ย้อนไทม์ไลน์ 100 วัน กับสถานการณ์ ‘โควิด-19’ ในประเทศไทย

ย้อนไทม์ไลน์ 100 วัน กับสถานการณ์ ‘โควิด-19’ ในประเทศไทย

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กินเวลากว่าสามเดือน และลุกลามไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นับจนถึงวันนี้ (12เม.ย.63) เป็นเวลาครบหนึ่งร้อยวันที่ไทยได้รับมือกับโรคระบาดนี้ กรุงเทพธุรกิจได้รวบรวมข้อมูลว่าในหนึ่งร้อยวัน ไทยได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นและรับมืออย่างไร

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โควิด-19" หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่กินเวลามากกว่าสามเดือน และลุกลามไปทั่วโลก มีจำนวนผู้ป่วยกว่าล้านคน จากกว่า 200 ประเทศรวมถึงประเทศไทย

ย้อนกลับไปในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ขณะที่คนทั่วโลกกำลังเคานต์ดาวน์ นับถอยหลังเข้าสู่ศักราชใหม่ 2020 กันอย่างมีความสุข ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ก็กำลังเผชิญกับ “โรคประหลาด” เป็นอาการ "ปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ" ในบริเวณพื้นที่โดยรอบตลาดค้าส่งอาหารทะเล และได้รายงานออกสู่สาธารณะ

หลังจากจีนมีการรายงานดังกล่าว ประเทศไทยก็ได้เริ่มคัดกรองผู้โดยสารเที่ยวบินตรงจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนต้นตอการระบาด พร้อมเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินหรือศูนย์อีโอซี (EOC) ขึ้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ในวันที่ 4 มกราคม 2563 

สำหรับประเทศไทย จึงถือให้ 4 ม.ค.63 เป็นการปักหมุดแรกของการรับมือกับโรคระบาด "โควิด-19" (เดิมเรียกเพื่อความเข้าใจตรงกันว่า โรคปอดอักเสบจากอู่ฮั่น, ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่า และได้รับการประกาศชื่อโดยองค์การอนามัยโลกว่า COVID-19 ภายหลัง)

นับจนถึงวันนี้ (12 เมษายน 2563) เป็นเวลาครบหนึ่งร้อยวันที่ไทยได้รับมือกับโรคระบาดใหม่นี้ "กรุงเทพธุรกิจ" ได้รวบรวมข้อมูลมาว่าในหนึ่งร้อยวัน ประเทศไทยได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นบ้าง และมีมาตรการในการรับมือกับโรคโควิด-19อย่างไร

เดือนมกราคม

วันที่ 1 :  4 มกราคม 2563 เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินหรือศูนย์อีโอซี (EOC)

วันที่ 5 :  8 มกราคม 2563 คัดกรองพบนักท่องเที่ยวจีนมีไข้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

วันที่ 10 :  13 มกราคม 2563 ผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 รายแรกในประเทศไทยและเป็นรายแรกนอกประเทศจีน

วันที่ 12 :  15 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยยืนยันที่เป็นคนไทยรายแรก โดยเดินทางกลับจากประเทศจีน

วันที่ 19 :  22 มกราคม 2563 เปิดศูนย์อีโอซีกระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 24 :  27 มกราคม 2563 นายกรัฐมนตรีแถลงยกระดับศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี(PMOC)

วันที่ 27 :  30 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทยเป็นรายแรกที่ไม่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ระบาด โดยเป็นคนมีอาชีพขับรถแท็กซี่และมีประวัติรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ

 

เดือนกุมภาพันธ์

วันที่ 31 :  3 กุมภาพันธ์ 2563 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน 

วันที่ 40 :  12 กุมภาพันธ์ 2563 เพิ่มการเฝ้าระวังในผู้ป่วยปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ ในพื้นที่ 8 จังหวัด ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไป ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ และภูเก็ต

วันที่ 45 :  17 กุมภาพันธ์ 2563 ขยายพื้นที่เสี่ยงในการคัดกรองผู้เดินทางผ่านสนามบินครอบคลุมประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ด้วย นอกเหนือจากประเทศจีน

วันที่ 49 :  21 กุมภาพันธ์ 2563 ขยายพื้นที่เฝ้าระวังครอบคลุมประเทศเกาหลีใต้

วันที่ 50 :  22 กุมภาพันธ์ 2563 จับตาพิเศษประเทศอิตาลี หากพบสถานการณ์ระบาดมากขึ้น ยกระดับการเฝ้าระวังทันที

158667936862

วันที่ 52 :  24 กุมภาพันธ์ 2563 มีการประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ของประเทศไทย  

 

เดือนมีนาคม

วันที่ 58 :  1 มีนาคม 2563  มีผู้เสียชีวิตรายแรกจากโควิด-19 รายแรกในไทย 

วันที่ 60 :  3 มีนาคม 2563 แรงงานผิดกฎหมายในเกาหลีเดินทางกลับไทย และกรุงเทพมหานครได้ตั้งจุดตรวจคัดกรองและวัดอุณหภูมิเจ้าหน้าที่และประชาชนที่มาติดต่อราชการ และ กำหนดให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 437 แห่ง 

วันที่ 62 :  5 มีนาคม 2563 ประกาศประเทศเสี่ยง เขตติดโรคติดต่ออันตราย ต้องกักตัวทุกคน และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เริ่มขาด

วันที่ 66 :  9 มีนาคม 2563 ประกาศเจลแอลกอฮอล์เป็นเครื่องสำอางค์ ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย และประกาศให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่เป็นเขตโรคติดต่อจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์

