ไทยถึงช่วงเปลี่ยนผ่านโควิด19 จังหวัดส่วนใหญ่ขาลง จ่อระยะโรคประจำถิ่น 

ไทยถึงช่วงเปลี่ยนผ่านโควิด19 จังหวัดส่วนใหญ่ขาลง จ่อระยะโรคประจำถิ่น 

สธ.เผยแนวโน้มเสียชีวิตจากโควิด19 ลดลง ตายกว่า 90% ฉีดวัคซีนไม่ครบ ย้ำโอมิครอน 2เข็มไม่พอ ต้อง 3เข็มเท่านั้น  ระบุเดือนพ.ค.ไทยถึงช่วงเปลี่ยนผ่าน จังหวัดส่วนใหญ่เข้าสู่ระยะ3อยู่ขาลง จ่อการเป็นโรคประจำถิ่น  ย้ำทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อม Post Pandemic


       เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โควิด19 นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า สถานการณ์โควิด19 ผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ อยู่ในแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ช้าๆ  ในส่วนผู้เสียชีวิตแนวโน้มเริ่มลดลงเช่นเดียวกัน ตามสถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่ลดลง  ทั้งนี้  ข้อมูล 2 สัปดาห์ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.14% กรณีที่มีรายงานผู้เสียชีวิตลดลงในวันที่  2 พ.ค.2565 อยู่ที่ 84 รายนั้น มีการปรับระบบรายงาน  เนื่องจากระลอกโอมิครอนแจะแตกต่างจากเดลตา
     ซึ่งช่วงเดลตามีอาการค่อนข้างรุนแรง แม้เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เมื่อติดเชื้อ เกือบทั้งงหมดมีสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคโควิด19 แต่โอมิครอนมีอากรรุนแรงน้อยลง หรืออาการไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการ โดยมีคนป่วยโรคเรื้อรังซึ่งอาการมากขึ้นและอาการค่องข้างหนัก และมีการติดโควิดร่วมด้วย ทำให้ก่อนเสียชีวิตมีการตรวจพบเชื้อ จึงจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคให้ได้ว่า เสียชีวิตเกิดจากโรคเรื้อรังหรือสาเหตุจากโควิด
ปรับระบบรายงานเสียชีวิตโควิด19

     “ถ้าเสียชีวิตจากโรคเรื้อรังและติดโควิดด้วย จะถือเป็นผู้ป่วยเสียชีวิตที่คาดว่าจากโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่และติดโควิดร่วมด้วย ดังนั้น ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด19จะต้องเน้นย้ำกรณีผู้ที่ติดเชื้อและมีอาการจากโรคโควิด19เป็นหลัด จึงเป็นที่มีของการปรับระบบรายงานผู้เสียชีวิตเฉพาะที่เสียชีวิตจากโรคโควิด19”นพ.จักรรัฐกล่าว

เร่งวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ถึง 60% 
   นพ.จักรรัฐ กล่าวอีกว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่ม 84 ราย จะเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด19 ,ฉีดเข็มเดียวและรับเข็ม3มานานกเกิน 3 เดือนแล้วถึง  90 % เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนมีความจำเป็นในการลดคความรุนแรงของโรค เพื่อให้มั่นใจมีภูมิคุ้มกันที่จะลดการป่วยหนักและเสียชีวิต โดยเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย หากฉีด 2 เข็มลดการเสียชีวิตได้ 5 เท่าและหากฉีด 3 เข็มลดได้ถึง 31 เท่า  
       สำหรับ การฉีดวัคซีนสะสมในประเทศไทย เข็ม 1 อยู่ที่ 81 % เข็ม 2 อยู่ที่ 73.8% เข็ม 3 อยู่ที่ 37.4 % ซึ่งสต็อควัคซีนมีเพียงพอสำหรับทุกคนเพราะฉะนั้นขอให้เข้ารับการฉีดวัคซีนตามกำหนด โดยเฉาะกลุ่มผู้สูงอายุที่การฉีดเข็ม 3 ยังอยู่ที่ 41.5 % ซึ่งค่าวัคซีนที่จะลดได้ดีต้องฉีดแล้ว 60% ขึ้นไ ป  ขณะที่กลุ่มเด็ก5-11 ปี  อยากให้พาบุตรหลานวัยเรียนไปฉีดวัคซีนก่อนเปิดเทอม  ยังมีอีกประมาณ 2ล้านคนที่ยังไม่ได้ฉีดเข็ม 1 จะต้องเร่งฉีดมากขึ้น
คงเตือนภัยโควิดระดับ4

