จาก "ถังสีฟ้า" สู่การคัดแยก รีไซเคิล “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” 

จาก "ถังสีฟ้า" สู่การคัดแยก รีไซเคิล “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” 

ดีแทค เดินหน้าโครงการ "ทิ้งให้ดี" ตั้งถังสีฟ้าภายในศูนย์บริการดีแทคทั้ง 51 สาขา รับขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวบรวมส่งต่อให้กับ TES คัดแยก ส่งรีไซเคิลสิงคโปร์ ตั้งเป้าจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ใช้วิธีฝังกลบ (ZERO Landfill) ภายในปี 2565

ผลการสำรวจพฤติกรรมการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยสำนักสิ่งแวดล้อมพบว่า กว่า 50% ของผู้ใช้งานจะเลือกขายซากขยะอิเล็กทรอนิกส์กับผู้รับซื้อของเก่าหรือ รถขายของเก่า ซึ่งมักจะนำขยะไปแยกชิ้นส่วน โดยจะเลือกเฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเพื่อนำไปขายต่อได้ และกำจัดซากขยะที่เหลือด้วยการทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป

ปัญหาสำคัญ คือ การทิ้งซากผลิตภัณฑ์ปะปนกับขยะทั่วไป และการจัดการที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อแหล่งน้ำ พื้นดิน และอากาศ ขณะเดียวกัน จากการสำรวจ พบว่า ขยะมือถือเป็นส่วนหนึ่งของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคิดเป็น 65% ของของเสียอันตรายจากชุมชน จำนวน 414,600 ตัน และได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 13% เท่านั้น

159886950241

บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ในฐานะผู้ให้บริกรโทรคมนาคม เป็นผู้จัดจำหน่ายมือถือหลายแสนเครื่องต่อปี ได้วางเป้าหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ใช้วิธีฝังกลบ (ZERO Landfill) ภายในปี 2565 ตามนโยบายด้านการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ หรือ Environment Management System and Climate ตามกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน

เนื่องจากพบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจการให้บริการด้านโทรคมนาคม ส่วนใหญ่มาจากโครงข่ายสัญญาณ เฉพาะในปี 2562 ดีแทคสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 213,476 ชิ้น แบ่งเป็น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับจากผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 46,221 ชิ้น คิดป็น 21% และขยะอิล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการการขยายโครงข่าย 167,255 ชิ้น หรือคิดเป็น 79% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เก็บได้ 

159886950151

นำมาซึ่งการตั้งจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากการใช้งาน ตั้งแต่ปี 2555 สู่โครงการ “ทิ้งให้ดี” โดยตั้งถังสีฟ้าภายในศูนย์บริการดีแทคทั้ง 51 สาขา เพื่อรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นหูฟัง มือถือ สายชาร์ต พาวเวอร์แบงค์ ฯลฯ รวบรวมส่งต่อให้กับ TES ซึ่งถือเป็นผู้นำระดับโลกในเรื่องของการจัดการรีไซเคิล ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีสาขามากกว่า 38 แห่ง ใน 20 ประเทศทั่วโลก ได้รับมาตรฐาน ISO14001 OSHAH 18001 ISO9001 และ ISO27001 ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำนินธุรกิจในด้านการจัดการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบภายใต้นโยบาย Zero Landfill

159886949866

“อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์” ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค “ทิ้งให้ดี” ต้องการเป็นทางออกที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ให้สามารถทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทมือถือและอุปกรณ์เสริมที่ใช้งานไม่ได้อย่างอย่างถูกวิธี ปลอดภัยต่อเพื่อนร่วมโลกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยในแต่ละปี ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคม เป็นผู้จัดจำหน่ายมือถือหลายแสนเครื่องต่อปี เราจึงมุ่งมั่นนำขยะมือถือจากผู้ใช้งาน ชึ่งคิดป็น 19% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีแทคเก็บได้ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและไม่มีเศษขยะที่เหลือไปฝังกลบ (ZERO Landfill)

“โครงการนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเรามองเห็นเทรนด์ที่จะโตขึ้น เพราะทุกอย่างมีอายุการใช้งาน การเพิ่มขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หากมีการจัดการที่ดี อาจนำไปสู่ธุรกิจขยะอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต” อรอุมา กล่าว

159886949914

ด้าน กรวิกา ชัยประทีป  Sales & Marketing Manager, TES กล่าวว่า โรงงานของ TES มีพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร สามารถรับ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wate) ได้เดือนละราว 300 ตัน และรึไชเคิลได้เกือบ 100 % สิ่งที่รีไซเคิลไม่ได้ เช่น ผงหมึกพรินต์เตอร์ สิ่งที่ทำคือ ส่งเข้าโรงปูนชีเมนต์เพื่อเผาเป็นพลังงานเชื้อเพลิง รวมถึงมีเอกสารรับรองจากโรงปูนเพื่อยืนยันว่าได้ให้ความสำคัญกับการจัดการ ตามนโยบาย ZERO Landfill

159886950370

ปัจจุบัน E-Wate เกิดขึ้นทุกวันแต่การจัดการไม่ได้ถูกดึงเข้ามาในระบบ มีโรงงานที่จัดตั้งขึ้น และเรียกเก็บ E-Waste โดยที่ไม่ได้รับรองมาตรฐาน ขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับ Waste Electrical and Electronic Equipment หรือ WEEE ว่าด้วยเรื่องของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ไม่มีหน่วยงานไหนควบคุมการจัดการ E-Waste ในส่วนของผู้ใช้งาน มีเพียงกฎหมายรองรับผู้ผลิตหรือโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น

159886950190

หากกฎหมาย WEEE เกิดขึ้น จะทำให้มีการบังคับใช้ผู้บริโภค ให้ส่งกำจัดอย่างถูกวิธี ซาเล้งก็จะทำหน้าที่รับ E-Waste และส่งต่อ เพราะปัจจุบัน ซาเล้งทำการเผาอย่างไม่ถูกวิธีเพื่อให้ได้ทอง แต่ต่อไปนี้หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ หน้าที่ของซาเล้งอาจจะทำได้เพียงแกะแยกและส่ง E-Waste เข้าสู่โรงงานกำจัดอย่างถูกต้อง

“สิ่งที่จะผลักดันฎหมายให้เกิดได้ ต้องให้ความรู้กับผู้บริโภคและให้ลูกค้ารู้ว่าจะทิ้ง E-Waste ได้ที่ไหน เพราะ บางครั้งลูกค้าก็ไม่ทราบว่าจะต้องทิ้งที่ไหน อย่างไร โครงการ ”ทิ้งให้ดี“ จึงเป็นถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจัดการ E-Waste ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรวิกา กล่าวทิ้งท้าย

----------------------------

จาก "ถังสีฟ้า" สู่คัดแยกรีไซเคิล

     หลังจากที่ TES รับซากขยะอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ จากโครงการ “ทิ้งให้ดี” จะมีการตรวจนับ ช่างน้ำหนัก ลงบันทึกจำนวน และสถานที่รับเพื่อแจ้งดีแทคทราบ และยืนยันว่าได้รับอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้น นำเข้าพื้นที่จัดเก็บ และทำการคัดแยกวัสดุตามประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ หน้าจอ เคส กล้อง ฯลฯ

      หลังจากนั้น จะถูกส่งไปยังโรงงานของ TES ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการทำลายหน่วยความจำในเครื่อง โดยใช้มาตรฐานสากล NIST 800-88R1 ที่ใช้มากที่สุดทั่วโลกในการทำลายข้อมูล เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และสกัดเป็นโลหะมีค่า ได้แก่ ทองคำ ทองแดง พาราเดี้ยม เหล็ก อลูมิเนียม ลิเทียม และวัสดุประเภทพลาสติก เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าใหม่ต่อไป

     โดย 96-98% ของขยะทั้งหมดที่ดีแทคเก็บได้สามารถเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกต้อง และช่วยลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือลดคาร์บอนฟุตพรินต์ รวมทั้ง ไม่ทิ้งเศษชากขยะเป็นขยะฝังกลบ หรือ Zero Landfill

159886950242