วันที่ 69 :  12 มีนาคม 2563 ตรวจพบผู้ป่วยโควิด-19 จากการไป สนามมวยลุมพินี และมีการตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)

วันที่ 70 :  13 มีนาคม 2563 ประกาศต้องแยกห้องเฉพาะสำหรับรักษาผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อร้ายแรงที่ติดต่อง่ายโรคที่มีอัตราป่วยตายสูง หรือรักษายาก

วันที่ 72 :  15 มีนาคม 2563 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประกาศขอให้คนไทยจำนวน 132 คน ที่ เข้าร่วมงานชุมนุมของผู้เผยแผ่ศาสนาที่ มัสยิด ซือรี ปือตาลิง รีบเข้าพบแพทย์ในโรงพยาบาล ที่อยู่ใกล้ที่สุดทันที และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ประกาศปรับมาตรการโดยให้ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ที่ผ่านกระบวนการคัดกรองแล้วไม่พบไข้ ให้ กลับไปเฝ้าดูอาการ 14 วัน

วันที่ 74 :  17 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 15 มาตรการเร่งด่วน และให้ปิดมหาวิทยาลัย โรงเรียนนาชาติ สถาบันกวดวิชา เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ปิดผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณและโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ชั่วคราว 14 วัน และงดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค 

วันที่ 78 :  21 มีนาคม 2563 ผู้ว่าฯ กทม. ประกาศปิดห้าง พื้นที่เสี่ยง ทั่วกรุงเทพฯ เปิดเฉพาะบริการที่จำเป็น เป็นเวลา 22 วัน ให้ขายได้เฉพาะโซนอาหารที่ต้องซื้อกลับ บ้าน และยาเท่านั้น และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนทุกจังหวัด พิจารณาระงับการใช้ช่องทาง ณ จุดผ่านแดนถาวร จุดผ่อนปรนการค้า และจุดผ่อนปรนพิเศษเป็นการชั่วคราว

วันที่ 80 :  23 มีนาคม 2563 ประชาชนเริ่มเดินทางกลับต่างจังหวัด (จากประกาศฉ.1) และมีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดค้นหาและคัดกรองผู้ที่เดินทางกลับ จากพื้นที่เสี่ยง (ประเทศในกลุ่มเสี่ยงรวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล) และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการอีก 4 แห่งได้ร่วมกัน จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

วันที่ 81 :  24 มีนาคม 2563 พล.อ.ประยุทธ์ประกาศพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วันที่ 83 :  26 มีนาคม 2563 เริ่มใช้วันแรกพ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร และคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการออกประกาศ เรื่องห้ามส่งออกไข่ไก่สดไปนอกราชอาณาจักร 

วันที่ 84 :  27 มีนาคม 2563 กทม. สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว และกระทรวงสาธารณสุขได้เปลี่ยนการวินิฉัยการยืนยังผลตรวจโควิด-19 จาก 2 Lab เป็น Lab เดียว

วันที่ 86 :  29 มีนาคม 2563 ประชาชนเริ่มเดินทางกลับต่างจังหวัด (จากประกาศฉ.4) และจังหวัดต่างๆ เริ่มการประกาศปิดสถานที่เสี่ยง 

  

เดือนเมษายน

วันที่ 90 :  2 เมษายน 2563 นายกรัฐมนตรี ประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานทั่วราชอาณาจักร (เคอร์ฟิว) และสั่งห้ามไม่ให้คนต่างชาติและคนไทยเดินทางเข้าประเทศไทย

วันที่ 92 :  4 เมษายน 2563 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศ ห้ามเครื่องบินทุกประเทศและผู้โดยสารเข้าประเทศไทย 3 วัน และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ยืนยันว่าผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือผู้ป่วยที่เข้าข่ายเกณฑ์ สอบสวนโรคทุกรายสามารถรักษาฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย

วันที่ 93 :  5 เมษายน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีโครงการที่จะรับบริจาคพลาสมาจากผู้ที่หายจากโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019

วันที่ 95 :  7 เมษายน 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนการเปิดภาคเรียนภาคเรียนที่1/ 2563 จากวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วันที่ 96 :  8 เมษายน 2563 กระทรวงวัฒนธรรม ออกประกาศห้ามจัดงานสงกรานต์ทุกระดับ

วันที่ 97 :  9 เมษายน 2563 กรุงเทพมหานคร และอีก10 จังหวัดที่มีการเพิ่มมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอด 24 ชั่วโมง

วันที่ 98 :  10 เมษายน 2563 นายกรัฐมนตรีแจงแนวปฏิบัติช่วงสงกรานต์ พร้อมสรุปสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันที่ 99 :  11 เมษายน 2563 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เพิ่มมาตรการ ลาดตระเวนและตรวจสอบ พื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค พร้อมเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายห้ามชุมนุม ตาม พรก.ฉุกเฉิน

วันที่ 100 :  12 เมษายน 2563 โฆษก ศบค. แถลงไทยมีผู้ติดเชื้อสะสมรวม 2,551 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 38 ราย รักษาหายป่วยแล้ว 1,218 ราย 

  

จากวันที่จีนรายงานโรคปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุในปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันกินเวลากว่าสามเดือน ประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม -12 เมษายน 2563 กว่า 2,500 รายแล้ว เราไม่อาจรู้ได้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะกินเวลาไปนานเท่าไร แต่การดูแลตัวเอง ทั้งล้างมือบ่อยๆ หรือ การไม่ออกไปพบปะผู้คนแออัดในพื้นที่เสี่ยง หรือทำตามคำแนะของแพทย์ ก็จะเป็นวิธีที่ทำให้การระบาดนี้จบเร็วยิ่งขึ้น