โลจิสติกส์ เรียนแล้วมีงานทำ 99.99%

โลจิสติกส์ เรียนแล้วมีงานทำ 99.99%

หลักสูตรโลจิสติกส์แและโซ่อุปทาน ม.รามคำแหง ผนึกดีเอสแอล ปั้นกำลังคนด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานรองรับความต้องการอุตสาหกรรมของไทย ระบุเรียนแล้วมีงานทำ 99.99% ขยายเปิดรับป.ตรี สนใจสมัครออนไลน์ได้แล้ววันนี้

"โลจิสติกส์" กลายเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะหากประเทศไทยสามารถขนส่งสินค้าและบริการต่างๆได้อย่างสะดวก คล่องตัว และมีหลากหลายเส้นทางย่อมหมายถึงการเพิ่มมูลค่า เพิ่มเม็ดเงินให้แก่ประเทศ

ปัจจุบันตลาดโลจิสติกส์เป็นตลาดที่กว้าง โดยกิจกรรมหลักทางโลจิสติกส์ทั้ง  13  กิจกรรม  นำมาจัดเป็นกลุ่มได้  5  กลุ่ม  ประกอบด้วย กิจกรรมทางด้านการบริหารจัดการการผลิต  การตลาดและการบริการลูกค้า  การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่าง  การกระจายสินค้าและการจัดการสินค้าคงคลัง  การขนส่ง  ซึ่งครอบคลุมองค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์ ส่งผลให้ความต้องการของบุคลากร ตลาดแรงงานด้านนี้สูงมากขึ้น  นักศึกษาที่จบการศึกษาแล้ว ประกอบอาชีพได้ตรงตามที่ตลาดต้องการ มีร้อยละการมีงานทำถึง ร้อยละ 99.99 และเป็นไปตามผลการวิจัยหลักสูตรที่ตลาดต้องการแรงงานโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

160379300986

วันนี้ (27 ..2563)ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง(..) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาระหว่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง กับ บริษัท ดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด  โดยมีนายควิน สจ้วต เบอร์เรล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ รักษาราชการแทนอธิการบดี ..เป็นผู้ลงนาม

ผศ.วุฒิศักดิ์ กล่าวว่าม.รามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายวิชา และสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งพิธีลงนามครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กับทางบริษัทดีเอสแอลที่มีศักยภาพ และมีความพร้อม มีประสบการณ์การแข่งขันในตลาดดังกล่าว

ขณะเดียวกันทางม.รามคำแหง มีคณาจารย์ องค์ความรู้ที่มีคุณภาพ เมื่อนักศึกษาได้เรียนในหลักสูตรดังกล่าวภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับเอกชนจะเป็นการเติมเต็ม เสริมความเข้มแข็งให้แก่นักศึกษาเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ เพราะได้เรียนรู้จากมืออาชีพ ผู้ที่อยู่ในแวดวงโลจิสติกส์จริงๆ และได้ฝึกปฎิบัติฝึกงานจากประสบการณ์จริง เมื่อจบการศึกษาพวกเขาจะพร้อมทำงานทันที ไม่ใช่อยู่บนหอคอย อีกทั้งอาจารย์และนักศึกษาจะได้ร่วมศึกษาทำงานวิจัย พัฒนาหลักสูตรร่วมกันในอนาคตเป็นการนำองค์ความรู้จากหิ่งสู่ห้างอย่างแท้จริง

"ต้องยอมรับว่าการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาบัณฑิต ทรัพยากรบุคคลของประเทศต้องเป็นการทำงานร่วมมือกันระหว่างภาคการศึกษาและเอกชน เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์ความรู้ในสถานศึกษาและสถานประกอบการ ดังนั้น ความร่วมมือดังกล่าวเป็นนิมิตรหมายที่ดี และเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมพยายามส่งเสริมให้ทุกสาขาวิชา การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมีความเชื่อมโยงกับภาคเอกชน หรือให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น" ผศ.วุฒิศักดิ์ กล่าว

