รมช.แรงงาน ถกพัฒนา"ทักษะฝีมือคนพิการ" รองรับการประกอบอาชีพ
ก.แรงงาน จัดทำแผนพัฒนา "ทักษะฝีมือคนพิการ" รองรับการประกอบอาชีพ เล็งจัดทำหลักสูตรupskill reskill และ change skill ตามความเหมาะสมของ "คนพิการ"
ปัจจุบัน "คนพิการ"ยังไม่ได้รับการพัฒนา "ทักษะฝีมือ"ให้ตรงตามความต้องการของ "สถานประกอบกิจการ" เท่าที่ควร เนื่องจากขาดหลักสูตรการฝึกหลักสูตรที่เหมาะสม เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการทำงานที่ตรงตามประเภทของความพิการ ฐานข้อมูลด้าน "แรงงาน" เพื่อสนับสนุน "การจ้างงาน"
- ก.แรงงาน ยกระดับ "ทักษะฝีมือคนพิการ" รองรับอาชีพ
ศ.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมหารือการจัดทำแผนพัฒนา "ทักษะฝีมือคนพิการ"รองรับการประกอบอาชีพ ครั้งที่ 2/2564 กล่าวว่า การประชุมในวันนี้จึงเป็นการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา"ทักษะฝีมือคนพิการ"รองรับการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ สถานประกอบกิจการ และส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ
สมาคมคนพิการ สถานประกอบกิจการ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันจัดทำ "หลักสูตร" ทั้งการ upskill, reskill และ change skill ตามความเหมาะสมของ "คนพิการ" แต่ละประเภทและลักษณะของการทำงาน เพื่อให้"คนพิการ"มีทักษะในการประกอบอาชีพและได้รับการจ้างงานมากขึ้น รองรับการทำงานในโลกยุคใหม่
- เปิด 4 โครงพัฒนา "ทักษะฝีมือคนพิการ"
ที่ประชุมได้เสนอแผนบูรณาการพัฒนา "ทักษะฝีมือคนพิการ" เพื่อรองรับการประกอบอาชีพรวม 61 โครงการ เป้าหมายกว่า 180,000 คน การพัฒนา"คนพิการ"ใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย การพัฒนา "ทักษะคนพิการ" การส่งเสริมการประกอบอาชีพและการจ้างงาน "คนพิการ" และการพัฒนาศักยภาพ "คนพิการ"ผ่านการแข่งขันฝีมือแรงงาน
นอกจากนี้ ยังมีโครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2565 จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โครงการส่งเสริมอาชีพการปลูกฮอปส์ (HOPS) เพื่อพัฒนาอาชีพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : “คนพิการ” สมัครล้นร่วมประชันฝีมือโชว์ศักยภาพ
- ชวนสถานประกอบการร่วมฝึก "ทักษะฝีมือคนพิการ" 2 เม.ย.นี้
โครงการพัฒนาทักษะมีมือครอบครัว "คนพิการ" ทางสติปัญญาเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ และโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพธุรกิจสำหรับบุคคลออทิสติกและครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพ "คนพิการ"อย่างเป็นรูปธรรม
รมช.แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การให้ความช่วยเหลือและดูแล "คนพิการ" ไม่ได้ดำเนินการเพียงเรื่องการฝึกอบรมและการจ้างงานเท่านั้น การส่งเสริมด้าน CSR ก็เป็นอีกกิจกรรมที่สำคัญ ซึ่งจะมีการแถลงข่าว การเชิญชวนสถานประกอบกิจการ ร่วมทำ CSR เพื่อคนพิการ ในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ที่ "กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน" และคาดว่า จะมีการจัดสัมมนาขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2564 ภายใต้ชื่องาน เสริมฝีมือ สร้างสุข ให้อาชีพ คนพิการ
“ความร่วมทุกภาคส่วนที่ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของคนพิการ และร่วมสร้างโอกาสให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในสังคมอย่างเท่าเทียม จะเป็นส่วนหนึ่งในการจ้างงานและการประกอบอาชีพอิสระที่ยั่งยืน ทำให้มีรายได้ที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป” รมช.แรงงาน กล่าว