    “ขณะนี้ยังมีการเตือนภัยโควิด19อยู่ในระดับ 4 ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ยังจำเป็นต้องที่จะหลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีความเสี่ยงรวมกลุ่มคนมาก พยายามเลี่ยงให้ได้มากที่สุด ถ้าต้องเดินทางอย่าอยู่กับคนจำนวนมาก จะทำให้ลดการระบาได้เร็วขึ้นอีกนิด”นพ.จักรรัฐกล่าว   

ไทยถึงช่วงเปลี่ยนผ่านโควิด19 จังหวัดส่วนใหญ่ขาลง จ่อระยะโรคประจำถิ่น 

ภาคอีสานยอดติดเชื้อยังน่าห่วง  
   นพ.จักรรัฐ กล่าวอีกว่า หลายจังหวัดยังมีตัวเลขผู้ป่วยปอดอักเสบสูง แต่หลายจังหวัดลดลง เช่น กทม. จากวันละ 200 คน  ลดลงต่อเนื่อง โดยอัตรการครองเตียงเหลืองแดงที่ดูแลผู้ป่วยค่อนข้างหนัก ภาพรวมประเทศอยู่ที่  23 %  แต่การมีเตียงมากไม่สำคัญเท่าการฉีดวัคซีนมาก ซึ่งการฉีดวัคซีนจะป้องกันการป่วยหนักและเข้ารพ.ได้ จะได้ใช้เตียงในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆได้  ซึ่งตอนนี้สถานการณ์ติดเชื้อระบาดค่อนข้างมากเป็นวงกว้างจะอยู่ที่ภาคอีสาน ต้องติดตามสถานการณ์ในภาคอีสานต่อเนื่อง ส่วนภาคใต้ที่มีการระบาดค่อนข้างมากในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา อาจเป็นสาเหตุให้ช่วงนี้เริ่มลดลง

    “ที่ยังน่ากังวลคือพื้นที่ภาคอีสานที่กำลังมีการระบาดขาขึ้น และคาดว่าน่าจะมีตัวเลขเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอีก 2-3 สัปดาห์ และจากตัวเลขข้อมูล 3 ด้าน ทั้งยอดผู้ติดเชื้อรายวัน ยอดผู้ป่วยปอดอักเสบ และเสียชีวิตยังสูง เป็นอันดับต้นๆ ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งคือการฉีดวัคซีนมีปัญหามาก ฉีดน้อยทั้งเข็ม 1 เข็ม 2 และเข็มกระตุ้น โดยมองว่าเชื้อโอมิครอนไม่รุนแรง ติดเชื้อแล้วมีอาการไม่มาก เลยฉีดวัคซีนแค่ 2 เข็มพอ ซึ่งขอยยืนยันว่าวัคซีน 2 เข็ม ไม่เพียงพอต่อการป้องกันโอมิครอนได้ ต้อง 3 เข็ม ขึ้นไป ดังนั้นจึงต้องเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โดยเฉพาะผู้สูงอายุ”นพ.จักรรัฐกล่าว   
สถานการณ์โควิด19อยู่ขาลง

      ผอ.กองระบาดวิทยา กล่าวด้วยว่า  สถานการณ์ ผู้ติดเชื้อที่ยืนยันด้วยRT-PCRตอนนี้เป็นไปตามที่คาดการณ์น่าจะสามารถลดลงต่อเนื่องได้ ส่วนปอดอักเสบแนวโน้มเริ่มลดลง กรณีใส่ท่อช่วยหายใจคงต้องติดตามสถานกานสัปดานี้อีกครั้งว่ายอดผู้ติดเชื้อและปอดอักเสบที่ลดลงจะส่งผลหรือไม่ เพราะใส่ท่อช่วยหายใจรักษาค่อนข้างนาน จึงติดตามใน 2-4 สัปดาห์ข้างหน้า ส่วนผู้เสียชีวิตมีการปรับระบบรายงาน จากเสียชีวิตทุกรายที่ติดโควิด แต่เพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์ช่วงขาลง จึงปรับระบบให้ชัดขึ้นว่าผู้เสียชีวิต ขอให้รายงานเฉพาะที่ติดเชื้อปอดอักเสบจากโควิดและเสียชีวิตจากโควิดจริง จะได้เห็นสถานการ์ชัดเจนมากขึ้นเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและวางมาตรการ ต่อไป ได้ชัดเจนมากขึ้น
ช่วงเปลี่ยนผ่านโควิด19ในไทย 

