ประกาศราชกิจจาฯแล้ว! อนุญาตผลิต-จําหน่ายเฮมพ์ หรือกัญชง

ประกาศราชกิจจาฯแล้ว! อนุญาตผลิต-จําหน่ายเฮมพ์ หรือกัญชง

เปิดรายละเอียด! หลังประกาศราชกิจจาฯแล้ววันนี้ อนุญาตผลิต-จําหน่ายเฮมพ์ หรือ "กัญชง"

ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐ กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๙

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ วรรคสาม และมาตรา ๖๒ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ กฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย นําเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ มิให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ และให้ใช้บังคับตามกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๓ ในกฎกระทรวงนี้
“เฮมพ์” (Hemp) หมายความว่า พืชซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp.
sativa อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
(Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ ๑.๐ ต่อน้ําหนักแห้ง ซึ่งตรวจวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
“เมล็ดพันธุ์รับรอง” หมายความว่า เมล็ดพันธุ์เฮมพ์จากพันธุ์พืชที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดร
แคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) น้อยกว่าร้อยละ ๑.๐ ต่อน้ําหนักแห้ง ทั้งนี้ ตามที่
คณะกรรมการประกาศกําหนด โดยการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์และเป็นพันธุ์พืช
ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช ซึ่งผลิตโดยผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕
เฉพาะเฮมพ์
“ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้
“หนังสือสําคัญ” หมายความว่า หนังสือสําคัญแสดงการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ใน
ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ และให้หมายความรวมถึงใบแทนหนังสือ
สําคัญ โดยให้ถือเสมือนเป็นใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
“ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์” หมายความว่า ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐ
ที่คณะกรรมการประกาศกําหนดให้ตรวจหาสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมาย

หมวด ๑
การขออนุญาต
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ในการขออนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ มี ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อปลูก เก็บเกี่ยว หรือแปรสภาพเฮมพ์ สําหรับใช้ประโยชน์ในครัวเรือน
(๒) เพื่อปลูก เก็บเกี่ยว หรือแปรสภาพเฮมพ์ สําหรับใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์
(๓) เพื่อปลูก เก็บเกี่ยว หรือแปรสภาพเฮมพ์ สําหรับการศึกษาวิจัย
(๔) เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองสําหรับจําหน่าย หรือแจกสําหรับการส่งเสริมตามวัตถุประสงค์
(๑) (๒) หรือ (๓)
(๕) เพื่อจําหน่ายเมล็ดพันธุ์รับรอง ลําต้นสด หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต สําหรับ
ใช้ประโยชน์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือประโยชน์อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด แล้วแต่กรณี
(๖) เพื่อครอบครองสําหรับใช้ประโยชน์อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
การดําเนินการตามวัตถุประสงค์ใน (๑) และ (๒) ห้ามมิให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์สําหรับ
การเพาะปลูก
ข้อ ๕ ให้ผ้อนู ุญาตพิจารณาอนุญาตตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีผู้ขอรับหนังสือสําคัญเป็นบุคคลธรรมดาต้อง
(ก) มีสัญชาติไทย
(ข) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(ค) มีถิ่นที่อยู่หรือสํานักงานในประเทศไทย
(ง) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(จ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(ฉ) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างการถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตหรือหนังสือสําคัญ
ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

(ช) ไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย
หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
(๒) กรณีผู้ขอรับหนังสือสําคัญเป็นนิติบุคคล
(ก) ต้องมีลักษณะตาม (๑) (ก) (ค) (จ) (ฉ) และ (ช)
(ข) ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินกิจการของนิติบุคคลผู้ขออนุญาตต้องมีลักษณะตาม (๑)
(ค) กรรมการของนิติบุคคลอย่างน้อยสองในสามเป็นผู้มีสัญชาติไทย
ในกรณีวิสาหกิจชุมชนที่ไม่เป็นนิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินกิจการแทน
ต้องมีลักษณะตาม (๑) ด้วย
ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ ให้ยื่นคําขอต่อผู้อนุญาตตามแบบที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน
(๒) สําเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สําเนาใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
หรือวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
(๔) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาสีเข้มของผู้ขออนุญาตหรือผู้ซึ่งได้รับ
มอบหมายให้ดําเนินกิจการ ขนาด ๑ นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จํานวน ๒ รูป
(๕) หนังสือแสดงว่าตนเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินกิจการของนิติบุคคลผู้ขออนุญาต
กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล หรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนวิสาหกิจชุมชน กรณีผู้ขออนุญาต
เป็นวิสาหกิจชุมชน
(๖) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน กรณีผู้ขออนุญาต
เป็นนิติบุคคล
(๗) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่เพาะปลูกและเส้นทางการเข้าถึงสถานที่เพาะปลูก ระบุพิกัด
ขนาดพื้นที่ที่ขออนุญาต และสถานที่ใกล้เคียง
(๘) แผนการผลิต การจําหน่าย และการใช้ประโยชน์
(๙) เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๗ การยื่นคําขอรับหนังสือสําคัญให้ยื่น ณ ท้องที่ที่สถานที่ผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ใน
ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์นั้นตั้งอยู่ ดังต่อไปนี้
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองควบคุมวัตถุเสพติด สํานักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
หน้า ๔
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐
(๒) ในท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอแห่งท้องที่ที่สถานที่ผลิต
จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองตั้งอยู่ และให้สํานักงานสาธารณสุขอําเภอตรวจสอบคําขอเบื้องต้น
แล้วเสนอต่อสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อดําเนินการต่อไป

หมวด ๒
การอนุญาต
ข้อ ๘ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําขออนุญาตแล้วให้ตรวจสอบรายละเอียดในคําขออนุญาต
เอกสารและหลักฐานว่ามีความถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ ในกรณีที่ปรากฏว่ารายละเอียดในคําขออนุญาตเอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามที่กําหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคําขออนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนด
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ดําเนินการตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคําขออนุญาตแจ้ง
ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตและให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
แล้วแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตทราบ
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่ารายละเอียดในคําขออนุญาต เอกสารและหลักฐาน
มีความถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีขออนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร ให้พิจารณาและเสนอความเห็นเพื่อเสนอคณะกรรมการต่อไป
(๒) กรณีขออนุญาตในท้องที่จังหวัดอื่น ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเสนอคําขออนุญาต
ต่อคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหรือมอบหมายให้พิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
แล้วเสนอคําขออนุญาตพร้อมด้วยความเห็นมายังสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อเสนอ
คณะกรรมการต่อไป
ข้อ ๙ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้เลขาธิการเสนอรัฐมนตรีพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ต่อไป
ในกรณีที่รัฐมนตรีพิจารณาอนุญาต ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายออกหนังสือสําคัญ
เพื่อแสดงการอนุญาต ตามแบบที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๑๐ ในกรณีหนังสือสําคัญสูญหาย ถูกทําลาย หรือลบเลือนในสาระสําคัญ ให้ผู้รับอนุญาต
ยื่นคําขอรับใบแทนหนังสือสําคัญต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) ใบแจ้งความ กรณีหนังสือสําคัญสูญหาย
(๒) หนังสือสําคัญฉบับเดิม กรณีหนังสือสําคัญถูกทําลายบางส่วนหรือลบเลือนในสาระสําคัญ
(๓) เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หน้า ๕
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐
ใบแทนหนังสือสําคัญให้ใช้ตามแบบหนังสือสําคัญฉบับเดิม แต่ให้กํากับคําว่า “ใบแทน”
ไว้ที่ด้านหน้าด้วย

