เด็กรุ่นใหม่เรียนป.ตรีน้อยลง สถาบันการศึกษาดิ้นปรับตัว

เด็กรุ่นใหม่เรียนป.ตรีน้อยลง สถาบันการศึกษาดิ้นปรับตัว

เด็กรุ่นใหม่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยน้อยลง ปี 63 เหลือเพียง 2 แสนคน “สุชัชวีร์” ย้ำเปิดคณะตอบโจทย์ตลาดแรงงานโลก เข้ายุค Localization แนะ10ทางรอดสถาบันการศึกษาไทย อาชีวะยกกำลังสอง ดึงเอกชนช่วยจัดการศึกษา พุ่งเป้า 7 อุตสาหกรรมใหม่ เปิด 10 สาขายอดนิยม

เปิดคณะตอบโจทย์เด็กรุ่นใหม่

.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.)กล่าวว่าภาพรวมของคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือ ทีแคสในปีการศึกษา 2563 พบว่า จำนวนเด็กลดลงอย่างเห็นได้ชัด มีเด็กเข้ามหาวิทยาลัยเพียง 2 แสนกว่าคนจากเดิมปี 2562 มีเด็กจำนวน 3 แสนกว่าคน เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยค่อนข้างกังวลและเห็นอย่างชัดเจนว่าต้องปรับตัวอย่างรุนแรง

ตอนนี้เด็กที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยลดลงเรื่อยๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องปรับตัว คณะไหนเด็กเรียนน้อย หรือไม่มีเด็กเรียนต้องปิดการเรียนการสอน และต้องเปิดคณะที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ความต้องการของประเทศ และโลกเมื่อเด็กจบออกมาจะได้มีงานทำ ต้องใช้ข้อมูลที่มีอยู่บริหารจัดการ เพราะความนิยมของมหาวิทยาลัยแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน อย่าง ทปอ.เด็กจะเรียนสายสังคมน้อยกว่าสายวิทยาศาสตร์ ขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฎ เด็กอาจเรียนสายสังคมมากว่าสายวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยต้องรู้ศักยภาพ อัตลักษณ์ และเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงต้องแข่งขันกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และสร้างความแตกต่างคิดให้ไวและทำทันที.ดร.สุชัชวีร์ กล่าว

Localizationพึ่งตนเอง

.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวต่อว่าวันนี้โลกไม่เหมือนเดิม ต่อให้ไม่มีโควิด-19 โลกก็ไม่เหมือนเดิม บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นแบบเดิมไม่ได้ ตอนนี้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่สู้แบบสุดๆ เพียงวันเดียวก็อาจจะสูญพันธุ์ได้ อีกทั้งตอนนี้โลกไม่ใช่เป็นเรื่อง Globalization แต่เป็น Localization เมื่อเกิดโควิด-19 จากเดิมที่ทุกอย่างเคลื่อนเข้าหากัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล เงิน และคน แต่ด้วยการแพร่ระบาดของโรค และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทำให้ทุกประเทศเคลื่อนข้อมูล เงิน และคนกลับประเทศตนเองหมด เพราะต้องช่วยคนของประเทศ ฉะนั้นสถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นอีกหนึ่งแรงสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สร้าง ผลิต และขาย ทุกอย่างกลับมาอยู่ที่บ้านตัวเอง ต้องเป็นผู้ผลิต ผู้สร้างและผู้ขายนวัตกรรมมากกว่าเป็นผู้ซื้ออย่างเดียว

หลักสูตรและการเรียนการสอนต้องเปลี่ยน เน้นทั้งออฟไลน์ออนไลน์ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการศึกษามากที่สุด ซึ่งขณะนี้ รัฐและเอกชนสร้างสังคม สภาพแวดล้อมดิจิทัล ต้องทุ่มเทในการสร้างคนรุ่นใหม่ ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงตลอดชีวิต สร้างพลเมืองที่สร้างสรรค์ มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ไม่ใช่เกิดมาแล้วเป็นเบี้ย หรือเป็นทาสดิจิทัลนอกจากนั้น มหาวิทยาลัยต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างโอกาสแก่ทุกคนได้พัฒนาตนเองตลอดเวลาอธิการบดีสจล.กล่าว

