ชายไทยป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้น เหตุกินฟาสต์ฟู้ด นม เนย ชีส
ชายไทยป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้น เหตุกินฟาสต์ฟู้ด นม เนย ชีส มากขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ที่มีพ่อหรือพี่ชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นสูกงว่าคนทั่วไป 3 เท่า ซึ่งหากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งตั้งแต่เริ่มแรกมีผลให้อัตราการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 21 และสามารถลดมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามขณะวินิจฉัยได้
ศ.นพ.บรรณกิจ กล่าวอีกว่า ในการตรวจคัดกรอง ปัจจุบันมีการตรวจด้วย Prostate Health Index: phi หรือ พีเอชไอ ซึ่งเป็นชุดน้ำยาตรวจคัดกรอง โดยถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และถือเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งวิธีการจะทำการเจาะเลือดผู้ป่วย 5 ซีซีแล้วใช้ชุดน้ำยาและเครื่องตรวจอัตโรมัติเพื่อหาค่า 3 ตัว คือ PSA ,Free PSA และ [-2]pro PSA ทำให้มีความจำเพาะเจาะจงในการตรวจต่อโรคสูง มีความน่าเชือถือมากกว่าการตรวจแบบเดิม 3.5 เท่า
นวัตกรรมนี้เหมาะที่จะนำมาใช้ตรวจในผู้ป่วยที่มีค่า PSA อยู่ในช่วง 4-10 นาโนกรัมต่อมิลลิกรัม(ng/mL) ซึ่งถือเป็นโซนสีเทา หากใช้การตรวจด้วย phi แล้วพบว่าค่าphiน้อยกว่า 40 จะไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อคนกลุ่มนี้ไปตรวจว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ จะช่วยให้ผู้ป่วยลดอัตราเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการตัดชิ้นเนื้อ
ส่วนผู้ที่มีค่า PSA สูงมากกว่า 10 ng/mL จะต้องตัดชิ้นเนื้อตรวจอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมนี้ในโรงพยาบาลเอกชนและโรงเรียนแพทย์บางแห่งเท่านั้น แต่คาดว่าในอนาคตจะมีการใช้ในโรงเรียนแพทย์ทุกแห่ง โดยมีค่าใช้จ่ายในการตรวจด้วยนวัตกรรมนี้อยู่ที่หลักหมื่นบาท แต่หากมีการผลิตมากขึ้นจนราคาถูกลง น่าจะมีการบรรจุในสิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพต่างๆ
"การตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก วิธีเดิมจะใช้วิธีตรวจ PSA เพื่อดูสารเคมีที่พบในเลือด เพื่อบ่งถึงความผิดปกติของต่อมลูกหมากร่วมกับวิธีการตรวจโดยสวมถุงมือคลำต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก(Digital Rectal examination :DRE) หากพบความผิดปกติเบื้องต้น คือ มีค่า PSA อยู่ระหว่าง 4.0 นาโนกรัมต่อมิลลิกรัม(ng/mL)ถึง 10 ng/mLจะต้องทำการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากมาตรวจเพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกมาก หรือเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและทำให้ผู้ป่วยเสียค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น"ศ.นพ.บรรณกิจกล่าว
สำหรับการสังเกตุความผิดปกติของต่อมลูกหมาก เช่นปัสสวาะตอนกลางคืนบ่อย ปัสสาวะลำยาก ปัสสาวะไม่หมด กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ปวดเวลาปัสสาวะหรือมีเลือดปนออกมา รวมทั้ง ไม่มีแรง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดหลัง ปวดกระดูก น้ำหนักลด หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัย
"อยากให้ปรับเปลี่ยนพฤตกรรมการบริโภค ลดอาหารมัน ควบคุมคลอเรสเตอรอล หันมากินอาหารไทยที่อุดมด้วยพืช ผัก ผลไม้ที่มีไลโคปีน เช่น แตงโม มะเขือเทศสุก ผักตระกูลกำหล่ำ ผลิตภัณฑ์จากเต้าหู้และถั่วเหลือง ซึ่งจะสามารถช่วยยับยั้งโอกาสป้วยด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้"ศ.นพ.บรรณกิจกล่าว