ซีพีเอฟ พัฒนาระบบเลี้ยงกุ้งด้วยการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ

ซีพีเอฟ พัฒนาระบบเลี้ยงกุ้งด้วยการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งที่ปลอดภัย สะอาด ปลอดโรคและสารปนเปื้อน โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมถึงพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ในการดูแลสัตว์น้ำ เพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ เพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร และสุขภาพของผู้บริโภค

น.สพ. พรชัย ทัศนวิสุทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ ได้ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ ในการเสวนาเรื่อง "อดีต ปัจจุบัน และทิศทางอนาคตของการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ" ในงานประชุมประชุมระดับชาติ เรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (National Aqua AMR Forum) โดยกล่าวว่า  ซีพีเอฟ ได้ประกาศนโยบาย "วิสัยทัศน์ระดับโลกด้านการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์" ตั้งแต่ปี 2560 ให้ทุกกิจการของซีพีเอฟทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกนำไปปฏิบัติ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย มีคุณภาพ และยั่งยืน แก่ผู้บริโภคทั่วโลก ตามวิสัยทัศน์การเป็น "ครัวของโลก"

ซีพีเอฟ พัฒนาระบบเลี้ยงกุ้งด้วยการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ  

ซีพีเอฟ ได้แบ่งนโยบายด้านการใช้ยาต้านจุลชีพฯ ออกเป็น 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

  1. ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์และใช้เพื่อการรักษาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านจุลชีพประเภทที่ใช้ทั้งในคนและสัตว์ (shared-class antimicrobials) และใช้เมื่อจำเป็นอย่างระมัดระวัง โดยจะเลือกใช้ยาสำหรับสัตว์เป็นลำดับแรก
  3. ค้นหาแนวทางใหม่ที่ดีกว่าในการดูแลสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) ลดความจำเป็นในการใช้ยาต้านจุลชีพ
  4. เพิ่มบทบาทของสัตวแพทย์ในการกำกับดูแลการใช้ยา และร่วมงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ด้านปัญหาเชื้อดื้อยา
  5. พัฒนาการตรวจติดตามเชื้อดื้อยาตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร 

ในการผลิตกุ้งของ ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) โดยนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เช่น ส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งในโรงเรือนระบบปิด การใช้ระบบกรองน้ำควบคู่ไปกับ Biofloc เพื่อจัดการแบคทีเรีย และของเสียต่างๆ ในบ่อเลี้ยงไปจนถึงการรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ใหม่ภายในฟาร์ม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการนำเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ระบบการเลี้ยง ยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาพันธุ์กุ้ง ใช้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลอดเชื้อ ทำให้ได้ลูกกุ้งที่สะอาด ปลอดเชื้อ อีกทั้งยังพัฒนาให้สายพันธุ์กุ้งเติบโตรวดเร็ว แข็งแรง และมีความต้านทานโรคสูง 

น.สพ. พรชัย ยังได้เน้นย้ำว่า ซีพีเอฟ ไม่มีการใช้ยาต้านจุลชีพ และสารเร่งการเจริญเติบโต (growth promoter) ในการเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชนิด อย่างไรก็ตาม เมื่อพบว่าสัตว์ป่วย ซีพีเอฟจะรักษาสัตว์ป่วยตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ โดยใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และมีระยะเวลาในการหยุดการใช้ยา นอกจากนี้ บริษัทฯ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพสัตว์น้ำ และสุ่มตรวจภาวะเชื้อดื้อยาเป็นประจำ 

ซีพีเอฟ พัฒนาระบบเลี้ยงกุ้งด้วยการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ  
 

บริษัทฯ ยังส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยนวัตกรรม และแนวทางใหม่ๆ ในการดูแลสัตว์น้ำเพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพ เช่น สนับสนุนการวิจัยวัคซีน สารสกัดจากธรรมชาติออกฤทธิ์ต้านจุลชีพ กระตุ้นภูมิคุ้มกันสัตว์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำปลอดยาปฏิชีวนะ(Raised without Antibiotics)   

ซีพีเอฟ ยังถ่ายทอดองค์ความรู้ใหักับเกษตรกร รวมไปถึงผู้บริโภค ในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนคณะทำงานด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบของเครือข่าย SeaBOS เป็นเครือข่ายความร่วมมือระดับสากลในการพิทักษ์มหาสมุทร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล เพื่อส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทะเลอย่างสมเหตุสมผลและมีความรับผิดชอบ ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในอาหารทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคทั่วโลก

ซีพีเอฟ พัฒนาระบบเลี้ยงกุ้งด้วยการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ ซีพีเอฟ พัฒนาระบบเลี้ยงกุ้งด้วยการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ ซีพีเอฟ พัฒนาระบบเลี้ยงกุ้งด้วยการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