10แนวทางปรับตัวมหาวิทยาลัย

ประธานทปอ.นำเสนอ10 กิจกรรมที่เป็นกลไกสำคัญในการปรับตัวของมหาวิทยาลัย ดังนี้ 1. คิดต้องใหม่เสมอ มีวิสัยทัศน์ การมองเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น 2.ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัด วิสัยทัศน์ต้องเวอร์ 3.คิดแล้วทำทันที หรือทำให้ไว 4.ต้องทำงานและเดินไปตามนโยบายเป้าใหม่กับคนเก่ง มีนักวิจัย นักวิชาการ ครูคณาจารย์ และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเก่งๆ 5.รู้จักปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ 6.พัฒนาคณาจารย์ หลักสูตรให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและโลก 7.บุคลากรทุกคนต้องพัฒนาตัวเองผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ เติมความรู้ให้ตัวเองตลดเวลา 8.เรียนในห้องออนไลน์ ต้องปรับตัวเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอน การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 9.รูปแบบการเรียนการสอนต้องดึงดูดใจนักเรียน 10.ผลิตนวัตกรรมช่วยสังคม

การที่มหาวิทยาลัยจะปรับเปลี่ยนได้ ต้องเข้าใจเด็ก เพราะตอนนี้เด็กสามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเอง การจะสอนตามตำราอย่างเดียวไม่พอ อีกทั้งเทรนด์เด็กไม่ได้อินปริญญา และเสามารถเข้าเรียนกับมหาวิทยาลัยดังๆ ในต่างชาติได้ มหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่ส่งเสริมให้พวกเขามีความคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ เพราะในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างไวและเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในชีวิตคน ความคิดเท่านั้นที่ทำให้คนแตกต่างและอยู่รอดได้" .ดร.สุชัชวีร์ กล่าว

1602421266100

อาชีวะชู3.ดึงเอกชนเข้าร่วม

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา(กอศ.) กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา(สอศ.) มีโครงการอาชีวะกำลังสอง เน้นการสร้างคุณภาพ นำปริมาณ เพราะเชื่อว่าเมื่อมีคุณภาพ ผู้เรียน ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นก็จะส่งลูกมาเรียนมากขึ้น สถาบันอาชีวศึกษาทุกแห่งจะร่วมมือกับภาคเอกชน ที่เป็นสถานประกอบการชั้นนำ มาร่วมพัฒนานักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาครูให้มีสมรรถนะ ไปสู่การจัดการเรียนการสอน เน้นปฎิบัติ เรียนรู้จากสถานประกอบการจริง รูปแบบทวิภาคี และสถานประกอบการจะถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ให้แก่เด็ก จะมีทักษะรอบด้าน และเป็นทักษะที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา(กอศ.) กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา(สอศ.) มีโครงการอาชีวะกำลังสอง เน้นการสร้างคุณภาพ นำปริมาณ เพราะเชื่อว่าเมื่อมีคุณภาพ ผู้เรียน ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นก็จะส่งลูกมาเรียนมากขึ้น สถาบันอาชีวศึกษาทุกแห่งจะร่วมมือกับภาคเอกชน ที่เป็นสถานประกอบการชั้นนำ มาร่วมพัฒนานักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาครูให้มีสมรรถนะ ไปสู่การจัดการเรียนการสอน เน้นปฎิบัติ เรียนรู้จากสถานประกอบการจริง รูปแบบทวิภาคี และสถานประกอบการจะถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ให้แก่เด็ก จะมีทักษะรอบด้าน และเป็นทักษะที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ

อาชีวะยกกำลังสอง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับภาคเอกชนในการพัฒนาเด็ก เมื่อจบออกมาจะได้มีงานทำ โดยสอศ.ได้ใช้ 3 .ในการขับเคลื่อน คือ ปลดล็อคทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของภาคเอกชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน หลักสูตรให้ตรงกันความต้องการ ตอบสนองบริบทของสถานประกอบการ และเปิดกว้าง ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ มาร่วมจัดการศึกษา ช่วยฝึกฝนครูให้มีความรู้ความสามารถ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เด็ก และสถานประกอบการในการจ้างงานเด็ก

"ตอนนี้สัดส่วนระหว่างผู้เรียนอาชีวะ ประมาณ 46% ขณะที่สายสามัญประมาณ 54% ซึ่งคาดว่าในปีการศึกษา 2564 นี้ จะสามารถเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวะเพิ่มขึ้นเป็น 50% หรือ 60% ตามนโยบายความต้องการของรัฐบาล ที่ต้องการให้อาชีวะปรับการเรียนการสอน และสร้างความเชื่อมั่นให้เด็กมาเรียนอาชีวะมากขึ้น"ดร.สุเทพ กล่าว

1สถาบัน7อุตสาหกรรมใหม่

ดร.สุเทพ กล่าวต่อว่าโครงการอาชีวะยกกำลังสองนี้ จะมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการในทุกหลักสูตร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ อุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ ดิจิตอล และการเกษตร นอกจากนั้นจะมุ่งใน 7 อุตสาหกรรม สายงานใหม่ ได้แก่ปิโตรเคมี,เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล,หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม,เกษตรสมัยใหม่,อุตสาหกรรมการบิน, อุตสาหกรรมระบบรางและยานยนต์สมัยใหม่ และ ธุรกิจโรงแรมและการบริการ

"เบื้องต้นภาคเอกชนจะเข้ามาช่วยพัฒนาหลักสูตร แบบ 1 เอกชนต่อ 1 วิทยาลัย ใน 7 สายงานหลัก รวม 32 แห่ง ตั้งเป้าจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) ของอาชีวศึกษา50 แห่ง สิ้นปี 2563 และครบ 100 แห่ง ในปี 2564

10สาขาที่เด็กอาชีวะเลือกเรียน

ปัจจุบันมีนักเรียนนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประมาณ 900,000 กว่าคน ซึ่งในปี 2563 10สาขาที่มีนักเรียนมาเรียนมากที่สุดได้แก่ 1.สาขาช่างยนต์82,671 คน 2.บัญชี 76,463 คน 3.ช่างไฟฟ้ากำลัง 58,567 คน 4.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 57,922 คน 5.ช่างกลโรงงาน 37,278 คน 6.ไฟฟ้า 36,196 คน 7.เทคนิคเครื่องกล 32,809 คน8.ช่างอิเล็กทรอนิก 27,682 คน 9.การโรงแรม 23,919 คน และ10.ช่างก่อสร้าง 22,990 คน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยต้องการกำลังคนที่จะมาพัฒนาประเทศ ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวะ เรียนแล้วการันตีว่ามีงานทำ เน้นคุณภาพ สมรรถนะที่ตอบโจทย์สถานประกอบการเชื่อว่าจะเป็นทรัพยากร ทุนมนุษย์สำคัญของประเทศ

เน้นเรียนรู้สถานการณ์จริง

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ระบบการศึกษาไทย มีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ครูนักเรียนขาดการปฎิสัมพันธ์ต่อกัน และยังไม่มีการออกแบบชั้นเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน ดังนั้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของทุกเรื่องการศึกษาต้องปรับตัวให้ไว และเลิกรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม อย่าง ยืนสอนหน้าชั้นเรียน ควรหมดยุคนี้แล้วห้องเรียนต้องเปิดกว้างกว่าเดิม และการเรียนต้องหลากหลาย มีทั้งเกม ชวนเด็กค้นคว้าหาข้อมูลตามสถานการณ์ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ที่สำคัญ ต้องทำให้การศึกษาในชั้นเรียนเป็นการศึกษาของทุกคน และต้องเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกโอกาส