
 

นอกจากนี้ หลักสวัสดิภาพสัตว์ หรือหลักอิสระ 5 ประการ ที่ ซีพีเอฟ ยึดเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานแล้ว บริษัทฯ ยังคำนึงถึงปัจจัยสู่ความสำเร็จในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ภายใต้หลักการ 3C PLATFORM ดังนี้

ปัจจัย 1C – Consolidation

1C – Consolidation คือ การใช้ประโยชน์จากปัจจัยความสำเร็จหรือจุดแข็งของอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่  เริ่มต้นจากที่ฟาร์มซึ่งมีหัวใจหลักในการเลี้ยงสัตว์  4 ประการ คือ

  1. ระบบป้องกันโรคขั้นสูง  ซึ่งซีพีเอฟร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ จัดทำระบบคอมพาร์ทเมนต์สัตว์ปีก ปลอดโรคไข้หวัดนก (Compartment) ตามมาตรฐานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เพื่อป้องกันโรคเชิงรุกขั้นสูงสุด ด้วยการใช้หลักการประเมินความเสี่ยง เพื่อนำมากำหนดมาตรการปฏิบัติที่ตรงจุดของความเสี่ยงเกิดโรค โดยเชื่อมโยงทั้งห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ โรงงานอาหารสัตว์ สู่ฟาร์มและโรงงานแปรรูป
  2. การเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ถูกต้องตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี "ไก่ได้อยู่ดีมีความสุข" ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของอาหารตอบโจทย์สุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)  
  3. ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยง
  4. การมีจิตสำนึกของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างหลักประกันด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต ตลอดจนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อสมดุลสิ่งแวดล้อมที่ดี และการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานที่ดี  

ปัจจัย 2C-Contribution  

ปัจจัย 2C-Contribution คือ การสนับสนุนการใช้นวัตกรรมต่อยอดธุรกิจ ด้วยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้จริง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ควบคู่กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการ BCG Model เช่น การนำ ไบโอเทคโนโลยี มาเชื่อมโยงทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ (Feed) ฟาร์มปศุสตว์ (Farm) จนถึงการแปรรูปอาหาร (Food) เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทางเลือกลดการนำเข้า ขณะเดียวกันทำให้เกิดความแม่นยำในการพัฒนาสูตรอาหารตามพันธุกรรมของสัตว์ (Precision Nutrition) รวมทั้งให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษา หรือองค์กรภาครัฐได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการผลิตวัคซีนป้องกันโรคที่ตรงกับสาเหตุก่อโรค (Autogenous vaccine) สำหรับปศุสัตว์ไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศและเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ สนับสนุนแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach) คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มีสุขภาพดี  ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคอุบัติใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น

ปัจจัย 3C – Collaboration

ปัจจัย 3C – Collaboration คือ การผนึกกำลังอย่างเข้มแข็งสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน สถาบันการศึกษา โดยมีเป้าหมายในการมุ่งพัฒนา Product Champion ของประเทศไทย เช่น มุ่งเน้นความร่วมมือในการผลิตและส่งออกเนื้อไก่โดยคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน  

"ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อยกระดับการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซี่งปัจจุบันสัตว์ในฟาร์มของบริษัท 100% ได้รับการเลี้ยงตามหลักอิสระ 5 ประการ ภายใต้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและสมเหตุสมผล สร้างหลักประกันเนื้อสัตว์คุณภาพดี และอาหารปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค" นายสัตวแพทย์พยุงศักดิ์ กล่าว

นายสัตวแพทย์พยุงศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ซีพีเอฟ นำเทคโนโลยี smart farm มาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มไก่เนื้อ โดยติดตั้งระบบอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติในการประมวลผลข้อมูลในฟาร์ม ช่วยควบคุมการจัดการฟาร์ม เพื่อให้ไก่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมตลอดช่วงการเลี้ยง เช่น ระบบ Smart Eyes สามารถติดตามการกินอาหารและน้ำของสัตว์แบบ Real-Time ช่วยลดความเสี่ยงของโรคและพาหะของโรคจากการสัมผัสจากคน

ทั้งนี้ ในปี 2564 ซีพีเอฟ ได้รับการปรับเลื่อนชั้นมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์จากองค์กรสากลระดับโลก ขึ้นจาก Tier 4 สู่ Tier 3 ในรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW) ซึ่งให้ความเชื่อมั่นว่า ซีพีเอฟ มุ่งมั่นรักษามาตรฐานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์อย่างต่อเนื่อง

CPF ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมแนะใช้หลัก 3C PLATFORM ผลิตอาหารปลอดภัย หนุนอุตฯ ไก่เนื้อไทยเติบโตยั่งยืน CPF ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมแนะใช้หลัก 3C PLATFORM ผลิตอาหารปลอดภัย หนุนอุตฯ ไก่เนื้อไทยเติบโตยั่งยืน