เตรียมให้พร้อม!ตรวจร่างกาย เช็กคุณสมบัติ สอบสัมภาษณ์ทำงานบนเรือสำราญ
สถานการณ์โรคระบาดของ โควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบกับธุรกิจเรือสำราญ ค่อนข้างมากทีเดียว หลายบริษัทเรือไม่สามารถทนพิษเศรษฐกิจจากโควิดไม่ไหว
พนักงานทุกคนต้องล้างมือ ขั้นต่ำ 20 วินาทีและถูกต้องตามขั้นตอน การสวมถุงมือ ทุกครั้งที่ทำงาน และเปลี่ยนตลอด ทุกกี่ชม.
ตามที่ บริษัทกำหนด การสวม ผ้าปิดจมูก การทำความสะอาดด้วย แอลกอฮอล์ sanitize สำหรับส่วนของ ลูกค้าก็ เช่นกัน มีการตรวจ เรื่อง วัคซีนการ สวมใส่หน้ากากและการล้างมือก่อนเข้า ห้องอาหาร รวมถึงการ จำกัดจำนวนเก้าอี้และเส้นระยะห่าง
- เช็ก คุณสมบัติ ผู้สมัครทำงานบนเรือสำราญ
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า บริษัทจัดหางาน ทีเอสทีซี ไทย จำกัด ได้แจ้งต่อกรมการจัดหางานว่ามีความต้องการคนไทยไปทำงานบนเรือสำราญในตำแหน่งต่างๆ โดยนายจ้างจะออกค่าใช้จ่ายในส่วนของตั๋วเครื่องบินไป-กลับ ที่พักและอาหารตลอดระยะเวลาการทำงาน ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของนักศึกษาจบใหม่ ผู้มีประสบการณ์ทำงานบนเรือสำราญ ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาการโรงแรม และคนหางานที่มีทักษะภาษาอังกฤษ
คุณสมบัติผู้สมัครงานบนเรือสำราญ 2565
- นักศึกษาจบใหม่
- ผู้มีประสบการณ์ทำงานบนเรือสำราญ
- ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาการโรงแรม
- คนหางานที่มีทักษะภาษาอังกฤษ
ทำงานเรือสำราญ มีตำแหน่งอะไรบ้าง
- กุ๊ก
- ผู้ช่วยกุ๊ก
- พนักงานเสิร์ฟ
- บาร์เทนเดอร์
- พนักงานบริการห้องพัก
- พนักงานต้อนรับ
- ช่างภาพ
- เวทีแสงสีเสียง
ระยะเวลาทำงานบนเรือสำราญ
- ระยะเวลาการทำงานบนเรือ ครั้งละ 9 เดือน
ทำงานบนเรือสำราญ เงินเดือน
- รายได้เดือนละ 30,000 – 100,000 บาทต่อเดือนตามอัตราค่าจ้างแต่ละตำแหน่ง ไม่รวมค่าตอบแทนพิเศษ
สมัครงานบนเรือสําราญ 2565
- ผู้ที่สนใจทำงานสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน โทร. 02 245 6712-3
- ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำงานบนเรือสำราญ
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ แนะการตรวจสุขภาพก่อนทำงานบนเรือหรือการตรวจอาชีวเวชกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะไม่เพียงทำให้ผู้ว่าจ้างมั่นใจในความพร้อมในการทำงาน
แต่ยังเป็นการประเมินศักยภาพของตนเองก่อนทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานบนเรือ ที่ต้องไปทำงานในสถานที่ที่มีข้อจำกัดและอยู่ห่างจากชายฝั่งเป็นเวลานาน
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กลุ่มคนที่ทำงานบนเรือ คือคนที่ต้องไปทำงานห่างจากชายฝั่งเป็นเวลานาน เช่น กัปตัน คนเดินเรือ ช่างกลเรือ คนจัดเตรียมอาหารบนเรือ กะลาสีเรือ ตลอดจนแผนกอื่นๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการเดินเรือ
ในกลุ่มนี้จะรวมไปถึงเรือโดยสาร เรือท่องเที่ยว เรือขนส่งสินค้า เรือที่ขนส่งพนักงานไปทำงานบนแท่นขุดเจาะกลางทะเล โดยกลุ่มคนทำงานบนเรือนี้ต้องไปทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีข้อจำกัดและอยู่ห่างจากชายฝั่งเป็นระยะเวลานาน จึงมีโอกาสเกิดสภาวะฉุกเฉินบนเรือในขณะทำงานอาจถึงแก่ชีวิตได้ตลอดเวลา
