อาการ ร่วมกับประวัติเสี่ยงสำคัญ ผู้ป่วยสงสัย "ฝีดาษลิง"
“ไม่ใช่ใครเป็นตุ่มหนองแล้วจะสงสัยฝีดาษลิงทั้งหมด!!” ซึ่งประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง 2 ราย โดยในการทางระบาดวิทยา ได้กำหนดนิยามผู้ป่วยไว้ 4 ประเภทในเฝ้าระวัง คัดกรอง โดยยึดอาการฝีดาษลิงร่วมกับต้องมีประวัติเสี่ยงที่สำคัญ
อาการฝีดาษลิงระบาดรอบนี้
สถานการณ์ทั่วโลกข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.ค.2565 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่ 7 พ.ค.2565 จำนวน 16,314 ราย จาก 71 ประเทศ เพิ่มขึ้นราวสัปดาห์ละ 3,000-4,000 ราย ส่วนใหญ่จะเจอแถบยุโรปที่เป็นต้นตอของการระบาดในรอบนี้ และทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ส่วนแนวโน้มแถบแอฟริกามีรายงานผู้ป่วยตลอดดเวลาเพราะเป็นโรคประจำถิ่น ส่วนทิศทางในยุโรปเริ่มเป็นขาลงแต่อเมริกายังมีผู้ป่วยมากขึ้น ส่วนประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็นชายชาวไนจีเรีย
ข้อมูลทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยฝีดาษวานรที่มีการระบาดรอบนี้ ณ วันที่ 22 ก.ค.2565 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยในการระบาดครั้งนี้ 77.2 % เป็นผู้ป่วยชายอายุระหว่าง 18-44 ปี จากข้อมูล 10,141 รายที่มีข้อมูลสมบูรณ์ของอายุ พบว่า มีผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 17 ปี จำนวน 72 ราย โดยมี 23 ราย อายุน้อยกว่า 4 ปี เป็นการบอกว่ามีการติดไปในเด็กด้วย
ส่วนประวัติอื่นๆ เรื่องรสนิยมทางเพศ จากข้อมูล 3,506 รายที่มีความสมบูรณ์ของตัวแปรนี้ พบว่า 98.1 % ระบุว่าเป็นชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย(MSM) ในผู้ป่วยที่เคยตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี พบว่า 39.6 % มีผลบวกต่อเอชไอวี ผู้ป่วย 253 รายเป็นบุคลากรทางการแพทย์แต่ส่วนใหญ่ติดมาจากในชุมชน สถานที่ที่น่าจะเป็นแหล่งการติดเชื้อ เป็นปาร์ตี้ที่มีกิจกรรมสัมผัสทางเพศ 42.6%
การระบาดในครั้งนี้ อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีข้อมูลเกี่ยวกับอาการ 6,589 ราย
มีอาการผื่น 88 % ส่วนใหญ่เป็นผื่นที่อวัยวะเพศประมาณ 30-40 %
มีไข้ 44 %
มีต่อมน้ำเหลืองโต 27 % อ่
อนเพลีย 21.1 %
ปวดศีรษะ 19.3 %
ตุ่ม 4 ระยะอาการฝีดาษลิง
แนวทางการดูแลรักษาโรคฝีดาษวานร พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ฝีดาษวานร ถือเป็น DNA VIRUS ติดต่อเกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย น้ำในตุ่มฝีหนอง น้ำเหลือง หรือ น้ำต่างๆของร่างกาย ระยะฟักเชื้อ 7-21 วัน หรือ ประมาณ 3 สัปดาห์ โดยตุ่มที่เกิดขึ้นตามร่างกาย สามารถขึ้นได้ทั่วตัว
ตุ่มมี 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีตุ่มแดงขึ้น
ระยะที่2 ตุ่มพัฒนากลายเป็น ตุ่มนูน
ระยะที่ 3 ตุ่มกลายเป็นหนอง
และระยะที่ 4 ตุ่มแตก
ซึ่งการแพร่เชื้อและติดต่อจะเกิดในระยะที่ 3 และ 4 โดยทั่วไปโรคนี้สามารถหายได้เอง หรือใช้การรักษาตามอาการ สำหรับคนที่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ รับประทานยากดภูมิในคนรักษามะเร็ง หรือ ปลูกถ่ายอวัยวะ เด็กเล็กอายุต่ำว่า 8 ปี และหญิงตั้งครรภ์
“โรคฝีดาษวานร มีไข้ ปวดเมื่อยศีรษะตามร่างกาย ปวดหลัง และอาการเด่นชัดต่อมน้ำเหลืองโต รักษาเน้นประคับประคอง จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีลักษณะของตุ่มน้ำตามผิวหนัง ใกล้เคียงหลายโรค ซึ่งแนวทางการแยกโรค จะมีการประชุมของกรมการแพทย์ และสรุปส่งให้ทาง EOCกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาต่อไป”พญ.นฤมลกล่าว
ความต่าง “อาการฝีดาษลิง”กับโรคอื่น
1. โรคอีสุกอีใส ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีตุ่มน้ำใสขึ้นทั่วตัว และในกระพุ้งแก้ม ช่องปาก สามารถติดต่อได้จากละอองฝอย ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มอาการที่ไม่รุนแรงน้อย ในกลุ่มที่มีตุ้มน้ำขึ้นตามร่างกาย ระยะฟักโรค 11-20 วัน รักษาด้วยการทานยาต้ายไวรัส
2.โรคเริม มีอาการป่วย นอกจากตุ่มน้ำตามร่างกายแล้ว ยังจะมีอาการอักเสบตามเส้นประสาท และ ทิ้งรอยโรคไว้ สามารถกลับมาป่วยซ้ำได้ โดยมีระยะฟักตัว 3-7 วัน รักษาด้วยยาต้านไวรัส
3. งูสวัด เป็นการพัฒนาของเชื้ออีสุกอีใส แต่เชื้อหลบที่ปมประสาท ทำให้มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อตามร่างกาย และมีอาการแสบร้อน คันผิวหนัง ติดเชื้อได้จากสารคัดหลั่ง การรักษาเน้นยาต้ายไวรัส
