4 สัญญาณเตือนหนุ่มใหญ่ เสี่ยง 'มะเร็งต่อมลูกหมาก'

4 สัญญาณเตือนหนุ่มใหญ่ เสี่ยง 'มะเร็งต่อมลูกหมาก'

4 สัญญาณเตือนหนุ่มใหญ่ เสี่ยง "มะเร็งต่อมลูกหมาก"

อยากมีชีวิตยืนยาว ต้องรู้เท่าทันโรคภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคุณผู้ชายที่มักเชื่อว่าตัวเองนั้นแข็งแรงจนหลงลืมใส่ใจดูแลสุขภาพ ทุกวันนี้ความเสี่ยงในเรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะชายวัย50+ หากพบอาการปัสสาวะบ่อย ติดขัด แสบ ไม่สุด ไม่พุ่ง เสี่ยงต่อการเกิดโรค “มะเร็งต่อมลูกหมาก”

นพ.วิโรจน์ เหล่าสุนทรศิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์และสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช เปิดเผยว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรชายสูงเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอดที่มักพบในผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งในประเทศไทยผู้ชายจำนวน 7 คนจาก 100,000 คน มีแนวโน้มในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก และกว่า 50% จะพบในระยะที่ลุกลามแล้ว ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากจึงเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และหากมีประวัติครอบครัวญาติ สายตรงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นอีกด้วย

“มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรกอาจตรวจไม่พบ จึงต้องสังเกตอาการอยู่เสมอ อาทิ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในช่วงกลางคืน มีอาการแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด ไม่พุ่ง หรือต้องใช้เวลาในการเบ่ง และหากปล่อยทิ้งไว้ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะลำบาก จนถึงปัสสาวะเป็นเลือดได้ หากพบอาการดังกล่าว ตามคำแนะนำของการตรวจคัดกรองมะเร็งระยะเริ่มแรกของ American Cancer Society แนะนำผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นตรวจคัดกรองเบื้องต้น และหากมีประวัติครอบครัวญาติสายตรงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก่อนอายุ 65 ปี ควรได้รับการตรวจตั้งแต่อายุ 45 ปี” นพ.วิโรจน์ กล่าว

dhceeacbbkhhfjb6abki6

ทั้งนี้ สำหรับระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นแบ่งเป็น 4 ระยะตามอาการดังต่อไปนี้
ระยะที่ 1 จะพบเซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2 ขนาดของก้อนมะเร็งจะขยายขึ้นเล็กน้อย และจะพบเซลล์มะเร็งในทั้ง 2 กลีบของต่อมลูกหมาก และยังไม่มีการแพร่กระจายของมะเร็ง
ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายมาสู่ผิวด้านนอกของต่อมลูกหมาก ซึ่งอาจลุกลามเข้าท่อน้ำเชื้อด้านข้างได้อีกด้วย
ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งมีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือแพร่กระจายไปถึงกระดูก และต่อมน้ำเหลือง

การรักษาแต่ละระยะของโรคจะมีการเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสม อาทิ การผ่าตัด, การฉายรังสี ตลอดจนการให้ฮอร์โมน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการรักษาแต่ละขั้นตอนมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงควรวางแผนด้านสุขภาพไว้แต่เนิ่นๆ พร้อมกับคอยสังเกตอาการผิดปกติและหมั่นตรวจสุขภาพ เช็คร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งก็จะสามารถลดความเสี่ยงหรือสามารถยับยั้งรักษาได้อย่างทันท่วงที

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับประกันสุขภาพอย่าง กรกฤต คำเรืองฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ให้คำแนะนำวิธีการเลือกซื้อประกันสุขภาพคุ้มครองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมากถูกจัดอยู่ในหมวดประกันสุขภาพคุ้มครองโรคร้ายแรง การซื้อประกันสุขภาพเป็นส่วนซื้อเพิ่มเติมจากสัญญาหลักคุ้มครองชีวิตและเป็นการจ่ายเบี้ย คุ้มครองรายปี ส่วนการคำนวณเบี้ยจะคำนวณจากอายุผู้ทำประกันภัยในวันเริ่มทำและมีอัตราคงที่ตลอดสัญญา ในขณะที่บางบริษัทจะมีการปรับเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปี ของช่วงอายุเพราะเมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้นตาม ดังนั้นจงควรเลือกซื้อประกันภัยโรคมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย

"โดยปกติแล้วหลักของการคุ้มครองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก คือ ตรวจพบ แล้วจ่าย ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าต้องไม่เคยถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อนการทำประกันภัย และต้องไม่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งในระยะเวลารอคอย (Waiting period) 90 วัน ตามเงื่อนไขที่คปภ.กำหนด เราจึงควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมและสามารถใช้บริการได้อย่างเต็มที่ของความคุ้มครอง” กรกฤต กล่าว