“NIDA” ระดมกูรูตลาดทุน เปิดหลักสูตร "AM-IPO" เตรียมความพร้อมผู้บริหารก่อนนำบริษัทเข้า IPO ในตลาดหุ้น
“NIDA” ระดมนักวิชาการ - กูรูตลาดทุน เปิดหลักสูตร "AM-IPO" หลักสูตรเตรียมความพร้อมนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับผู้บริหารยุคใหม รู้ลึกทุกด้านก่อนนำบริษัทจดทะเบียน “IPO” นำบริษัทเข้าระดมทุนตลาดหุ้น เปิดรับสมัครถึงวันที่ 14 ก.ค.นี้
รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดเผยว่า NIDA ได้จัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (Advanced Master of Initial Public Offering, AM-IPO) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหารของบริษัทเอกชนที่มีแผนที่จะนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยหลักสูตรนี้ สอนโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ เช่น ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) (พ.ศ.2554-2558) คุณสิริวิภา สุพรรณธเนศ อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คุณจอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
คุณประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กรและหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คุณพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด คุณไพบูล ตันกูล Partner สายงานตรวจสอบบัญชี บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด (PwC Thailand) เป็นต้น
ผู้สำเร็จหลักสูตรนี้จะได้รับ ประกาศนียบัตรหลักสูตร "Advanced Master of Initial Public Offering” โดยการอบรมใช้ระยะเวลา 6 วัน รวม 36 ชั่วโมง ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม – 1 กันยายน พ.ศ.2566 กำหนดอบรมสัปดาห์ละ 1 วัน ทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ค่าใช้จ่ายในการอบรม 45,000 บาทต่อคน รวมค่าอาหาร และเอกสารในการอบรม
ทั้งนี้ ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานโครงการหลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (Advanced Master of Initial Public Offering, AM-IPO) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 10 118 ถ.เสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์: 061-2616945 (คุณเบญจพร) Facebook : E-mail: [email protected]
รศ.ดร.มนตรี กล่าวด้วยว่าปัจจุบันกลไกของตลาดทุนและกระบวนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะช่วย ให้ธุรกิจมีทางเลือกในการได้มาซึ่งแหล่งเงินในการดำเนินธุรกิจที่มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง และมีทางเลือก มากขึ้นจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจ และช่วยเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศใน ระยะยาว
หลักสูตรนี้จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้เจ้าของกิจการและผู้บริหารในการนำบริษัทเข้าจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสร้างความเข้าใจถึงการบริหารการเงินยุคใหม่ ตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจในตลาดทุน กลไกการทำงานและประโยชน์ โครงสร้างและกลไกของตลาดหลักทรัพย์ของไทย
รวมทั้งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ และสร้างความเข้าใจถึงบทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการและขั้นตอนของการนำบริษัทเข้าจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยละเอีย
สำหรับองค์ประกอบของหลักสูตร และวิชาที่น่าสนใจ ได้แก่
- การจัดการการเงินและตลาดการเงิน
- การเงินธุรกิจสมัยใหม่
- ตลาดเงิน และตลาดทุน : กลไก การทำงาน และโอกาสทางการเงิน
- ตลาดหลักทรัพย์ : บทบาทและความสำคัญ
- การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ : กระบวนการ กลไกการทำงาน และบทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
- IPO Roadmap, Financial Advisors, Legal Advisors , Accounting Standard, Auditor ,Internal Control Underwriter, Investors
- การปรับโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์การบริหารธุรกิจ
- Business Restructuring and Good Governance
- Board of Director and Audit Committee 4
- Corporate Valuation
- Mergers and Acquisitions
- กรณีศึกษาและกิจกรรมเชิงปฏิบัติ (Workshop)
“ผู้เข้าอบรมจะได้รับ องค์ความรู้ด้านการเงินและตลาดทุน โครงสร้างและกลไกของตลาดหลักทรัพย์ไทย และกระบวนการ และขั้นตอนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับบริษัทที่เตรียมความพร้อมในการเข้าจด ทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้จะเรียนรู้จากกรณีศึกษาและประสบการณ์ที่ถ่ายทอดโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิด และประสบการณ์ ทางด้านธุรกิจจนสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจต่อกันในอนาคต” รศ.ดร.มนตรี กล่าว