160379303492

หลายคนอาจมองว่า โลจิสติกส์เป็นเรื่องขนส่งเพียงอย่างเดียว  แต่จริงๆ ไม่ใช่ ยังรวมถึงการจัดการสินค้า การจัดการคลังสินค้า การกระจายสินค้า และสามารถประยุกต์ได้กับทุกอุตสาหกรรม ทั้งภาคการผลิต และบริการ ซึ่งม.รามคำแหง ได้มีการเปิดหลักสูตรดังกล่าวในระดับปริญญาโท ผลิตบุคลากรผู้บริหารด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมาแล้ว 15 รุ่น  2,000 กว่าคนและขณะนี้กำลังเปิดรับนักศึกษาปริญญาตรี เพื่อผลิตคนรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดโลจิสติกส์มากขึ้น

ศ.ดร.ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์ ประธานโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานม.. กล่าวว่าคณะบริหารธุรกิจได้มีความร่วมมือบริษัทดีเอสเอล อยู่แล้ว โดยมีผู้บริหารของดีเอสแอล อย่าง  ผศ.ดร.บุญมา ชัยเสถียรทรัพย์ กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่ บริหารฝายทรัพยากรบุคคล ของดีเอสแอล ได้มาเป็นอาจารย์ผู้สอนคณะบริหารธุรกิจ สาขาโลจิสติกส์และอุปทานมาเป็นเวลานาน อีกทั้งนักศึกษาที่จบมาก็ได้ไปทำงานกับดีเอสแอล ซึ่งทางดีเอสแอลยอมรัยบในหลักสูตร และคุณภาพของบัณฑิต จึงได้ลงนามความร่วมมือในครั้งนี้อย่างเป็นทางการ

" ปัจจุบันตลาดแรงงาน ยังต้องการแรงงานทางด้านโลจิสติกส์ เนื่องจากการเติบโตของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม, ธุรกิจ E-Commerce, ธุรกิจอาหารเดลิเวอร์รี่ ฯลฯ ในปัจจุบันได้ขยายตัวอย่างมาก ประกอบกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ส่งผลให้ความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์เป็นที่ต้องการของในหลายภาคอุตสาหกรรม เพราะโลจิสติกส์ไม่ได้เป็นเพียงการขนส่งสินค้า  แต่รวมหลายๆ ทักษะทั้งระบบการบริหารจัดการคลังสินค้า กระจายสินค้าระบบการดูแลสินค้า ทักษะทางด้านไอที และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ฉะนั้น เมื่อมีความร่วมมือกับภาคเอกชนจะช่วยผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพ ทำงานได้จริง สามารถบูรณาการความรู้แขนงต่าง เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ และประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ตรงตามที่สถานประกอบการต้องการ".ดร.ปิยะฉัตร กล่าว

.รามคำแหง มีนักศึกษาโลจิสติกส์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ประมาณ 140 คน กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท (หัวหมาก) รุ่นที่ 14 และรุ่นที่ 15 รวม 200คน ระดับปริญญาโท (วิทยาเขตบางนา) รุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5 รวม 120 คน

160379306298

.ดร.ปิยะฉัตร กล่าวอีกว่าบัณฑิตที่จบในสาขาดังกล่าวสามารถทำงานได้หลากหลาย ทั้งเป็น ผู้บริหารองค์การหรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจด้าน  โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน อาทิ ผู้บริหารโรงงาน ผู้บริหารสถานประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ กิจการขนส่งทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศ กิจการคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า กิจการนำเข้าและส่งออก ชิปปิ้ง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน หรือผู้บริหารองค์การภาครัฐและภาคเอกชน  รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดใหญ่ ข้าราชการ หรือพนักงาน ในสถาบันต่าง ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ การวิจัย  การจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชน อาจารย์หรือนักวิชาการ ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นต้นฉะนั้น ผู้ที่จบในสาขาดังกล่าว 99.99% มีงานทำอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม .รามคำแหง กำลังเปิดรับสมัคร  โลจิสติกส์ระดับปริญญาตรี ในคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานดูรายละเอียดเพิ่มเติม >>www.bbalogistics.ru.ac.th หรือติดต่อโทร: 02-3108235 , 086-3367331 , 086-3367334 , 086-3741116