"โควิด-19" เกณฑ์การใช้ยารักษาผู้ป่วย ระดับไหนถึงจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์
ประเด็น "โควิด-19" กรมการแพทย์ เปิดเกณฑ์การใช้ยารักษาผู้ป่วยโควิด แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
ประเด็น "โควิด-19" กรมการแพทย์ เปิดเกณฑ์การใช้ยารักษาผู้ป่วยโควิด โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เกณฑ์การให้ยาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นไปตาม แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ยอด โควิด-19 วันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 2,695 ราย ตาย 14 ราย ATK อีก 4,034 ราย
- "โควิดวันนี้" จังหวัดชลบุรีติดเชื้อใหม่เพิ่ม 209 ราย ไม่รวม ATK อีก 2,833 ราย
- "โควิดสายพันธุ์ใหม่" ซีซั่นของ BA.4 BA.5 ทิศทางการแพร่ระบาด โอกาสติดซ้ำ
ทั้งนี้ แนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 23 ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์มาตลอด เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีประสิทธิภาพสูงสุด
การรักษาโควิด-19
ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งผู้ที่มีอาการและไม่แสดงอาการ แบ่งเป็นกลุ่มตามความรุนแรงของโรคและปัจจัยเสี่ยงได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี (Asymptomatic COVID-19)
-
ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self isolation) หรือ home isolation หรือสถานที่รัฐจัดให้ตามความเหมาะสม
-
ให้ดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง
-
อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงโรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ (Symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors for severe disease)
-
อาจพิจารณาให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) ควรเริ่มยาโดยเร็ว
-
หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่ จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
3.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ oxygen
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่
1) อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
2) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) (GOLD grade 2 ขึ้นไป) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
3) โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)
4) โรคหัวใจและหลอดเลือด (NYHA functional class 2 ขึ้นไป) รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด
5) โรคหลอดเลือดสมอง
6) เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
7) ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI 230 กก./ตร.ม.)
8) ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)
9) ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (เป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิหรือ corticosteroid equivalent to prednisolone 15 มก/วัน 15 วัน ขึ้นไป
10) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มี CD. cell count น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.
แนะนำให้ยาต้านไวรัสเพียง 1 ชนิด โดยควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดี โดยพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่
- ประวัติการได้รับวัคซีน โรคประจำตัว
- ข้อห้ามการใช้ยา
- ปฏิกิริยาต่อกันของยาต้านไวรัสกับยาเดิมของผู้ป่วย (drug-drug interaction)
- การบริหารเตียง ความสะดวกของการให้ยา
- ปริมาณยาสำรองที่มี
4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia (resting O, saturation <94 % ปอดอักเสบรุนแรง ไม่เกิน 10 วันหลังจากมีอาการ และได้รับ oxygen
-
แนะนำให้ remdesivir เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก และควรติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
-
แนะนำให้ corticosteroid
การรักษา COVID-19 ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี
ข้อมูลจาก กรมการแพทย์