สวทช.จัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries)”

สวทช.จัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries)”

สวทช.จัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries)”

(เมื่อเร็วๆนี้) ณ ห้อง MR 213 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา:กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์  (NSD) นำโดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวทช. และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษาหน่วยงานวิจัย และองค์กรเอกชนกำหนดจัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries) ” ภายใต้งาน METALEX 2022 มหกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลโลหการอันดับหนึ่งของอาเซียน เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ทั้งในเชิงนโยบายภาครัฐ และเชิงเทคนิค รวมทั้งแนวโน้มเทคโนโลยีในมุมมองของภาคเอกชน

การเสวนาในครั้งนี้จึงเป็นเวทีให้ผู้มีประสบการณ์ในสายงานนวัตกรรม เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน โดยเฉพาะแบตเตอรี่ ทั้งนักวิจัย ผู้บริหาร และนักนโยบาย มาให้คำแนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้ผู้เข้าร่วมฟังเสวนาทุกท่านได้มีแนวคิดใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอด ในสายงานวิจัย สร้างการเติบโตและความได้เปรียบในเชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าของเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานได้

 

สวทช.จัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries)”

 

สวทช.จัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries)”

 

สวทช.จัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries)”

 

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวทช.กล่าวว่า การเสวนาภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต” เป็นการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในกลไกหลักที่ขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG (Bio, Circular and Green Economy) อันเป็นโจทย์ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจเมื่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

ระบบกักเก็บพลังงานคือระบบ อุปกรณ์ วิธีการ หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการกักเก็บพลังงานไฟฟ้า ซึ่งกำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีการดำเนินการกำกับดูแลหรือมีธุรกิจที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid energy storage) ทั้งนี้เนื่องจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม จะมีความผันผวนค่อนข้างมาก ระบบกักเก็บพลังงานนั้นสามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้าให้สามารถตอบสนองต่อระดับความต้องการผลิตและความต้องการใช้ที่มีความผันแปรได้อย่างทันท่วงที เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานโดยเฉพาะแบตเตอรี่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน

 

สวทช.จัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries)”

 

สวทช.จัดงานเสวนา “นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next generation battery technologies powering the future industries)”

รูปแบบหนึ่งของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานที่มีการประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายคือ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่มีสมรรถนะที่ดีและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและสามารถประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ อย่างไรก็ตามแบตเตอรีลิเธียมยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน ในเรื่องของความปลอดภัย ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความจำกัดของแหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรที่ใช้

ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวทช.กล่าวเพิ่มว่า หนึ่งในสิ่งส่งมอบผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) คือ การรับมือต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน ซึ่งมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานในปัจจุบัน โดยมีการดำเนินการจัดตั้งโรงงานต้นแบบวิจัยแบตเตอรี่วัสดุทางเลือกที่มีความปลอดภัยสูง ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยแบตเตอรี่วัสดุทางเลือกที่มีความปลอดภัยสูง และสามารถเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Platform) สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เพื่อความมั่นคงและการใช้งานเชิงพาณิชย์ และสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทางเลือกภายในประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage system) ที่มีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบพลังงานหมุนเวียน

นอกจากนี้NSD ยังมีเครือข่ายพันธมิตรจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรเอกชน ที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงาน และการพัฒนาเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน โดยเฉพาะแบตเตอรี่ มีส่วนร่วมผลักดันงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การวิจัยพัฒนาวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการทำงานของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้าความจุสูงที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงโดยพึ่งพาทรัพยากรและการผลิตภายในประเทศ ร่วมกับ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน), การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ ร่วมกับบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด, และการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสี-แมงกานีสไดออกไซด์ในประเทศไทย กับบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) ดร.อดิสร กล่าวตอนท้าย