นพ.เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มว่า สำหรับการตรวจสุขภาพตามพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเลปี 2558 ตามกำหนด ให้ตรวจสุขภาพทุก 2 ปี สำหรับคนประจำเรือที่มีอายุมากกว่า 18 ปี และที่มีอายุน้อยกว่า18 ปี แต่ไม่น้อยกว่า16 ปี ให้ตรวจทุก 1 ปี
- โรคต้องห้ามของคนทำงานบนเรือ
เนื่องจากคนทำงานบนเรือมีหลายช่วงอายุ และมีสุขภาพไม่เหมือนกัน ฉะนั้นการตรวจสุขภาพนอกจากจะซักประวัติ ตรวจร่างกาย แล้ว ยังมีการตรวจความพร้อมของร่างกายเพิ่มเติม เช่น ตรวจความคมชัดของสายตา ตาบอดสี ตรวจการได้ยิน ตรวจฟัน ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจ X-Ray ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ส่วน โรคต้องห้ามของคนทำงานบนเรือ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคเบาหวานโรคปอดติดเชื้อ โรคที่มีการติดต่อได้ง่ายซึ่งต้องรักษาให้หายก่อนแล้วกลับมาตรวจใหม่ ดังนั้น การตรวจและประเมินสุขภาพของคนทำงานบนเรือจะต้องละเอียดมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ต้องอิงกับกระทรวงสาธารณสุขที่ทำงานด้านนี้ อย่างเช่นสมาคมของการตรวจคนบนเรือ และพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล อีกด้วย
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ให้บริการตรวจสุขภาพก่อนทำงานบนเรือ ที่แผนกอาชีวเวชศาสตร์ ชั้น5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ วันจันทร์ วันอังคาร และวันศุกร์ ในเวลาราชการ 08.00 – 12.00 น. โทร.025 481 000 ต่อ 7507
- 6 สิ่ง ที่ต้องเตรียมตัวไปสมัครงาน
1.Resume เน้นคอนเทนต์ ภาษาอังกฤษ
Resume ขึ้นชื่อว่าเป็นด่านแรกที่ทำให้บริษัทเรียก หรือไม่เรียกผู้สมัครเข้าทำการสัมภาษณ์ Resume ที่ทาง HR สนใจสำคัญคือ ต้องเขียนชื่อบริษัทให้ถูกต้อง เพราะมีหลายกรณีของเด็กยุคนี้ที่บางคนส่งอีเมลสมัครงานแบบหว่านแหแล้วเปลี่ยนแค่หัวเรื่อง แต่บางทีก็พลาดเขียนผิดก็มี
Resume ไม่จำเป็นต้องลงข้อมูลละเอียดยิบ แค่ให้เห็นภาพว่าเคยทำอะไรมาบ้าง ที่สำคัญสุดๆ ต้องเป็น “ภาษาอังกฤษ” เท่านั้น
รูปติด Resume ขอให้สุภาพ แต่ไม่ต้องถึงกับรูปทางการติดบัตรแบบรูป 2 นิ้ว ขอให้เห็นหน้าชัด HR สมัยใหม่ ไม่ต้องมีรูปแบบทางการ
2.สัมภาษณ์ ต้องมาก่อน 15 นาที ไม่ต้องมีอีโก้
พอ Resume ได้รับการคัดเลือก ก็ถึงกระบวนการที่ทาง HR จะติดต่อเพื่อขอสัมภาษณ์ ในวันนั้นต้องดูดี และเป็นตัวของตัวเอง การแต่งตัวต้องดูดี ทรงผมดี มีอีกเทรนด์ที่เด็ก Gen Z ไปได้ยินอะไรมาว่าต้องมั่นใจในตัวเอง แต่กลายเป็นว่าเวลาสัมภาษณ์เลยดูมีอีโก้สูงมาก อย่างไรแล้วเรื่อง “การอ่อนน้อมถ่อมตน”
เวลามาสัมภาษณ์ควรมาก่อนเวลานัดหมายประมาณ 15 นาที เป็นช่วงเวลากำลังดี ถ้ามาก่อนนานเกินไปก็ไม่ดี
3.First Impression Body Language
เมื่อมาสัมภาษณ์สิ่งที่ทำให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจได้นั้น คือ First Impression ซึ่ง First Impression ของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน
การแต่งกายไม่มีผลเท่าไหร่ถ้าผลงานเขาดี ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์กร และตำแหน่งงานด้วย สำคัญคือ ดูเรื่องการพูดคุย ดูทัศนคติ Body Language ก็สำคัญ การนั่งกอดอก เท้าคาง เขย่าขาก็ไม่ควร
4.สถาบันการศึกษา มีผลจริงหรือไม่?