    “กว่า 40 จังหวัดมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อลดลง หรือเริ่มทรงตัว และบางจังหวัดเริ่มเข้าสู่ระยะลดลง ซึ่ง ช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของประเทศ ที่จังหวัดส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระยะลดลงในเดือนนี้หรือเดือนหน้า  ตามเกณฑ์การพิจารณา ทั้งอัตราป่วยตาย การฉีดวัคซีนต่างๆที่จะเป็นเกณฑ์ที่จะเข้าสู่ระยะหลังโควิดระบาดแล้ว จึงย้ำว่าทุกจังหวัดช่วงขาลงนี้ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระยะ Post Pandemic”นพ.จักรรัฐกล่าว

     นพ.จักรรัฐ กล่าวอีกว่า ได้เสนอเข้า ศบค.ในการประชุมรอบที่แล้วคือ มอบหมายให้แต่ละจังหวัดจัดทำแผนการรับมือการเป็นโรคประจำถิ่น เช่น หากพบการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ จะมีมาตรการตรวจจับเร็ว และควบคุมโรคอย่างไร การเร่งฉีดวัคซีนให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มาตรการหน่วยงานองค์กรต้องช่วยกัน ดังนั้นภายในจังหวัดต้องจัดทำแผนของตัวเองและเสนอกลับมาส่วนกลางก่อน ก.ค.นี้  ทั้งนี้ทั้งนั้น การประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ต้องทำพร้อมกันทั้งประเทศ จะประกาศพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่งก่อนไม่ได้ เพราะยังมีการเดินทางไปมาหาสู่กัน เป้าหมายคือในเดือน ก.ค.นี้”นพ.จักรรัฐกล่าว
ฉีดวัคซีนเพิ่มรับเปิดประเทศ 
      ถามว่า เปิดประเทศมากขึ้นแต่ยอดฉีดเข็มกระตุ้นยังไม่มาก จะส่งผลต่อการระบาดในประเทศและการเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่ นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า 1 พ.ค.เริ่มผ่อนคลายเดินทางเข้าประเทศได้ง่ายขึ้น  จะมีผู้เดินทางเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งการฉีดวัคซีนไม่ได้ลดการระบาด ลดการติดเชื้อได้เล็กน้อยแต่ลดการป่วยหนักได้ เพราะฉะนั้นเป็นการป้องกันคนในประเทศให้มีภูมิคุ้มกัน ถ้ามีเชื้อเข้ามาจะช่วยให้ไม่ป่วยหนัก จึงจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ในขณะที่เปิดประเทศมากขึ้น โดยการฉีดวัคซีนเป็นเครื่องมือช่วยสร้างความมั่นใจว่ถ้ามีการระบาดสายพันธุ์นี้หรืออื่นๆ จะมีเครื่องมือป้องกันอยู่ในตัวทุกคนเรียบร้อย ทำให้มั่นใจว่าแม้ติดชื้อมากขึ้นแต่ประชาชนมีความปลอดภัย ลดอาการป่วยหนักลงได้ จึงเป็นเกณฑ์หนึ่งที่กำหนดเรื่องโรคประจำถิ่นต้องฉีดเข็มกระตุ้นให้ได้ 60 %ขึ้นไป แต่จะต้องดูปัจจัยอื่นด้วย

      “โอมิครอนทำให้คนส่วนใหญ่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ อาการคล้ายไข้หวัดมาก ทำให้หลายคนรักษาเองและไม่ได้รายงานเข้าระบบซึ่งไม่ได้รายงานมีส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้มาก ส่วนใหญ่จะประสานเข้าระบบ แม้จะใช้ตัวเลขรายงานจากการตรวจRT-PCRเป็นหลักแต่ก็สอดคล้องกับการตรวจATK   เพราะฉะนั้นตัวเลขที่ลดลงสะท้อนสถานการณ์จริงตอนนี้ได้”นพ.จักรรัฐกล่าว