สกมช. แถลงผลการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 2565
สกมช. แถลงผลการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 2565 ทะลุเป้า ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมกว่า 4,000 คน พร้อมมอบโล่หน่วยงานดีเด่น
28 กันยายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. จัดงานแถลงข่าวความคืบหน้าของโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Intensive Cybersecurity Capacity Building Program) ระยะที่ 1 และมอบโล่เชิดชูเกียรติคุณเชิดชูเกียรติแก่องค์กรดีเลิศ และองค์กรดีเด่นด้านทางด้านการพัฒนาบุคคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ณ ห้องจูปิเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน โดยมี นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มากล่าวปาฐกถาถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และที่มาของโครงการฯ และนายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติเป็นประธานมอบโล่เชิดชูเกียรติในครั้งนี้
นายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวแสดงความชื่นชมและขอบคุณผู้บริหารหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในการเข้าร่วมรับการฝึกอบรมหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งในระดับพื้นฐาน เชี่ยวชาญ และผู้บริหาร รวมถึงกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ และเครือข่ายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของโครงการนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจ และความจำเป็นหลักของหน่วยงาน ในการพัฒนาไปหน่วยงานสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงการขับเคลื่อนภาพรวมของประเทศไทย ไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีหน่วยงานต้นแบบจำนวน 30 หน่วยงานที่ได้สนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมในโครงการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของ สกมช. เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในบริบทของโลกยุคดิจิทัล และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ในปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของเรากาลังพัฒนาเข้าไปสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เช่น เทคโนโลยี Blockchain หรือ เว็บ 3.0 เป็นต้น แต่ในทางกลับกันทั่วโลกยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในการเป็นเสาหลักให้แก่องค์กรหรือประเทศชาติในการ ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบต่างๆ ซึ่งมิจฉาชีพหรือผู้ไม่ประสงค์ดีได้ฉวยโอกาส จากปัญหาของการขาดแคลนบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นี้ เข้ามาโจมตีสร้างความเสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถ รวมถึงความรู้และความเข้าใจ ของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure) และตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2561 ซึ่งมีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ระยะเร่งด่วน และกรอบวงเงินงบประมาณโครงการโดยให้ของบประมาณจาก กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อดำเนินการ
พลอากาศตรี อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน มีเป้าหมายในการฝึกอบรมบุคลากรในโครงการจำนวน 3,200 คน และมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมจำนวน 4,145 คน มากกว่าเป้าหมายของโครงการคิดเป็น 129.53% และมีผู้ที่ได้รับสิทธิ์สอบและสอบผ่านได้รับประกาศนียบัตรสากลในโครงการ จนถึงปัจจุบัน จำนวน 1,141 คน และได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ อาทิ กิจกรรม Capacity Building NCSA และ CERT CII Cyber Training ซึ่ง สกมช. มีความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยและบริษัท restrospect labs จัดกิจกรรม Capacity Building NCSA และ CERT CII Cyber Training เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยจัดขึ้น 2 ครั้ง มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 150 คน และกิจกรรมสร้างเครือข่ายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสานความสัมพันธ์เพื่อความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ สร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และประสบการณ์ต่างๆด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในองค์กร โดยกำหนดจัดขึ้น 2 ระดับคือระดับพื้นฐานและระดับผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ เพื่อสร้างความยั่งยืนของการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศต่อไปในอนาคต ทาง สกมช. ได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทั้งระดับพื้นฐาน และเชี่ยวชาญ พร้อมจัดทำคลิปวีดีโอเพื่อใช้เป็น e-learning สำหรับกลุ่มคนที่สนใจ อาทิ นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ประชาชนทั่วไป และผู้พิการหรือทุพพลภาพ เพื่อเรียนและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรของ สกมช.
ทั้งนี้ จากการจัดฝึกอบรมได้มีหน่วยงานและองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เห็นความสำคัญและสนับสนุนส่งบุคลากรเข้าฝึกอบรม และเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ดังนั้น สกมช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม จึงได้จัดงานมอบโล่เชิดชูเกียรติคุณเชิดชูเกียรติแก่องค์กรดีเลิศ และองค์กรดีเด่นด้านทางด้านการพัฒนาบุคคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีรายชื่อหน่วยงาน ดังนี้
องค์กรดีเลิศด้านด้านทางด้านการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จำนวน 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
องค์กรดีเด่นด้านด้านทางด้านการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จำนวน 23 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กรมสรรพากร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ขนส่ง จำกัด การไฟฟ้านครหลวง โรงพยาบาลศิริราช บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมเจ้าท่า บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรมศุลกากร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรมควบคุมโรค
จากผลสำเร็จของโครงการฯ สกมช. เห็นถึง ประโยชน์ของหลักสูตรนี้กับประชาขนทุกช่วงวัย จึงได้นำมา พัฒนาเป็น ระบบ e-learning ที่เปิดให้ทุกคนเข้าใช้งาน และจะส่งเสริมให้ผู้พิการ สุภาพสตรี หรือกลุ่ม LGBTQ ได้มีโอกาสทำงานด้านไซเบอร์ให้มากขึ้นในปี 2566 และต่อไป