4. ไข้ทรพิษ มีไข้สูง ปวดเมื่อย มีตุ้มผื่นขึ้น อ่อนเพลีย อาเจียน ปวดท้อง ระยะฟักตัว 7-17 วัน การรักษาเน้นประคับประคอง
4 นิยามผู้ป่วยฝีดาษลิง
กรมควบคุมโรคได้กำหนดนิยามผู้ป่วยฝีดาษลิง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและคัดกรองโรค 4 ประเภท ประกอบด้วย
1.ผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษลิง คือ ผู้ที่มีอาการ 1.ไข้ หรือให้ประวัติมีไข้ ร่วมกับอาการอย่างน้อย 1 อย่างต่อไปนี้ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดสีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองบวมโต หรือ 2.มีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนัง หรือเคยมีผื่นหรือตุ่มกระจายตามใบหน้า ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศและรอบทวารหนัก แขน ขา หรือฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นผื่นหรือตุ่มลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด
ร่วมกับ มีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ภายใน 21 วันที่ผ่านมา ดังนี้ 1.มีประวัติเดินทางมาจากหรืออาศัยอยู่ในต่างประเทศและแพทย์ให้การวินิจฉัยสงสัยโรคฝีดาษวานร หรือ2.มีประวัติเดินทางไปเข้าร่วมงานหรือกิจกรรมที่เคยมีการรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรหรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสคลุกคลีกับผู้เดินทางจากต่างประเทศหรือ3.มีประวัติสัมผัสาสัตว์ฟันแทะ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกา มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องแล็ป 2 แห่งในระยะแรกเพื่อยืนยันผล
2.ผู้ป่วยเข้าข่าย คือ ผู้ป่วยสงสันที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่เริ่มมีอาการแรกจนถึงตุ่มตกสะเก็ด ดังต่อไปนี้
2.1สัมผัสโดยตรงทางผิวหนัง (แม้จะไม่เห็นรอยโรค) เยื่อบุหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง เช่น การจับมือ คลุกคลี หรือสัมผัสสิ่งของที่อาจมีเชื้อปนเปื้อนของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ที่นอน ของใช้ของผู้ป่วย หรือถูกของมีคมที่อาจปนเปื้อนเชื้อทิ่มตำ
2.2สัมผัสร่วมบ้านหรือมีการพักค้างคืนร่วมกับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงอย่างน้อย 1 คืน หรือนั่งร่วมยายพาหนะกับผู้ป่วยภายในระยะ 1 เมตร หรือใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วย เช่น สัมผัสฝารองนั่งโถสุขภัณฑ์เดียวกันตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ
2.3อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยภายในระยะ 1 เมตร ขณะหรือกหลัทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอยจากสารคัดหลั่ง หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดละอองฟุ้งจากคราบเชื้อโรค เช่น การสะบัดผ้าปูที่นอนหรือเสื้อผ้า
2.4เสื้อผ้าของผู้สัมผัสมีการสัมผัสโดยตรง กับรอยโรค สารคัดหลั่ง เยื้อบุร่างกาย และสิ่งของที่อาจปนเปื้อนเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ที่นอน ของผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่น การอาบน้ำให้ผู้ป่วย การขนส่งผู้ป่วย
และ/หรือ มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยัน ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
-พบ Anti-orthopoxvirus IgM antibody ในซีรัมของผู้ป่วยในระยะ 4-56 วันหลังออกผื่น
-ตรวจพบเชื้อไวรัสที่เข้าได้กับ Orthopoxvirus genus ในผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ
3.ผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ป่วยสงสัยหรือเข้าข่ายที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอย่างน้อย 2 ห้องปฏิบัติการ
สำหรับผู้ป่วยยืนยัน จะพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อจำแนกว่าเป็นผู้ป่วยนำเข้า หรือผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศ
4.ผู้ป่วยคัดออก คือ ผู้ป่วยสงสัย/เข้าข่าย ที่มีผลการตรวจไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อนี้ จากการตรวจอย่างน้อย 2 ห้องปฏิบัติการ หรือมีหลักฐานพบการติดเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ฝีดาษลิงและมีอาการทางคลินิกเข้าได้กับกโรคนั้นๆ