'ประกันสังคมมาตรา 33' รอบรับ ‘เงินเยียวยา' 15,000 บาท ไม่ต้องลงทะเบียบเพิ่ม!
"ประกันสังคมมาตรา 33" รอบรับ "เงินเยียวยา" 15,000 บาท ไม่ต้องลงทะเบียบเพิ่ม!
ผู้ประกันตนในระบบ “ประกันสังคมมาตรา 33” หรือ กลุ่มพนักงานเอกชน มีจำนวนมากถึง 11,295,514 รายทั่วประเทศ
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอให้มีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับ "ผู้ประกันตนมาตรา 33" ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน หรือเพิ่งตกงานในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา จำนวนประมาณ 60,000 คน คนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวมจ่ายเงินเยียวยาจำนวน 15,000 บาทต่อราย สำหรับการจ่ายเงินเยียวยาทางสำนักงานประกันสังคม ดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (มิถุนายน – สิงหาคม 2563) รวมเป็นเงิน 15,000 บาท โดยจ่ายเพียงครั้งเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- 'ประกันสังคมช่วยจ่ายค่าเทอม' ไม่มีจริง! แต่มีสิทธิ์รับเงินอะไรบ้าง เช็คที่นี่
- เช็คสิทธิ์ ‘ประกันสังคม’ มาตรา 33 รับ ‘เงินเยียวยา' 15,000 บาท สรุปล่าสุด! (21 ก.ค. 63)
- เปิดวิธีเช็คสถานะ 'เงินเยียวยา' จาก 'ประกันสังคม'
- 'เยียวยา' ประกันสังคม เฮ! คลังช่วยจ่าย 5,000 บาท ผู้ประกันตน 8.6 หมื่นราย
- ‘เยียวยาเกษตรกร’ เช็คสถานะ ‘เยียวยา’ ห้าพัน ล่าสุด ยังมีคนได้เงิน
นอกจากนี้ยังไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ในสัดส่วน 62% ของค่าจ้างรายวัน และไม่เคยได้รับเงินเยียวยาจากโครงการอื่นๆ ของภาครัฐ เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเยียวยาเกษตรกร โครงการเยียวยากลุ่มเปราะบาง เป็นต้น
ล่าสุด นางพิศมัย นิติไพบูลย์ รองเลาขาธิการ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษก สปส.เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวให้ “ประกันสังคมมาตรา 33” กับพีพีทีวีออนไลน์ว่า ลูกจ้างมีสิทธิ์รับเงินชดเชยรายได้ 15,000 บาท จำนวนเกือบ 6 หมื่นราย ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมได้คัดแยกรายชื่อออกมาแล้ว โดยคัดกรองจากกิจการที่ขึ้นทะเบียนรับรองขอเงินชดเชยให้ลูกจ้างก่อนหน้านี้ แต่ก็มี “ผู้ประกันตน” บางส่วน ที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ทางสำนักงานประกันสังคมก็จะติดต่อขอข้อมูลกลับไป
“ยืนยันว่าขณะนี้มีข้อมูล และจำนวนผู้ที่ได้รับสิทธิ์ที่แน่ชัดแล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม” นางพิศมัย กล่าว
โดยรายละเอียด และเงื่อนไข ของ "ผู้ประกันตนมาตรา 33" ในกองทุนประกันสังคมที่จะได้รับการเยียวยาจากสถานการณ์โควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
- กลุ่มแรก: ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน จะได้รับการช่วยเหลือตามกรณีต่างๆ ดังนี้
1. ว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย
- ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วันเนื่องจากใช้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จ่าย 62% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
- หน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว จ่าย 62% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
2. ว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง
- ว่างงาน จากการลาออก จ่าย 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
- ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง จ่าย 70% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน
3. ลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน
- ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน
- ขยายเวลาส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เม.ย. พ.ค. 63 ออกไปอีก 3 เดือน งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ค. 63 งวดค่าจ้างเดือน เม.ย. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ส.ค. 63
และงวดค่าจ้างเดือน พ.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ย. 63
- กลุ่มที่ 2 : ผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน
ล่าสุด ที่ประชุม ครม. 21 ก.ค. 63 มีมติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอให้มีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับ "ผู้ประกันตนตามมาตรา 33" ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในการประชุมครั้งที่ 11/2563 โดยมีสาระสำคัญ คือ
จะมีการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาฯ ของกระทรวงแรงงาน วงเงินรวม 896.64 ล้านบาท
โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ "ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 59,776 คน โดยจะมีการจ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (มิถุนายน – สิงหาคม 2563) รวมเป็นเงิน 15,000 บาท โดยจ่ายเพียงครั้งเดียว"
- ช่องทางเช็คความคืบหน้า "เงินเยียวยา" จาก "ประกันสังคม"
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถตรวจสอบสถานะ "เงินเยียวยา" จาก "ประกันสังคม" จากช่องทางต่างๆ ได้ ตามช่องทางที่เปิดให้บริการดังต่อไปนี้
- ช่องทางที่ 1: เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม "www.sso.go.th"
- ช่องทางที่ 2: ผ่านแอพพลิเคชั่น "SSO Connect mobile" จาก App Store หรือ Play Store
- ช่องทางที่ 3: สอบถามผ่านโทรศัพท์ โซเชียลมีเดีย หรือติดต่อโดยตรงที่สำนักงานประกันสังคม ในเขตพื้นที่ใกล้บ้าน