เทรนด์ของเด็กรุ่นใหม่ในยุคนี้มองว่า “คนเก่งไม่จำเป็นต้องเลือกจุฬาฯ” เลยกระจายคละๆ กันไปหลายๆ มหาวิทยาลัย ยิ่งภายหลังมีภาคอินเตอร์เกิดขึ้นเยอะ หลายมหาวิทยาลัยก็เก่งภาษา
5.ควรรู้ว่าองค์กรต้องการ? เด็กรุ่นใหม่ต้องการอะไร?
HR ยุคใหม่มองหาคนที่ปรับตัวได้ ต้องมี 3 คำ Open Mind, Flexibility, Adaptability เป็นสิ่งสำคัญกับทุกองค์กร ไม่ว่าจะองค์กรใหญ่ หรือสตาร์ทอัพอยู่ในยุคทรานส์ฟอร์ม
องค์กรที่เด็กยุคใหม่มองหา เดี๋ยวนี้เด็กฉลาดดูเรื่องความมั่นคง บางคนไปดูงบการเงินเลยก็มี บางคนที่ออกมาจากบริษัทใหญ่แล้วมาอยู่สตาร์ทอัพก็ต้องดูเรื่องการเงิน ให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงหนักหน่อย ส่วนเรื่องหัวหน้างานก็มีผลด้วยเช่นกัน
6.เด็กรุ่นใหม่ยังคาดหวังให้คนป้อน
ด้วยการเลี้ยงดูของพ่อแม่ยุคใหม่ ที่ปกป้องลูก สรรหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกเสมอ ส่งผลต่อความคาดหวังของเด็กรุ่นใหม่ ที่จะรอการป้อนตลอดเวลา
เด็กที่ขวนขวาย เด็กที่เก่งจริงๆ ดีจริงๆ ยังมีอยู่ แต่มองว่าในสังคมนี้ส่วนใหญ่ยังคงต้องป้อนให้สัก 70% ส่วนอีก 30% เป็นเด็กที่ถูกเลี้ยงให้โตด้วยตัวเอง
- สมัคร "ไทยมีงานทำ" ไม่มีค่าใช้จ่าย
สำหรับปี 2565 นี้ มีนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการตัดสินสินที่จะศึกษาต่อ หางานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งตัวเลขนักศึกษาจบใหม่ที่ว่างงานดังกล่าวข้างต้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นสถานการณ์ปกติ
สำหรับ ผู้ที่ต้องการมีงานทำ และนายจ้าง/สถานประกอบการที่ต้องการรับสมัครงาน สามารถใช้บริการที่เว็บไซต์ ‘ไทยมีงานทำ.doe.go.th’ หรือแอปพลิเคชัน ‘ไทยมีงานทำ’ โดยคนหางานสามารถค้นหาข้อมูลตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด
โดย Matching ตำแหน่งงานตามพื้นที่ และ ภูมิลำเนา รวมถึงจับคู่ตำแหน่งงานจากความรู้ ความสามารถ และทักษะที่มีอยู่ และสำหรับนายจ้าง สถานประกอบการ ที่ต้องการช่องทางรับสมัครงาน สามารถลงทะเบียนนายจ้าง เพื่อประกาศตำแหน่งงาน และคัดลอกรายชื่อผู้หางาน
โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน 1694
อ้างอิง: Brand Inside ,กรมการจัดหางาน