นศ.ม.แม่ฟ้าหลวงลงพื้นที่เรียนรู้โรคติดต่อข้ามแดน

นศ.ม.แม่ฟ้าหลวงลงพื้นที่เรียนรู้โรคติดต่อข้ามแดน

นักวิจัยโรคติดต่อข้ามแดน พานักศึกษาป.โท หลักสูตรการจัดการสุขภาพชายแดน ม.แม่ฟ้าหลวง ลงพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา มอบอุปกรณ์ป้องกัน โควิด-19 แลกเปลี่ยนข้อมูลโรคติดต่อพื้นที่ฝั่งแม่สายและท่าขี้เหล็ก

ดร. พิษณุรักษ์  กันทวี และ อาจารย์ ดร. ภมรศรี ศรีวงค์พันธ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) พร้อมด้วย นางสาวอมรรัตน์ รัตตานัง และ Nang Myat Pont Aein ชาวเมียนมานักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสุขภาพชายแดน) และผู้ช่วยนักวิจัยในชุดโครงการระบบและกลไกการจัดการโรคติดต่อข้ามแดนในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและชุดโครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและกลไกการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ชุมชนพื้นที่จุดผ่อนปรนการค้าชายแดน(อำเภอแม่สาย-จังหวัดท่าขี้เหล็ก) ภายใต้การสนับสนุนทุนจากหน่วยบูรณาการงานวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

ทั้งนี้ คณะวิจัยได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ Mask และ ชุด PPE ให้กับ Dr. Khin Kyaw Director of Thachilek Public Health Office พร้อมทั้งทีมคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลท่าขี้เหล็ก เมียนมา ทั้งยังได้พบกับ Dr. Han Lin Soe ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสุขภาพชายแดน)

ทาง มฟล. ได้มอบสิ่งของเพื่อสนับสนุนขวัญกำลังใจในการปฎิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าขี้เหล็ก และเสริมสร้างกำลังใจให้ลูกศิษย์ที่ปฎิบัติงานในพื้นที่ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศเมียนมาขณะนี้ และการลงพื้นที่อำเภอแม่สายครั้งนี้เป็นโอกาสให้นักศึกษา .โท ได้เรียนรู้กระบวนการการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และเห็นประสบการณ์กระบวนการทำงานระหว่างประเทศด้วย รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดและคัดกรองวัรสโควิด-19 ของทั้งพื้นที่ฝั่งแม่สายและท่าขี้เหล็ก

คณะวิจัย ยังได้เดินทางไปที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดนแม่สาย ที่สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ไทย-เมียนมาร์ (แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก)  และที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สาย เพื่อศึกษาดูงานกระบวนการทำงานด้านงานสาธารณสุขชายแดนให้นักศึกษาได้เข้าใจในบทบาทหน้าที่และการปฎิบัติงานในพื้นที่ชายแดนมากยิ่งขึ้น นับเป็นโอกาสอันดีที่ทีมวิจัย รวมทั้งนักศึกษา .โท ที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยนักวิจัย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานระหว่างกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานวิจัยและเป็นประสบการณ์อันดีในการเรียนระดับ .โท สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (การจัดการสุขภาพชายแดน)