หมวด ๓
การดําเนินการ
ข้อ ๑๑ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปลูกเฮมพ์ในสถานที่ที่กําหนดไว้ในหนังสือสําคัญเท่านั้น
(๒) ในการปลูกทุกครั้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์รับรองจากผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองที่ได้รับอนุญาต
และให้ใช้เมล็ดพันธุ์รับรองดังกล่าวในฤดูกาลเพาะปลูกเดียว ทั้งนี้ ไม่ใช้กับการปลูกของผู้รับอนุญาต
ตามข้อ ๔ (๓)
(๓) จัดทําแนวเขตพื้นที่การเพาะปลูกที่เห็นได้ชัด
(๔) จัดทําป้ายด้วยวัตถุถาวรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทย สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงวัตถุประสงค์
ของการผลิต เช่น สถานที่เพาะปลูกเฮมพ์เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน แสดงเลขที่หนังสือสําคัญ
ชื่อผู้รับอนุญาต และเวลาสิ้นสุดการอนุญาตตามหนังสือสําคัญ โดยให้แสดงไว้ในท่ีเปิดเผย เห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต
(๕) จัดให้มีสถานที่และการรักษาความปลอดภัยเพื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์รับรอง หรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกทําลาย ให้แยกเก็บเป็นสัดส่วนและไม่ให้ปะปนกับวัตถุอื่น ๆ
(๖) ในกรณีที่เมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่นของเฮมพ์ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกทําลาย
หรือกรณีที่เมล็ดพันธุ์รับรองเหลือจากการเพาะปลูกตาม (๒) ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เพื่อทราบโดยมิชักช้า
(๗) ผู้รับอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ตามข้อ ๔ (๒) (๓) และ (๔) ต้องจัดให้มีการตรวจ
วิเคราะห์เพื่อหาปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ในเฮมพ์
ที่ปลูกทุกครั้งที่มีการผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด หลักฐานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว
ให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันตรวจวิเคราะห์ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต
กรณีที่ผู้รับอนุญาตตรวจพบปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)
เกินกว่าที่คณะกรรมการประกาศกําหนดให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทําลาย
(๘) จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุเมล็ดพันธุ์รับรองที่แสดง
(ก) ข้อมูลชื่อพันธุ์
(ข) อัตราความงอกของเมล็ดพันธุ์รับรอง และระบุวันเดือนปีที่ทดสอบ
(ค) สถานที่ปลูก
(ง) เดือนและปีที่รวบรวม
หน้า ๖
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐
(จ) รุ่นการผลิต
(ฉ) น้ําหนักสุทธิ
(ช) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้รับอนุญาตผลิต
(ซ) ข้อความอื่นที่รัฐมนตรีเห็นสมควรระบุเพิ่มเติมในฉลากโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๙) ดําเนินการตามแผนการผลิตและแผนการใช้ประโยชน์ตามข้อ ๖ (๘) ในกรณีที่ไม่สามารถ
ดําเนินการตามแผนการผลิตหรือแผนการใช้ประโยชน์ดังกล่าวได้ ให้แจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือเลขาธิการทราบตามแบบที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ปรากฏว่าไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้
(๑๐) จัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ในส่วนเมล็ดพันธุ์รับรอง
ลําต้นสด หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต และแจ้งต่อเลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี
ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้
ในการจัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษให้จัดทําเป็นสองฉบับ ฉบับหนึ่งให้เสนอต่อ
เลขาธิการภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นเดือนหรือสิ้นปี แล้วแต่กรณี และอีกฉบับหนึ่งให้เก็บรักษาไว้
ณ สถานที่ที่กําหนดไว้ในหนังสือสําคัญพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการรับจ่ายยาเสพติดให้โทษ
ที่ได้ลงรายการในบัญชีดังกล่าวมีกําหนดห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี
(๑๑) แจ้งวันและเวลาการเก็บเกี่ยวเฮมพ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการควบคุมการเก็บเกี่ยว แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่
รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
หลังจากได้ดําเนินการเก็บเกี่ยวเฮมพ์แล้ว ส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องให้ดําเนินการทําลาย
ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมบันทึกหลักฐานและภาพถ่าย
(๑๒) ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อควบคุมและกํากับดูแลให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
(๑๓) แจ้งกําหนดการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการขนส่งเมล็ดพันธุ์รับรอง ลําต้นสด
หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี โดยระบุปริมาณ
วันและเวลา ยานพาหนะ เส้นทางการขนส่ง และผู้ควบคุมการขนส่ง พร้อมทั้งนําใบแจ้งดังกล่าวและ
สําเนาหนังสือสําคัญตามข้อ ๙ ไปพร้อมการขนส่ง
ข้อ ๑๒ ให้ผู้รับอนุญาตจําหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําป้ายด้วยวัตถุถาวรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทย สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงวัตถุประสงค์ของ
การจําหน่าย เช่น สถานที่จําหน่ายเมล็ดพันธุ์รับรอง แสดงเลขที่หนังสือสําคัญ ชื่อผู้รับอนุญาต และ
เวลาสิ้นสุดการอนุญาตตามหนังสือสําคัญ โดยให้แสดงไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต
หน้า ๗
เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มกราคม ๒๕๖๐
(๒) จัดให้มีสถานที่และการรักษาความปลอดภัยเพื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์รับรอง หรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกทําลาย ให้แยกเก็บเป็นสัดส่วนและไม่ให้ปะปนกับวัตถุอื่น ๆ
(๓) ในกรณีที่เมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่นของเฮมพ์ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกทําลาย
ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เพื่อทราบโดยมิชักช้า
(๔) ดูแลให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุเมล็ดพันธุ์รับรองให้เป็นไปตามที่ผู้ผลิตจัดให้มี
ตามข้อ ๑๑ (๘) มิให้ชํารุดบกพร่อง
(๕) ดําเนินการตามแผนการจําหน่ายตามข้อ ๖ (๘) ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการ
ตามแผนการจําหน่ายดังกล่าวได้ให้แจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการทราบตามแบบที่เลขาธิการ
กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏว่าไม่สามารถดําเนินการ
ดังกล่าวได้
(๖) จัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ในส่วนเมล็ดพันธุ์รับรอง
ลําต้นสด หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต และแจ้งต่อเลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี
ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้
ในการจัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษให้จัดทําเป็นสองฉบับ ฉบับหนึ่งให้เสนอต่อเลขาธิการ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นเดือนหรือสิ้นปี แล้วแต่กรณี และอีกฉบับหนึ่งให้เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่
ที่กําหนดไว้ในหนังสือสําคัญพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการรับจ่ายยาเสพติดให้โทษ
ที่ได้ลงรายการในบัญชีดังกล่าวมีกําหนดห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี
(๗) ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อควบคุมและกํากับดูแลให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
(๘) แจ้งกําหนดการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการขนส่งเมล็ดพันธุ์รับรอง ลําต้นสด
หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี โดยระบุปริมาณ
วันและเวลา ยานพาหนะ เส้นทางการขนส่ง และผู้ควบคุมการขนส่ง พร้อมทั้งนําใบแจ้งดังกล่าวและ
สําเนาหนังสือสําคัญตามข้อ ๙ ไปพร้อมการขนส่ง
ข้อ ๑๓ ให้ผู้รับอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์
ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําป้ายด้วยวัตถุถาวรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทย สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงวัตถุประสงค์ของ
การมีไว้ในครอบครอง เช่น สถานที่เก็บเฮมพ์เพื่อแปรสภาพ แสดงเลขที่หนังสือสําคัญ ชื่อผู้รับอนุญาต
และเวลาสิ้นสุดการอนุญาตตามหนังสือสําคัญ โดยให้แสดงไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ สถานที่
ที่ได้รับอนุญาต
(๒) จัดให้มีสถานที่และการรักษาความปลอดภัยเพื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์รับรอง หรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกทําลาย ให้แยกเก็บเป็นสัดส่วนและไม่ให้ปะปนกับวัตถุอื่น ๆ

(๓) ในกรณีที่เมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่นของเฮมพ์ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกทําลาย
ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เพื่อทราบโดยมิชักช้า
(๔) ดูแลให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุเมล็ดพันธุ์รับรองให้เป็นไปตามที่ผู้ผลิตจัดให้มี
ตามข้อ ๑๑ (๘) มิให้ชํารุดบกพร่อง
(๕) ดําเนินการตามแผนการใช้ประโยชน์ ตามข้อ ๖ (๘) ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการ
ตามแผนการใช้ประโยชน์ดังกล่าวได้ให้แจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการทราบตามแบบ
ที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏว่าไม่สามารถ
ดําเนินการดังกล่าวได้
(๖) จัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ ในส่วนเมล็ดพันธุ์รับรอง
ลําต้นสด หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต และแจ้งต่อเลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี
ตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้
ในการจัดทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษให้จัดทําเป็นสองฉบับ ฉบับหนึ่งให้เสนอต่อเลขาธิการ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นเดือนหรือสิ้นปี แล้วแต่กรณี และอีกฉบับหนึ่งให้เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่
ที่กําหนดไว้ในหนังสือสําคัญพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการรับจ่ายยาเสพติดให้โทษ
ที่ได้ลงรายการในบัญชีดังกล่าวมีกําหนดห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี
(๗) ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสุ่มเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์รับรองหรือส่วนอื่น
ของเฮมพ์ เพื่อควบคุมและกํากับดูแลให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
(๘) แจ้งกําหนดการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการขนส่งเมล็ดพันธุ์รับรอง ลําต้นสด
หรือส่วนอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี โดยระบุปริมาณ
วันและเวลา ยานพาหนะ เส้นทางการขนส่ง และผู้ควบคุมการขนส่ง พร้อมทั้งนําใบแจ้งดังกล่าวและ
สําเนาหนังสือสําคัญตามข้อ ๙ ไปพร้อมการขนส่ง
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ต้องการทราบปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)
ในยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ ให้ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ หากผล
การตรวจวิเคราะห์ปรากฏว่ามีปริมาณสารดังกล่าวเกินกว่าที่กําหนด ให้ผู้ส่งตรวจแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อควบคุมการทําลาย

บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๕ ภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้เฉพาะหน่วยงานของรัฐ
เป็นผู้ขออนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์
ตามกฎกระทรวงนี้ และให้คณะกรรมการประเมินผลการดําเนินงานเพื่อเสนอรัฐมนตรีพิจารณาทบทวน
ความเหมาะสมในการอนุญาตให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นมาขออนุญาตได้ ในกรณีที่คณะกรรมการ
พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่เหมาะสม ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาของบทเฉพาะกาลนี้ต่อไปอีกสองปี

ข้อ ๑๖ ในระหว่างที่ยังไม่มีเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต
และใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔
(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือกฎกระทรวง
ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด
ให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ และได้รับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืชก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และมีผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC)
น้อยกว่าร้อยละ ๑.๐ ต่อน้ําหนักแห้ง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ผลิตและมีไว้ในครอบครองเมล็ดพันธุ์เฮมพ์
ข้อ ๑๗ ใบอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕
เฉพาะเฮมพ์ที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ถือว่าเป็นหนังสือสําคัญตามกฎกระทรวงนี้ และให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ
ข้อ ๑๘ บรรดาคําขอรับอนุญาตและคําขอรับใบแทนใบอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้
ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของผู้อนุญาต ให้ถือว่าเป็นคําขอรับหนังสือสําคัญหรือคําขอรับใบแทนหนังสือสําคัญตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม
ในกรณีที่คําขอดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคําขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาต
มีอํานาจสั่งแก้ไขเพิ่มเติมและส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามความจําเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข